1. ความเป็นมา/แนวคิด
ในปัจจุบันกระแสยุคประเทศไทย ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
โลกแห่งการสื่อสารโทรคมนาคมและสภาวะทางสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ มีหลายประเทศได้ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบทางด้านการบริหาร
การจัดการศึกษาได้มีการเคลื่อนไหวในการนำแนวคิดในการบริหารสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและการกระจายอำนาจทั้งในด้านหลักสูตร งบประมาณและบุคลากรทางการศึกษามาใช้
อย่างกว้างขวางขึ้น การปฏิรูประบบการศึกษาจึงเป็นวิถีทางและการพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เป็นคนดี มีความสามารถและความสุข การดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีพลังและ
มีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องมีการกระจายอำนาจและให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
โดยทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษาทั้งด้านการบริหารวิชาการ
ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคลและด้านการบริหารทั่วไป ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารงานราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 รัฐจึงให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคล เพื่อให้สถานศึกษามีความคล่องตัวมีอิสระและมีความเข้มแข็งโดยได้บัญญัติไว้ในมาตรา 35 สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตาม มาตรา 34(2) เฉพาะที่เป็นโรงเรียน
มีฐานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งให้มีการจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษาของไทยมีเอกภาพเชิงนโยบายและมีความหลากหลายในทางปฏิบัติมีการกระจายอำนาจไปสู่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
การกระจายอำนาจดังกล่าวจะทำให้สถานศึกษามีความคล่องตัว มีอิสระในการบริหารการจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพได้มาตรฐานและสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่องพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และ(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทสำคัญในการกำหนดให้รัฐบาลและสถานศึกษาดำเนินการหลายอย่างหลายเรื่อง ได้แก่ การจัดระบบการบริหารการศึกษาที่ต้องการกระจายอำนาจให้สถานศึกษา
ทั้งด้านบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคลและ
ด้านการบริหารทั่วไป ให้สังคมเข้ามีส่วนร่วมในการศึกษาให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสถาบันในสังคม สร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยกระจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชนทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและที่สำคัญ ซึ่งเป็นภารกิจของสถานศึกษาก็คือหลัก ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ให้ถือว่าเป็นผู้เรียน
มีความสำคัญที่สุด ตามมาตรา 29 มาตรา 41 มาตรา 24 ได้กำหนดทิศทางการจัดการศึกษาของชาติได้มุ่งให้การจัดการศึกษา มาตรา 2 กำหนดไว้ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคน
มีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญมากที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ และมาตรา 29 กำหนดว่าให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคลครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชนองค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนาสถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น ๆ ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ ภายในชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาอบรมและรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการทางหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์พัฒนาระหว่างชุมชน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2542:6-2)
สำหรับประเทศไทยมีการจัดทำพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ
