ผู้รายงาน อรพินท์ ประพันธ์สุข
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 8 ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการพัฒนางานวิชาการ โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 8 ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียน โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam’s Model)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 8 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 969 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารจำนวน 2 คน ครูจำนวน 38 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 773 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 3 จำนวน 143 คน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 8 ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1
การเผยแพร่ผลการประเมินโครงการพัฒนางานวิชาการ โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 8 ในครั้งนี้ ผู้รายงานได้ดำเนินการเผยแพร่ให้กับผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มอำเภอปลวกแดงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จำนวน 16 โรง และเผยแพร่บนเว็ปไชต์ครูบ้านนอกดอทคอม
แบบประเมินโครงการพัฒนางานวิชาการ โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 8 ปีการศึกษา 2564 ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบประเมินด้านบริบทของโครงการ (Context ) ฉบับที่ 2 แบบประเมินด้านด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ (Input) ฉบับที่ 3 แบบประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ (Process) และฉบับที่ 4 แบบประเมินด้านผลผลิตของโครงการ (Product) ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือที่ใช้ โดยใช้การคำนวณค่า IOC วิเคราะห์ผลการประเมินโครงการ โดยใช้การคำนวณค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมิน
1. ด้านบริบทของโครงการ (Context) ความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 8 ปีการศึกษา 2564 กับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและนโยบายของโรงเรียนบ้านคลองยายเมือง สอดคล้องอยู่ในระดับมาก
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ (Input) ความเหมาะสมและเพียงพอของปัจจัยเบื้องต้นของโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนนิคมสร้างตนเอวจังหวัดระยอง 8 ปีการศึกษา 2564 ผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นว่าในภาพรวมมีความเหมาะสมและเพียงพออยู่ในระดับมาก
3. ด้านกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ (Process)
การปฏิบัติงานโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 8
ปีการศึกษา 2564 ด้านการพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการพัฒนาสูงขึ้นทุกรายการมีระดับการปฏิบัติในภาพรวมในระดับมากที่สุด
การปฏิบัติงานโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 8
ปีการศึกษา 2564 ด้านกิจกรรมพัฒนาสื่อการสอนมีการพัฒนาสูงขึ้นทุกรายการ มีระดับการปฏิบัติในภาพรวมในระดับมากที่สุด
การปฏิบัติงานโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 8 ปีการศึกษา 2564 ด้านกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มสูงขึ้น มีการพัฒนาสูงขึ้นทุกรายการ มีระดับการปฏิบัติในภาพรวมในระดับมากที่สุด
4. ด้านผลผลิตของโครงการ (Product)
4.1 ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู ที่มีต่อโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 8 ปีการศึกษา 2564อยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 8 ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 การประเมินความสามารถของครูต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า ในภาพรวมครูมีความสามารถจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 การประเมินความสามารถของครูในการพัฒนาสื่อการสอน ในภาพรวมครูมีความสามารถในการพัฒนาสื่อการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด