ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านแม่สะนาม อำเภอฮอด
จังหวัดเชียงใหม่
ผู้รายงาน นายชนะภูมิ ยศแสง
ปีการศึกษา
2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโรงเรียนบ้านแม่สะนาม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านแม่สะนาม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยสนับสนุน ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ครูผู้สอนที่สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 2 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 9 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 14 คน รวมจำนวนทั้งหมด 25 คน เครื่องมือในการประเมินโครงการในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สำหรับใช้เก็บรวบรวมข้อมูลใน 3 ระยะ คือ ก่อนการดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และเมื่อสิ้นสุดโครงการ ประกอบด้วย แบบสอบถามครูและคณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 3 ฉบับ คือ แบบสอบถามฉบับที่ 1 ก่อนการดำเนินโครงการ แบบสอบถามฉบับที่ 2 ระหว่างการดำเนินการ และแบบสอบถามฉบับที่ 3 เมื่อสิ้นสุดโครงการ แบบสัมภาษณ์นักเรียน จำนวน 3 ฉบับ คือ แบบสัมภาษณ์ฉบับที่ 1 ก่อนการดำเนินโครงการ แบบสัมภาษณ์ฉบับที่ 2 ระหว่างดำเนินโครงการ และแบบสัมภาษณ์ฉบับที่ 3 เมื่อสิ้นสุดโครงการ
เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และเมื่อสิ้นสุดโครงการ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนา
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านแม่สะนาม แยกตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ความคิดเห็นของนักเรียน โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยสนับสนุน ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต สามารถสรุปผลการประเมินได้ ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านแม่สะนาม ด้านบริบท พบว่า ด้านบริบทในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา แต่ละรายการ พบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 มากที่สุด รองลงมา คือ โครงการมีความเหมาะสมกับสภาพบริบทของโรงเรียน และอันดับสุดท้าย คือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน
2. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านแม่สะนาม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ด้านปัจจัยสนับสนุน พบว่า ด้านปัจจัยสนับสนุนภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่ามีนโยบายน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษาและบูรณาการในแผนปฏิบัติงานประจำปีมากที่สุด รองลงมา คือ มีแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนที่สนับสนุนการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ลำดับสุดท้ายคือมีหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงและผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์การประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโรงเรียนบ้านแม่สะนาม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า นักเรียนได้รับความรู้จากครูภูมิปัญญาซึ่งเป็นบุคคล ที่มีความรู้ในหมู่บ้าน โดยทางโรงเรียนได้เชิญมาเป็นวิทยากรให้ความรู้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมออมทรัพย์นักเรียน สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์ร้านค้านักเรียน ครูภูมิปัญญาให้ความรู้ด้านการเกษตร ได้แก่ การปลูกผักสวนครัว ผักปลอดสารพิษ การเลี้ยงไก่บ้าน การปลูกอ้อยคั้นน้ำ การเลี้ยงปลานิล นักเรียนศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงจากอินเทอร์เน็ต โรงเรียนมีสถานที่ในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะในด้านกิจกรรมการเกษตร ได้แก่ แปลงปลูกกาแฟ แปลงปลูกถั่วฝักยาว แปลงปลูกมะเขือเทศ แปลงปลูกพริก แปลงปลูกผักบุ้ง โรงเรือนเลี้ยงไก่ โรงเพาะเห็ดนางฟ้า นักเรียนได้เรียนรู้จากสื่อการเรียนการสอน Power Point สื่อการสอนวีดีทัศน์ สื่อการสอนรูปภาพต่างๆ เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ได้แก่ สวนเกษตรในโรงเรียน เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน ได้แก่ สวนปาดอยบ่อหลวง แปลงปลูกมะเขือเทศ แปลงปลูกพริก แปลงปลูกผักบุ้ง คอกเลี้ยงหมู โรงเพาะเห็ดนางฟ้า และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริห้วยฮ่องไคร้ครูและบุคลากรไม่มีความถนัดในการจัดกิจกรรมตามโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในบางกิจกรรม เช่น การเลี้ยงไก่บ้าน ขาดแคลนครูที่จบทางด้านการเกษตรและแหล่งเรียนรู้ด้านการเลี้ยงสัตว์ ผู้บริหารโรงเรียนให้การส่งเสริมและสนับสนุน การดำเนินโครงการ ผู้บริหารโรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ความช่วยเหลือในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียนในด้านการเกษตร เช่นการปลูกอ้อยคั้นน้ำ โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ และฝึกปฏิบัติจริง โรงเรียนได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์และพันธุ์พืชจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริห้วยฮ่องไคร้ โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองในการสนับสนุนต้นกล้าพันธุ์พืชให้นักเรียนมาปลูกในโรงเรียนโรงเรียนได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองมอบพันธุ์กล้ากาแฟจากชุมชนมาปลูกในโรงเรียน
3. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านแม่สะนาม ด้านกระบวนการ
3.1 ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านแม่สะนาม ด้านกระบวนการในขั้นการวางแผน พบว่า การวางแผน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละข้อรายการ พบว่า การศึกษาสภาพปัญหา และ ความต้องการในการดำเนินโครงการมากที่สุด รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมในการวางแผน การดำเนินงานตามโครงการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และอันดับสุดท้าย คือ การจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการจัดทำโครงการ
