ชื่อเรื่อง รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สำหรับครูโรงเรียนบ้านสุรศักดิ์ สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3
ผู้วิจัย นางกนกรักษ์ สุวรรณ
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านสุรศักดิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3
ปีที่พิมพ์ 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) 2) พัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับครู 3) ศึกษาผลการนำรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ไปใช้ และ 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ทีมวิจัยและผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย เป็นครูโรงเรียนบ้านสุรศักดิ์ ปีการศึกษา 2563 จากทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทุกระดับชั้นจำนวน 24 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 475 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research : PAR) มีระยะการวิจัย 6 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การเตรียมการวิจัย (Pre-Research Phase) ระยะที่ 2 การวิเคราะห์สถานการณ์ (Situation Analysis Phase) ระยะที่ 3 การจัดทำแผน (Planning Phase) ระยะที่ 4 การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ (Implementation Phase) ระยะที่ 5 การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (Evaluation Phase) และระยะที่ 6 การสรุปผล (Conclusion Phase) )
ผลการวิจัย พบว่า
1. จากการวิเคราะห์สถานการณ์ คือ ผู้บริหาร และครูผู้สอนต้องการให้มีการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู ด้านการออกแบบและจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี และด้านทักษะชีวิตและอาชีพ โดยกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ประยุกต์ใช้กระบวนวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAOR) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
2. รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มีผลการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้ในระดับมากที่สุด รูปแบบมีองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) เนื้อหาของรูปแบบ 4) กระบวนการของรูปแบบ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ
3. ผลการนำรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สำหรับครู ที่พัฒนาขึ้นไปใช้ ดังนี้
3.1 การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ (Action Plan) วงรอบที่ 1 ประกอบด้วย 1) การสร้างทีม (Community) 2) การวางแผน (Planning) 3) การปฏิบัติตามแผน (Action) 4) การสังเกต (Observation) 5) การสะท้อนผล (Reflection) พบว่า ครูทุกคนได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบและจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และได้นำสื่อ/กิจกรรม/นวัตกรรม ไปใช้จัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้สร้างขึ้น มีจุดที่ควรพัฒนา คือ รูปแบบการเรียนรู้ยังไม่หลากหลาย การออกแบบการจัดการเรียนรู้ เน้นการจดจำเนื้อหามากกว่าการกระตุ้นความคิดและการนำไปใช้ กิจกรรมการเรียนรู้ส่วนใหญ่ขาดการฝึกทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหาและทักษะชีวิต และการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้
3.2 การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ (Action Plan) วงรอบที่ 2 โดยการสะท้อนผล การปฏิบัติวงรอบที่ 1 นำข้อมูลมากำหนดแผนปฏิบัติการ มีจุดเด่นในการพัฒนาครูทุกคนสามารถออกแบบและจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่มีเนื้อหาเหมาะสมกับความสามารถ และความต้องการของผู้เรียน มีองค์ประกอบการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ครบถ้วน มีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่เป็นไปตามแผน ที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน มีการวัดผลและประเมินผลจากสภาพจริง และใช้วิธีการที่หลากหลาย สอดคล้องกับจุดประสงค์ การเรียนรู้ มีการปรับเปลี่ยนและเพิ่มเทคนิคการจัดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
4. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) การจัด การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สำหรับครู พบว่า
4.1 สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู โดยภาพรวมทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มีค่าเฉลี่ยของคะแนนสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าการทดลองใช้รูปแบบ โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยจากระดับปานกลาง เพิ่มไปในระดับมากที่สุด
4.2 ทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี และด้านทักษะชีวิตและอาชีพ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการเรียนรู้ หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ ( = 4.62 , = 0.13) โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยจากระดับปานกลาง เพิ่มไปในระดับมากที่สุด
4.3 ครูและนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยพิจารณาตามสถานะ พบว่า ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68 , = 0.55) และนักเรียนที่มีความพึงพอใจในการเรียนรู้ อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.23 , = 0.42)