ที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 และ(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 ซึ่งมีสาระสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิรูประบบการบริหารการศึกษาเป็นอย่างมากและระบุไว้ในหมวดที่ 5 ว่าด้วยการบริหารและการจัดการศึกษาโดยเฉพาะในมาตรา 39 ได้กำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งใน ด้านงานวิชาการ ด้านงบประมาณบริหารงานบุคลากรและการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการและสำนักงานคณะกรรมการ เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาโดยตรงโดยที่หลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎกระทรวง นอกจากนี้ในมาตรา 40
ยังกำหนดให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของแต่ละสถานศึกษาทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษา
จากนโยบายดังกล่าวสรุปได้ว่า การที่โรงเรียนจะสามารถใช้อำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้การจัดการศึกษามีคุณภาพในระดับที่น่าพอใจจะต้องให้ทุกส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ซึ่งจะเป็นการศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อทุกคนในสังคมและจะเป็นการจัดการศึกษาที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งมวล จากสภาพปัจจุบัน
โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง2 ตั้งอยู่ที่ 129 หมู่ที่ 3 ตำบลยุโป อำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ยะลา เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ในปีการศึกษา 2562 มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 133 คุณครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา
จำนวน 19 คน
จากการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาของผู้บริหารและบุคลากรโรงเรียน พบว่าสภาพปัญหามีส่วนร่วมในการจัดศึกษาของโรงเรียนเท่าที่ผ่านมาโดยภาพรวมสรุปได้ว่า ๑) ผู้ปกครองนักเรียนชุมชนขาดความเข้าใจและไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพราะคิดว่าการจัดการศึกษามีหน้าที่ของโรงเรียนผู้บริหารและครู ๒) ชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่นั้นผู้ปกครองส่วนใหญ่มีฐานะยากจน
ทำงานหารายได้ ขาดความเอาใจใส่บุตรหลาน ๓) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นภาระหน้าที่ของโรงเรียน
๔) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ให้การส่งเสริมและสนับสนุนกับทางโรงเรียน จึงทำให้โรงเรียนต้องพัฒนาตนเองตามศักยภาพที่มีอยู่ส่งผลให้คุณภาพของนักเรียนไม่เท่าเทียมกับนักเรียนที่มีอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีความเจริญ ดังนั้นโรงเรียนต้องมุ่งบริหารโรงเรียนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุดโดยนำความคิดการบริหารการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กรโดยมีความเชื่อว่าพื้นฐานของการบริหารแบบมีส่วนร่วม คือ คุณภาพการศึกษา คุณลักษณะของผู้เรียนและวิธีการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่ทำให้ผู้ปกครองและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลายมีความเชื่อมั่นหรือพึงพอใจ จึงเป็นภาระหน้าที่ของผู้บริหารจะต้องเป็นผู้สร้างสรรค์คุณภาพให้เกิดขึ้นในองค์กรให้ได้ จากความเป็นมาดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการบริหารแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลเพราะการจัดการศึกษาต้องมีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะชุมชน ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาทั้งด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคลและ
ด้านการบริหารทั่วไป จึงจะบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีพลังและประสิทธิภาพ
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ครูและบุคลากรสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
2.2 เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ และสร้างความเข้าใจ อันดีระหว่างชุมชนและสถานศึกษา
2.3 เพื่อพัฒนานักเรียน ครูและบุคลากรสถานศึกษา ในการแข่งขัน คามสามารถในระดับต่าง ๆ
3. เป้าหมาย
3.1 ด้านปริมาณ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน และนักเรียน จำนวน 419 คน
3.2 ด้านคุณภาพ
สถานศึกษาได้รับการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ จากนักเรียน คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานผู้ปกครอง ชุมชน ทำให้การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการ PDCA เป็นไปด้วยความราบรื่น ส่งผลให้นักเรียน
คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับรางวัลในระดับต่าง ๆ
4. วิธีการดำเนินการ
การพัฒนาการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการ PDCA ของ
โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง2 มีวิธีการดำเนินงานดังนี้
โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง2 แบ่งโครงสร้างการบริหารงาน 4 ด้าน ได้แก่
ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล
ด้านการบริหารทั่วไป ผู้บริหารยึดหลักการบริหาร เทคนิคการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทำงานแบบมีส่วนร่วม โดยมีการร่วมคิด ร่วมวางแผน
ร่วมปฏิบัติ และร่วมภาคภูมิใจ วงจรการทำงานแบบ PDCA ในทุกกิจกรรมของโรงเรียนจะมี
การติดตามการประเมินการทำงานเป็นระยะ ๆ โดยผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้ที่รับผิดชอบดำเนินการและรายงานผลที่เกี่ยวข้องทราบ
๔.1 การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมนั้นเป็นกระบวนการสนองความต้องการของบุคคล
เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากบุคคลรอบข้างทางจากทีมงานและผู้บังคับบัญชาอันมีผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ ให้องค์การโดยเฉพาะหน่วยงานของโรงเรียนซึ่งมีภารกิจในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขได้ใช้พลังสร้างสรรค์จากบุคลากร
ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานทุกขั้นตอน
ทั้งการวางแผน สั่งการและการควบคุม เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจของโรงเรียนให้บรรลุเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2545 และ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ต่อไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ว่าจะเป็นการบริหารแบบ
มีส่วนร่วมโดยวิธีใด ภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยนับเป็นกลไกที่สำคัญอันจะนำไปสู่ความสำเร็จของการบริหารแบบมีส่วนร่วมเสมอ
ดังนั้นผู้บริหารโรงเรียน ซึ่งผู้รับผิดชอบให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายแห่งภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนลักษณะนิสัยในการทำงานที่ยึดศูนย์อำนาจการบังคับบัญชาไว้ที่ตนเองมาใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม คือ ประยุกต์ที่จะนำทรัพยากรทางการบริหารทั้งระบบการบริหาร คน เงิน วัสดุและเทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสารสารสนเทศทั้งที่มีอยู่แล้วและเกิดขึ้นใหม่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมของสังคมโลกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการศึกษาสำหรับชุมชนอันเป็นบทบาทงานของโรงเรียนอันเป็นหน่วยงานการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยในองค์กรควรมีการปฏิบัติงานแบบมีอำนาจ รวมกันมากกว่า
การมีอำนาจเหนือกว่าดังนั้นควรมีการพัฒนาการทำงานแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติมากกว่าจะเป็นแบบสายการบังคับบัญชาและเนื่องจากโรงเรียนซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้นมีความซับซ้อนในเชิงปฏิบัติมากเกินที่จะมอบให้เป็นภาระของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของผู้บริหารโรงเรียนที่จะต้องผนึกกำลังประสาน
ความร่วมมือและกระจายอำนาจของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะเกี่ยวข้องในฐานะครูผู้ปฏิบัติงานในโรงเรียนเป็นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม
การบริหารที่เป็นมาช้านานโดยสิ้นเชิง ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนทุกระดับจะต้องตระหนักการบริหารนั้นไม่สามารถรวมศูนย์กลางอยู่ ณ จุดใดจุดหนึ่งได้ทั้งหมดผู้บริหารต้องพร้อมจะมอบอำนาจที่มีอยู่
สู่ผู้ปฏิบัติ คือ บุคลากรในโรงเรียนให้มากที่สุดเกินประสิทธิภาพของการบริหารสูงสุด เพื่อให้
เกิดประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่เป็นสำคัญ
๔.2 ศึกษาทฤษฎี วงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA)
สุรัตน์ สุทธิชัชวาล, 2555 : 16) กล่าวว่า การจัดการอย่างมีคุณภาพเป็นกระบวนการที่ดำเนินการต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลผลิตและบริการที่มีคุณภาพขึ้น โดยหลักการที่เรียกว่า