3.2 ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโรงเรียนบ้านแม่สะนาม ด้านกระบวนการในขั้นการดำเนินงานตามแผน พบว่า การดำเนินงานตามแผนอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละข้อรายการ พบว่า มีการดำเนินงานโครงการตามแผนที่กำหนดไว้มากที่สุด รองลงมา คือ การดำเนินกิจกรรมการเลี้ยงไก่บ้าน และอันดับสุดท้าย คือ การดำเนินกิจกรรมการปลูกผักสวนครัวและผักปลอดสารพิษ
3.3 ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษาโรงเรียนบ้านแม่สะนาม ด้านกระบวนการในขั้นการนิเทศและติดตามผล พบว่า การนิเทศและติดตามผลอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละข้อรายการ พบว่า แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศกำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการมากที่สุด รองลงมาคือ การกำหนดปฏิทินการนิเทศติดตามการดำเนินงานตามโครงการ และอันดับสุดท้าย คือ การจัดระบบนิเทศ กำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ
3.4 ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษาโรงเรียนบ้านแม่สะนาม ด้านกระบวนการในขั้นปรับปรุงและพัฒนา พบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละข้อรายการ พบว่า การปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่อง มากที่สุด รองลงมา คือ การนำผลการนิเทศ กำกับติดตามมาใช้ปรับปรุงพัฒนาการดำเนินกิจกรรมในโครงการอย่างต่อเนื่อง และอันดับสุดท้าย คือ การประชุมวางแผน เพื่อปรับปรุงและพัฒนางาน
ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์การประเมินโครงการขับเคลื่อน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านแม่สะนาม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ในด้านกระบวนการ พบว่า ครูจัดการเรียนการสอนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยบูรณาการในกิจกรรมการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ในเรื่องของความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และเงื่อนไขคุณธรรม เงื่อนไขความรู้ ครูจัดกิจกรรมโดยเน้นการเรียนการสอนแบบโครงงาน โดยให้นักเรียนจัดทำโครงงานคุณธรรม ทุกช่วงชั้น ครูมีหน่วยการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงทุกชั้น ครูจัดการเรียนการสอนเศรษฐกิจพอเพียงในวิชาสังคมศึกษาในสาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ และวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ในสาระการเรียนรู้การดำรงชีวิตและครอบครัวและการอาชีพ ครูจัดกิจกรรมชุมนุมต่างๆ เช่น ชุมนุมการปลูกผักสวนครัว ผักปลอดสารพิษ ชุมนุมเกษตร ชุมนุม นักเรียนได้เรียนรู้ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงจากกิจกรรมการเรียนการสอนของครู จากกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น จากวิถีชีวิตในชุมชน จากครูภูมิปัญญา จากการศึกษาค้นคว้าในอินเตอร์เน็ต จากวีดีทัศน์ และ จากการปฏิบัติจริง เช่น การออมทรัพย์นักเรียน การทำการเกษตรเช่นการปลูกผักปลอดสวนครัว และผักปลอดสารพิษ และในการจัดการเรียนการสอนของครูทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มขึ้นกว่าเดิม เพราะทำให้สามารถนำแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันทำให้เกิดความพอดี พออยู่ พอกิน ไม่ทำให้ครอบครัวเดือดร้อน รู้จักการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลกัน ความมีความขยัน อดทน ไม่ท้อถอย มีความสามัคคี มีการแสวงหาความร่วมมือและให้ความร่วมมือ มีการรวมกลุ่มและมีความสามารถในการทำงานร่วมกัน
4. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านแม่สะนาม ด้านผลผลิต พบว่า ด้านผลผลิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา แต่ละข้อรายการ พบว่าโรงเรียนพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงมากที่สุด รองลงมา คือ นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียนสามารถ นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และอันดับสุดท้าย คือ นักเรียนมีบุคลิกภาพที่ดี มีความสุภาพ ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นและสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ส่วนด้านผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินโครงการ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา แต่ละข้อรายการ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อรายการ คือ ความพึงพอใจต่อกิจกรรมต่างๆ ของโครงการมากที่สุด รองลงมา คือ ความพึงพอใจที่มีต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน และอันดับสุดท้าย คือ ความพึงพอใจที่มีต่อผลการดำเนินงานโครงการ และผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์การประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านแม่สะนาม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ในด้านผลผลิต พบว่า จากการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านแม่สะนาม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ นักเรียนได้รับการพัฒนาด้านความรู้และด้านคุณลักษณะผู้เรียน คือ นักเรียนได้รับความรู้ โดยเน้นการปฏิบัติจริง และทำให้เห็นความสำคัญเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการฝึกนิสัย ในการประหยัด การลดรายจ่าย ขยันอดทน การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการนำแนวคิดด้านทักษะในการทำงาน ทำให้ทำงานอย่างเป็นระบบ มีนิสัยรักการทำงาน รู้จักวางแผนการทำงาน และการรู้จักปรับปรุงงานอยู่เสมอ มีการนำแนวคิดทฤษฎี เศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด เรื่องการฝึกอาชีพ เช่น กิจกรรมการเลี้ยงไก่บ้าน กิจกรรมการปลูกผักสวนครัวและผักปลอดสารพิษ กิจกรรมการปลูกอ้อยคั้นน้ำ กิจกรรมการเลี้ยงปลานิล นอกจากนี้ยังฝึกความประหยัดอดออม เช่น กิจกรรมออมทรัพย์นอกจากนี้ยังมีการบูรณาการการสอนใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้อีกด้วย