การศึกษาการรายงานผลการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
ของโรงเรียนอนุบาลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และเพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนอนุบาลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ปีการศึกษา 2564 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู พนักงานราชการ ครูอัตราจ้าง ครูพี่เลี้ยง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลแม่สรวย จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อการรายงานผลการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามแนวปฏิบัติการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2561 (องค์ประกอบ 7 ด้าน) และแบบสอบเพื่อถามความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนอนุบาลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ปีการศึกษา 2564 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีผลของการศึกษา ดังนี้
1. ผู้ตอบแบบสอบถามเพื่อการรายงานผลการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามแนวปฏิบัติการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2561 (องค์ประกอบ 7 ด้าน) ส่วนใหญ่เป็น พนักงานราชการ ครูอัตราจ้างและครูพี่เลี้ยง มีอายุ 26-30 ปี
มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับโรงเรียนอนุบาลแม่สรวย ต่ำกว่า 1 ปี และ
มีความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนอนุบาลแม่สรวย ในระดับปานกลาง
2. สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนอนุบาลแม่สรวย ส่วนใหญ่เป็นคณะกรรมการผู้ปกครองนักเรียน มีอายุ 41-45 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับโรงเรียนอนุบาล
แม่สรวย ระหว่าง 7-10 ปี และมีความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนอนุบาลแม่สรวย ในระดับปานกลาง
3. สภาพการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนอนุบาล
แม่สรวย ตามแนวปฏิบัติการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2561 (องค์ประกอบ 7 ด้าน) พบว่า รวมทุกองค์ประกอบ โดยภาพรวมเฉลี่ยมีการปฏิบัติในระดับมาก และการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา บรรลุตามวัตถุประสงค์ตาม
แนวปฏิบัติการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2561
โดยองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยมีรายละเอียดของผลการดำเนินงาน จำแนกตามองค์ประกอบ ได้ดังนี้
3.1 องค์ประกอบที่ 1 ด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยภาพรวมเฉลี่ยมีการปฏิบัติในระดับมาก สภาพการดำเนินงานข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนได้นำมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
3.2 องค์ประกอบที่ 2 ด้านการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยภาพรวมเฉลี่ยมีการปฏิบัติในระดับมาก สภาพการดำเนินงานข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนมีแผนปฏิบัติการประจำปีที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริงได้
3.3 องค์ประกอบที่ 3 ด้านการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยภาพรวมเฉลี่ยมีการปฏิบัติในระดับมาก สภาพการดำเนินงานข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนดำเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาจนมีผลการดำเนินงาน สำเร็จตามพันธกิจและเป้าหมายตามที่กำหนดไว้
3.4 องค์ประกอบที่ 4 ด้านการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยภาพรวมเฉลี่ยมีการปฏิบัติในระดับมาก สภาพการดำเนินงานข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนมีการนำผลการประเมินคุณภาพภายในเป็นข้อมูลในการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี
3.5 องค์ประกอบที่ 5 ด้านการติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสถานศึกษา โดยภาพรวมเฉลี่ยมีการปฏิบัติในระดับมาก สภาพการดำเนินงานข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนมีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษา โดยให้ความสำคัญกับคุณภาพผู้เรียนเป็นลำดับแรก และเชื่อมโยมถึงมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนด้านอื่น ๆ
3.6 องค์ประกอบที่ 6 ด้านการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report: SAR) ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยภาพรวมเฉลี่ยมีการปฏิบัติในระดับมาก สภาพการดำเนินงานข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนมีการสรุปและรายงานผลการประเมินตนเองประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่สะท้อนคุณภาพผู้เรียน และผลสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษาตามรูปแบบที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด
3.7 องค์ประกอบที่ 7 ด้านการพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องโดยพิจารณาจากผลการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report: SAR) โดยภาพรวมเฉลี่ยมีการปฏิบัติในระดับมาก สภาพการดำเนินงานข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนมีการรายงานผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง
4. ความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนอนุบาลแม่สรวย พบว่า รวมทุกด้าน โดยภาพรวมเฉลี่ยมีความคิดเห็นในระดับมาก ประชากรที่ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นและพึงพอใจในการดำเนินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
