ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพโดยใช้ 4PAC Model
เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้รายงาน : นางดารุณี ดวงภักดีรัมย์
ตำแหน่ง : ครู
ตำแหน่งทางวิชาการ : ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนหนองบุญมากพิทยาคม
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีที่วิจัย : 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและสภาพปัญหาของการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้การงานอาชีพเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยใช้แบบแผนการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนหนองบุญมากพิทยาคม จำนวน 25 คน เป็นกลุ่มทดลองเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) รูปแบบการสอน 2) คู่มือการใช้รูปแบบการสอน 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. สภาพทั่วไป และสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้สาระการงานอาชีพซึ่งครูส่วนมากพยายามจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนแต่นักเรียนยังมีพฤติกรรมที่ไม่ส่งเสริมทักษะปฏิบัติและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพโดยใช้ 4PAC Model เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการแนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง 6) ระบบสนับสนุน ทั้งนี้ได้สังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้น ประกอบด้วยขั้นที่ 1 ขั้นรับรู้รูปแบบ (Pattern Recognition Stage) ขั้นที่ 2 ขั้นฝึกฝนและการทำเข้าใจรูปแบบ (Practice and Pattern Understanding) ขั้นที่ 3 ขั้นการปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างทักษะ (Practical Steps to Enhance Skills) ขั้นที่ 4 ขั้นการปฏิบัติอย่างมืออาชีพ (Professional Procedures) ขั้นที่ 5 ขั้นประยุกต์ทักษะ (Applied Skills) และขั้นที่ 6 ขั้นสร้างสรรค์ทักษะ (Creative Skills)
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพโดยใช้ 4PAC Model เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ปรากฏ ดังนี้
3.1 นักเรียนที่ได้รับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพโดยใช้ 4PAC Model เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.65/83.36 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80
3.2 นักเรียนที่ได้รับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพโดยใช้ 4PAC Model เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าจากก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 นักเรียนที่ได้รับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพโดยใช้ 4PAC Model เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยของทักษะปฏิบัติหลังเรียนสูงกว่าจากก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.4 นักเรียนที่ได้รับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพโดยใช้ 4PAC Model เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยของการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าจากก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05