ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น
ผู้ประเมิน สายสุดา ฤทธิยงค์
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการโรงเรียนโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทและสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (zero waste school) โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน 5) เพื่อประเมินความพึงพอใจ (Satisfaction Evaluation) ของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบจำลองซิปป์ CIPP (Context-Input-Process-Product Model : CIPP Model ; Daniel Stufflebeam,1971) ซึ่งเป็นรูปแบบการประเมินที่เหมาะสมในการหาข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน พร้อมทั้งจัดทำกรอบการประเมินและร่างเค้าโครงการประเมิน และกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินตามประเด็น กลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลในการประเมินโครงการครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 32 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน จำนวน 13 คน และผู้ปกครอง (ประธานเครือข่ายผู้ปกครอง) จำนวน 18 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มตัวอย่าง นักเรียน จำนวน 226 คน โดยใช้ตารางสุ่มของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามสำรวจความคิดเห็น (Checklist) และแบบสอบถามความพึงพอใจ ประมาณค่า 5 ระดับ (Likert, 1932) ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และทดลองใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทและสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) พบว่า การประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน ภาพรวมตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.63, S.D=0.46) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ทุกประเด็น และเมื่อพิจารณาผลการประเมินรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ประเด็นความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายทางการศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.84, S.D=0.37) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) พบว่า การประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน โดยรวมมีความพร้อมและความเพียงพอของปัจจัยต่าง ๆ ทั้งด้านการจัดการ งบประมาณ คน วัสดุ/ อุปกรณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.71, S.D=0.46) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ทุกตัวชี้วัด และค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการพัฒนาครู/พี่เลี้ยงและวิทยากรในการจัดกิจกรรม มีสื่อ วัสดุอุปกรณ์ ในการดำเนินโครงการอย่างเพียงพอ นักเรียนมีความพร้อมและสนใจที่จะเข้ารับการพัฒนาตามโครงการของโรงเรียน มีงบประมาณและได้รับการสนับสนุนด้านงบอย่างเพียงพอ และโรงเรียนมีสถานที่ที่เหมาะสมในการทำโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.73, S.D=0.45) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) พบว่า การประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน การดำเนินงานของโครงการในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก (=4.42, S.D=0.49) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ทุกตัวชี้วัด และค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการประสานงานภายในโครงการและเครือข่าย อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.63, S.D=0.49)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) พบว่า การประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน โดยมีค่าเฉลี่ยรวม อยู่ในระดับมาก (=4.50, S.D=0.49) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ทุกตัวชี้วัด และค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกและเกิดทักษะในการจัดการขยะ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.63, S.D=0.49)
5. ผลการประเมินความพึงพอใจ (Satisfaction Evaluation) ของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ทุกกลุ่มมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ทุกตัวชี้วัด ความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการ ฯ พบว่า ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อโครงการ มีค่าเฉลี่ยรวม อยู่ในระดับมาก (=4.47, S.D=0.47) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการฯ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อโครงการ มีค่าเฉลี่ยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.59,S.D=0.48) ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อโครงการฯ พบว่า ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อโครงการ โดยค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (=4.43,S.D=0.41) และพึงพอใจในการสนับสนุนโครงการ อยู่ในระดับมาก (=4.44, S.D=0.51)