ของโรงเรียนอนุบาลแม่สรวย โดยด้านที่มีค่าความคิดเห็นเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านผลที่ได้จากการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียดของผลการแสดงความคิดเห็น จำแนกเป็นรายด้าน ได้ดังนี้
4.1 ด้านความรู้ความเข้าใจในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมเฉลี่ยมีความคิดเห็นในระดับมาก ข้อที่มีค่าความคิดเห็นเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกระบวนการบริหารจัดการทางการศึกษาของโรงเรียนให้เกิดคุณภาพ
4.2 ด้านการช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงาน โดยภาพรวมเฉลี่ยมีความคิดเห็นในระดับมาก ข้อที่มีค่าความคิดเห็นเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนได้กำหนดแนวทาง/วิธีการดำเนินงานของการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างชัดเจน
ิ 4.3 ด้านการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมเฉลี่ยมีความคิดเห็นในระดับมาก ข้อที่มีค่าความคิดเห็นเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนได้รายงานผลการประกันคุณภาพการศึกษาให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนทราบ
4.4 ด้านผลที่ได้จากการดำเนินงาน โดยภาพรวมเฉลี่ยมีความคิดเห็นในระดับมาก ข้อที่มีค่าความคิดเห็นเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การประกันคุณภาพการศึกษาสามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้มีคุณภาพ
5. ข้อเสนอแนะ/แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เพื่อให้โอกาสแก่ผู้ตอบแบบสอบถามได้ให้ข้อเสนอแนะ ปัญหา อุปสรรค ตลอดทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหา อุปสรรคของการดำเนินงาน
5.1 ด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมการจัดทำมาตรฐานการศึกษาให้สอดรับกับความต้องการของชุมชน ผู้เรียน และควรมีการนำข้อมูล สารสนเทศมาใช้ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และกำหนดเป้าหมาย รวมถึงสร้างความตระหนักให้แก่บุคลากรให้เห็นความสำคัญของมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา แล้วประกาศใช้มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
5.2 ด้านการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาสอดคล้องกับปัญหา เป้าหมายและจุดเน้นของสถานศึกษา กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย ตรงตามความต้องการของสถานศึกษา และรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ วิเคราะห์ SWOT และนำผลการวิเคราะห์ SWOT ไปใช้ในการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
ิิ 5.3 ด้านการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมให้มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล และดำเนินโครงการให้ได้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี พร้อมทั้งกำกับ ติดตามและให้ความช่วยเหลือแก่บุคลากรทุกคนเพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ของแผนที่กำหนดไว้
5.4 ด้านการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมให้มีการสอบถามความคิดเห็น ความพึงพอใจและข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมนำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาไปแก้ไขข้อบกพร่อง เพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และควรส่งเสริมความร่วมมือจากบุคลากรภายในสถานศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ในประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ เพื่อนำผลการประเมินคุณภาพภายในเป็นข้อมูลในการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี
5.5 ด้านการติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมให้มีการใช้แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือในการกำกับ ติดตามการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี พร้อมจัดทำเครื่องมือที่ใช้ในการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ เพื่อนำผลการตรวจสอบมาปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
5.6 ด้านการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report : SAR) ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี เพื่อวางแผนการรายงานผลการประเมินตนเองประจำปีอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ สังเคราะห์และอภิปรายผลการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในรอบปี พร้อมกำหนดเครื่องมือประเมินคุณภาพภายในที่ครอบคลุมมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาทุกระดับทุกด้าน เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการจัดทำแผนการปฏิบัติงานประจำปีในปีต่อ ๆ ไป และนำไปจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
5.7 ด้านการพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องโดยพิจารณาจากผลการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report : SAR) ผู้บริหารสถานศึกษาควรควรส่งเสริมให้มีการประเมินผลตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดปีการศึกษา ส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าใจแนวความคิดเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้การดำเนินงานพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษามีประสิทธิภาพ และควรส่งเสริมประชาสัมพันธ์การดำเนินงานและผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในให้สาธารณชนได้รับทราบ