ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม (Participative Management Model) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงาน
ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น
ผู้วิจัย สายสุดา ฤทธิยงค์
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน
ปีที่วิจัย 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม (Participative Management Model) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษ ที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาและความต้องการบรรลุเป้าหมายภาพความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น โดยใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) 4 ขั้นตอน คือ วิจัย (R1) พัฒนา (D1) วิจัย (R2) และพัฒนา (D2)
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย รวมทั้งสิ้น 298 คน กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 36 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 13 คน ผู้ปกครอง จำนวน 18 คน และตัวแทนชุมชน จำนวน 4 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มตัวอย่าง นักเรียน จำนวน 226 คน โดยใช้ตารางสุ่มเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รวม 12 รายการ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ (1 ฉบับ) แบบบันทึกประเด็นศึกษาข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน (1 ฉบับ) แบบสอบถาม (2 ฉบับ) แบบประเมิน (5 ฉบับ) ประเด็นสนทนากลุ่ม (1 ฉบับ) คู่มือการใช้รูปแบบ (1 ฉบับ) และแบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม (1 ฉบับ) วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และยกร่างรูปแบบฯ โดยผู้วิจัยประเมินความเหมาะสมของรูปแบบฯ (ฉบับร่างที่ 1) ครั้งที่ 1 โดยผู้ทรงคุณวุฒิเป็นรายบุคคล และครั้งที่ 2 ประเมินโดยประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ (focus group) ในการทดลองใช้รูปแบบฯ ทำการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบฯ ความพึงพอใจเกี่ยวกับรูปแบบฯ และผลกระทบที่ได้รับจากการใช้รูปแบบฯ โดยผู้เกี่ยวข้องในการใช้รูปแบบฯแล้วนำเสนอรูปแบบฯฉบับสมบูรณ์
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาและความต้องการบรรลุเป้าหมายภาพความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน จากขั้นตอนที่ 1 วิจัย (Research : R1)
1.1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับบริบทของโรงเรียน พบว่า โรงเรียนกำหนดโครงสร้างการบริหารงานทั้ง 4 ฝ่าย ได้แก่ บริหารงานวิชาการ บริหารงานแผนและงบประมาณ บริหารงานบุคคล และงานบริหารทั่วไป มีการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจนครอบคลุมการพัฒนา ทุกด้าน มีความทันสมัย และเป็นไปได้ เปิดโอกาสในผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน มีวัสดุอุปกรณ์ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอน ปีการศึกษา 2564 จำนวนนักเรียนมีจำนวนเท่ากับ ปีการศึกษาที่แล้ว ด้วยระหว่างเทอมจะมีนักเรียนย้ายจากถิ่นอื่นมาเข้าโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน ทำให้จำนวนผู้เรียนไม่ลดลง และแนวโน้มในอนาคตจะมีนักเรียนย้ายจากที่อื่นๆ เข้ามาเรียนมากขึ้นบ่งบอกถึงคุณภาพการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพจนสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครอง และชุมชน จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา เมื่อเทียบกับสัดส่วนของนักเรียนแล้วมีจำนวนเพียงพอเป็นไปตามเกณฑ์ ด้านข้อมูลชุมชน เป็นชุมชนเมือง ประชาชนร้อยละ 80 ประกอบอาชีพรับจ้าง มีรายได้ค่อนข้างต่ำ
1.2 ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการบรรลุเป้าหมายภาพความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน การวิเคราะห์สภาพของการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่า สภาพการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยี ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น การวิเคราะห์ปัญหาของการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่า มีปัญหาอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด คือ ด้านผู้ปกครอง/ชุมชนขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารแบบมีส่วนร่วม และไม่มีเวลา ด้านคณะกรรมการสถานศึกษา ไม่สามารถมาเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาได้ทุกครั้ง และขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านสถานศึกษายังไม่มีรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม และขาดการประชาสัมพันธ์ชี้แจงนโยบายการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้านครูขาดความมั่นใจในการแสดงความคิดเห็นและไม่กล้าตัดสินใจ และด้านผู้บริหารสถานศึกษาไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมครูจากการเป็นผู้ปฏิบัติมาเป็นการร่วมคิดและร่วมตัดสินใจได้ การวิเคราะห์ความต้องการบรรลุเป้าหมายภาพความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่า มีความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการมากที่สุด คือผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตระดับดี
2. การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (Development: D1) ผลการพัฒนาการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น โดยรูปแบบมีองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ชื่อของรูปแบบ ส่วนที่ 2 หลักการ แนวคิด และวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 3 กระบวนการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ส่วนที่ 4 ภาพความสำเร็จของการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ
3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น จากขั้นตอนที่ 3 วิจัย (Research : R2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่า รูปแบบฯ มีประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเหมาะสมของรูปแบบฯ และผลการประเมินความพึงพอใจเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก - มากที่สุด โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านกระบวนการ ด้านปัจจัยนำเข้า
4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น จากขั้นตอนที่ 4 พัฒนา (Development : D2) ผลการประเมินจากความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับผลกระทบที่ได้รับจากการใช้รูปแบบ ฯ พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิและอาชีพ ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสารที่ดี ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ และผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาเป็น