วงจรคุณภาพเดมิ่ง (PDCA) ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือการวางแผน การปฏิบัติตามแผนให้เกิดผล
การตรวจสอบ และการปฏิบัติการปรับปรุงแก้ไข
คุณภาพที่การพยายามตอบคำถามให้ได้ว่าทำอย่างไรจึงจะดีขึ้น
ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (Plan)
ในบรรดาองค์ประกอบทั้ง 4 ประการของวงจรคุณภาพนั้น ต้องถือว่าการวางแผนเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด การวางแผนจะเป็นเรื่องที่ทำให้กิจกรรมอื่น ๆ ที่ตามมาสามารถทำได้งานได้อย่างมีประสิทธิผล เพราะถ้าแผนไม่เหมาะสมแล้ว จะมีผลทำให้กิจกรรมอื่นไร้ประสิทธิผลตามไปด้วย
แต่ถ้ามีการเริ่มต้นวางแผนที่ดีจะทำให้มีการแก้ไขน้อยและกิจกรรมจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ขั้นตอนที่ 2 การนำแผนไปปฏิบัติ ให้เกิดผล (Do)
เพื่อให้มั่นใจว่ามีการนำแผนไปปฏิบัติอย่างถูกต้องนั้น เราจะต้องสร้างความมั่นใจว่าฝ่ายที่รับผิดชอบในการนำแผนไปปฏิบัติได้รับทราบถึงความสำคัญและความจำเป็นในการนั้น ๆ
มีการติดต่อสื่อสารไปยังฝ่ายที่มีหน้าที่ในการปฏิบัติอย่างเหมาะสม มีการจัดให้มีการศึกษาและการอบรมที่ต้องการเพื่อนำแผนการนั้นนั้นมาปฏิบัติและมีการจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นในเวลาที่จำเป็นด้วย
ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบ (Check)
การตรวจสอบและประเมินผลลัพธ์ของการปฏิบัติตามแผนควรจะมีการประเมินใน 2 ประการ คือ มีการปฏิบัติตามแผนหรือไม่ หรือตัวแผนการเองมีความเหมาะสมหรือไม่ การที่จะประสบความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้เป็นเพราะการปฏิบัติตามแผนการหรือความไม่เหมาะสม
ของแผนการ หรือจากทั้งสองประการรวมกัน เราจำเป็นต้องหาว่าสาเหตุมาจากอะไร ทั้งนี้เนื่องจากการนำไปปฏิบัติการปรับปรุงแก้ไขจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ขั้นตอนที่ 4 การปฏิบัติการปรับปรุงแก้ไข (Act)
ถ้าความล้มเหลวมาจากการวางแผนที่ไม่เหมาะสมการทบทวนแผน เท่านั้นไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของกระบวนการวางแผนโดยการหาปัจจัยที่ไม่เหมาะสม สาเหตุของการวางแผน และทำการปฏิบัติการแก้ไขความก้าวหน้าของการปรับปรุงจะเกิดผลได้โดยการกำจัดสาเหตุและขั้นตอนที่สำคัญ ก็คือ การทบทวนแผนการที่ ต้องมีการบ่งสาเหตุแห่ง
ความล้มเหลวถูกต้องและมีการเปลี่ยนแปลงแผนเพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมไปได้อย่างมีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น ควรมีการวางแผนปรับปรุงคุณภาพเป็นรายปี และมีการทบทวนทุกปีเพื่อให้มั่นใจว่าแผนดังกล่าวมีความเชื่อมถือได้และเหมาะสม การนำวงจรคุณภาพไปปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่องทุกระดับขององค์กรจะทำให้เราสามารถปรับปรุงและเพิ่มคุณภาพงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนเมื่อปัญหาเดิมหมดไปเราก็สามารถแก้ปัญหาใหม่ๆด้วยวงจรคุณภาพต่อไป
สรุปการจัดการอย่างมีคุณภาพเป็นกระบวนการที่ ดำเนินการต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลผลิตและการบริหารที่มีคุณภาพขึ้นโดยหลักการที่เรียกว่าวงจรคุณภาพ (PDCA) หรือ วงจรเดมมิ่ง
ซึ่ง ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบ และการปรับปรุงแก้ไขดังนี้
P : Plan = วางแผน
D: Do = ปฏิบัติตามแผน
C : Check = ตรวจสอบ/ประเมินผลและนำผลประเมินมาวิเคราะห์
A : Act = ปรับปรุงแก้ไขดำเนินการให้เหมาะสมตามผลการประเมิน
ภาพที่ ๒ : วงจรคุณภาพเดมมิ่ง 1
4.3 ขั้นตอนการดำเนินการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมด้วย
กระบวนการ PDCA
วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ : (Best practice)
การดำเนินงานโครงการกานสนับสนุนจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม ภายใต้การพัฒนา
การบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการ PDCA เพื่อวางแผนวางกิจกรรม และแนวทางการปฏิบัติการโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง๒ ดังรายละเอียดของกระบวนการดังต่อไปนี้
4.1 วางแผนศึกษากลยุทธ์และเตรียมการ (Plan)
1. ข้าพเจ้านายเริงชัย ปรังเจะ ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง๒
การบริหารจัดการศึกษา โดยการประชุมคณะครูและบุคลากรสถานศึกษา ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชุมผู้ปกครอง เพื่อวางแผนการดำเนินงานศึกษา