ผู้รายงาน นายสายัณห์ นาคราช
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมโดยใช้รูปแบบการประเมินซิป (CIPP Model) ของนักเรียนโรงเรียนบ้านบางกุฬา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความเหมาะสมของบริบทที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการดำเนินงานตามโครงการ 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงานของโครงการ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการในเรื่อง 4.1) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน จำนวน 8 ด้าน คือรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทยและมีจิตสาธารณะ 4.2) ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย ครูผู้สอน 4 คน นักเรียน 40 คน ผู้ปกครองนักเรียน 40 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 7 คนของโรงเรียนบ้านบางกุฬา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2564 รวมประชากรที่ให้ข้อมูล จำนวน 91 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะเวลาในการศึกษา ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามที่ผู้รายงานสร้างขึ้น จำนวน 4 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อบริบทของโครงการจำนวน 10 ข้อ ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อปัจจัยนำเข้าของโครงการจำนวน 10 ข้อ ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อกระบวนการดำเนินงานตามโครงการจำนวน 10 ข้อ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อผลผลิตของโครงการด้านพฤติกรรมการแสดงออกถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน จำนวน 49 ข้อ และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อผลผลิตของโครงการด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมโดยใช้รูปแบบการประเมินซิป (CIPP Model) ของนักเรียนโรงเรียนบ้านบางกุฬา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( μ = 4.40 , σ = 0.41 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านกระบวนการอยู่ในระดับมาก รองลงมาด้านสภาพแวดล้อม ด้านผลผลิตและด้านปัจจัย ตามลำดับ แยกเป็นรายด้านดังนี้
1. บริบทของโครงการมีความเหมาะสม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.40) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสูด ได้แก่ โรงเรียนมีการกำหนดนโยบายของโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมได้อย่างชัดเจน (μ = 5.00) รองลงมา ได้แก่ กิจกรรมของโครงการสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง (μ = 4.75) รองลงมา ได้แก่ โครงการสอดคล้องกับความต้องการของครู ผู้ปกครองและชุมชน (μ = 4.50) กิจกรรมของโครงการสามารถช่วยให้นักเรียนมีการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนให้ดีขึ้น (μ = 4.50) รองลงมา ได้แก่ โครงการมีความเหมาะสมในการแก้ปัญหาคุณธรรม จริยธรรม (μ = 4.25) โครงการสามารถแก้ปัญหาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนได้ (μ = 4.25) หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคลองกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน (μ = 4.25) วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจนสอดคล้องกับวิธีดำเนินการ (μ = 4.25) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีดำเนินโครงการ (μ = 4.25) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ สภาวะแวดล้อมของโรงเรียนมีความเหมาะสมและเอื้อต่อการดำเนินโครงการ (μ = 4.00)
2. ปัจจัยนำเข้าของโครงการมีความเหมาะสม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.20) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ มีแผนการดำเนินงานโครงการอย่างชัดเจน (μ = 4.75) รองลงมา ได้แก่ กิจกรรมในโครงการมีความเหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ (μ = 4.50) รองลงมา ได้แก่ ระยะเวลาในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสม (μ = 4.25) ผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบมีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในการดำเนินโครงการ (μ = 4.25) รองลงมา ได้แก่ มีอาคารสถานที่ในการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการอย่างเหมาะสมและเพียงพอ (μ = 4.20) รองลงมา ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบมีความพร้อมในการดำเนินโครงการ (μ = 4.00) บุคลากรในการดำเนินโครงการมีจำนวนเพียงพอและเหมาะสม (μ = 4.00) มีวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในโครงการอย่างเพียงพอ (μ = 4.00) เอกสารที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมในโครงการมีความเหมาะสมและเพียงพอ (μ = 4.00) ข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ งบประมาณในการดำเนินโครงการมีเพียงพอ (μ = 3.75)
3. กระบวนการดำเนินงานตามโครงการมีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสูด ได้แก่ มีการกำหนดขั้นตอน รายละเอียดและวิธีดำเนินโครงการอย่างชัดเจนและเหมาะสม (μ = 5.00) รองลงมา ได้แก่ มีการวางแผนการดำเนินงานโครงการสู่การปฏิบัติ (μ = 4.75) มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบแก่บุคลากรในการดำเนินโครงการ (μ = 4.75) รองลงมา ได้แก่ มีการประชุมให้ความรู้ชี้แจงสื่อสารประชาสัมพันธ์ ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องเข้าใจขั้นตอนและวิธีดำเนินการ (μ = 4.50) กิจกรรมในโครงการช่วยให้นักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ (μ = 4.50) ดำเนินกิจกรรมโครงการตามแผนและขั้นตอนการดำเนินการที่กำหนดไว้ในโครงการ (μ = 4.50) รองลงมา ได้แก่ มีการนิเทศกำกับติดตามและควบคุมการดำเนินงานตามโครงการ (μ = 4.25) มีการกำหนดหลักเกณฑ์ ระยะเวลาและผลการปฏิบัติงานในการประเมิน ผลโครงการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องด้วยวิธีการที่หลากหลายครบทุกกิจกรรม (μ = 4.25) ขณะดำเนินงานตามโครงการมีการแก้ไขปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการเมื่อพบว่าบกพร่อง (μ = 4.25) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ โรงเรียนมีการเผยแพร่และขยายผลการปฏิบัติกิจกรรมสู่ชุมชน
(μ = 4.00)
4. ด้านผลผลิตคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ =4.28) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสูด คือรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ (μ = 4.44) รองลงมา ได้แก่ ซื่อสัตย์ สุจริต (μ = 4.29) ใฝ่เรียนรู้ (μ = 4.29) รองลงมา ได้แก่ มีวินัย (μ = 4.27)รักความเป็นไทย (μ = 4.27) รองลงมา ได้แก่ อยู่อย่างพอเพียง (μ = 4.30) รองลงมา ได้แก่ มีจิตสาธารณะ (μ = 4.22) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ มุ่งมั่นในการทำงาน (μ = 4.21)
5. ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ =4.42) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ สามารถเลือกแนวทางและการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม (μ =4.56) รองลงมา คือ สามารถนำความรู้ที่ได้จากโครงการไปใช้กับปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ (μ =4.52) รองลงมา คือ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น (μ =4.50) รองลงมา คือ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ ตนให้มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน (μ =4.47) รองลงมา คือ สามารถรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ และนำมาปรับและประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานหรือทำกิจกรรมอื่นๆ (μ =4.45) รองลงมา คือ สามารถนำหลักการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน (μ =4.43) รองลงมา คือ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น (μ =4.38) รองลงมา คือ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองและครอบครัว
(μ =4.29) รองลงมา คือ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมและระเบียบข้อบังคับต่างๆ (μ =4.27) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการเวลา (μ =4.18)