ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา สืบสานศาสตร์พระราชา
สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โรงเรียนชุมชนบัวบานสามัคคี
ผู้ประเมิน นายเอกพล ภูฉายยา
ปีที่ประเมิน 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา สืบสานศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โรงเรียนชุมชนบัวบานสามัคคี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบทด้านความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ กลยุทธ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกลยุทธ์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 2) เพื่อประเมินปัจจัยในการดำเนินงานโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ การประเมินโครงการใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ของดาเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม ประกอบ ด้วย 1) การประเมินบริบท 2) การประเมินปัจจัย 3) การประเมินกระบวนการ 4) การประเมินผลผลิต ผลกระทบของโครงการ กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 260 คน ได้แก่ ครู 19 คน นักเรียน 113 คน ผู้ปกครองนักเรียน 113 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 1) แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับ ครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) แบบสอบถามสำหรับนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์หาค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ ตีความสรุป นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยาย
ผลการประเมิน พบว่า
1. ด้านบริบท 1) จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ด้านความสอดคล้องระหว่างนโยบายด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ กลยุทธ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน และกลยุทธ์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 กับวัตถุประสงค์ของโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา สืบสานศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โรงเรียนชุมชนบัวบานสามัคคี ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีความเห็นสอดคล้องกัน 2) จากการสอบถามความพึงพอใจของ ครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความพึงพอใจในภาพรวมระดับมากที่สุด โดยมีความเห็นสอดคล้องตรงกันว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานของโครงการ คือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รองลงมาคือ ข้อที่ 2 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับ กลยุทธ์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 และข้อที่ 3 นโยบายของโรงเรียนสนับสนุนให้มีโครงการกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน
2. ด้านปัจจัย พบว่า ครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจในด้านปัจจัยของโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา สืบสานศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โรงเรียนชุมชนบัวบานสามัคคี ในระดับมากที่สุด และมีความเห็นสอดคล้องตรงกันว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของโครงการ กิจกรรม คือ บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการ โรงเรียนมีงบประมาณค่าใช้จ่ายสนับสนุนเพียงพอและเหมาะสม มีสถานที่ในการดำเนินโครงการเพียงพอและเหมาะสม ระยะเวลาในการดำเนินงานที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการมีความเหมาะสมเพียงพอ และมีงบประมาณดำเนินการจัดกิจกรรมเพียงพอและเหมาะสม
3. ด้านกระบวนการ พบว่า ครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจต่อด้านกระบวนการของโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา สืบสานศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โรงเรียนชุมชนบัวบานสามัคคี โดยภาพรวมมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด และมีความเห็นสอดคล้องตรงกันว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของโครงการ กิจกรรม คือ คือ โรงเรียนมีการวางแผนงานดำเนินงาน กำหนดปฏิทิน ระยะเวลาการดำเนินงานของกิจกรรมชัดเจน มีการประชุมชี้แจงให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจในบทบาทหน้าที่แนวปฏิบัติและขั้นตอนการดำเนินงานตามกิจกรรม ครูติดตามช่วยเหลือและสนับสนุนนักเรียน ในการจัดกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ และมีการประเมินผลการดำเนินของกิจกรรมด้วยเทคนิควิธีการที่หลากหลายและเหมาะสมกับกิจกรรม
4. ด้านผลผลิต พบว่า ครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจต่อด้านผลผลิต ผลลัพธ์ของโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา สืบสานศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โรงเรียนชุมชนบัวบานสามัคคี โดยภาพรวมมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด และมีความเห็นสอดคล้องตรงกันว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของโครงการกิจกรรม คือ การร่วมกิจกรรมระหว่างโรงเรียนชุมชนเป็นไปอย่างราบรื่น กิจกรรมตามโครงการมีความก้าวหน้าผลสำเร็จตามเป้าหมาย และมีการนำความรู้ที่ได้จากการจัดกิจกรรมมาใช้ในการพัฒนางาน ตามลำดับ ส่วนด้านผลกระทบ พบว่า ครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจต่อผลกระทบของโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา สืบสานศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โรงเรียนชุมชนบัวบานสามัคคี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเห็นสอดคล้องตรงกันว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของโครงการกิจกรรม คือ สามารถเลือกแนวทางและการปฏิบัติงานตามโครงการ กิจกรรมตามหลักทฤษฎีศาสตร์พระราชาได้อย่างเหมาะสม สามารถนำหลักทฤษฎีศาสตร์พระราชาไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเอง และครอบครัวในชีวิตประจำวันได้ สามารถรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ และนำหลักทฤษฎีศาสตร์พระราชาไปปรับประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานหรือทำกิจกรรมอื่นๆ
ผลจากการดําเนินงานโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา สืบสานศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โรงเรียนชุมชนบัวบานสามัคคี มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วย 12 กิจกรรม ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ของครูและนักเรียน มีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์สิ่งแวดล้อม และบริบทต่าง ๆ ในสังคม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีการพัฒนาตนเองด้านความรู้ทางวิชาการ มีความรับผิดชอบและเอาใจใส่ในการปฏิบัติงานของตนเองและต่อส่วนนรวม มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น เป็นผู้ตรงต่อเวลา ขยันหมั่นเพียร นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตรงตามนโยบายของโรงเรียน และสามารถนําหลักการทฤษฎีศาสตร์พระราชาไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป นอกจากนี้โรงเรียนยังเป็นสถานที่ศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลหรือหน่วยงานต่าง ๆ เกี่ยวกับหลักการนำศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนอีกทางหนึ่งด้วย รวมทั้งการส่งผลให้ครู นักเรียนได้รับรางวัลต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าการดําเนินงานโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา สืบสานศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โรงเรียนชุมชนบัวบานสามัคคี ส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนแก่นักเรียนในทุกด้าน เนื่องจากการศึกษาคือเครื่องมือของการพัฒนานั่นเอง เมื่อการพัฒนาประเทศกำหนดทิศทางไปสู่สังคมแห่งความพอเพียง ยั่งยืน ระบบการศึกษาจึงมีหน้าที่จะต้องนําหลักการของศาสตร์พระพาราชาไปประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาให้ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นหลักการที่เน้นผลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยมุ่งเน้นสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิต สำหรับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ การพัฒนาที่มุ่งสร้างความสมดุลใน 3 ด้าน คือเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กันไม่ใช่มุ่งพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้แล้วยังมีเรื่องของมิติเวลา คือ พัฒนาต่อเนื่องข้ามเวลาจากปีหนึ่งสู่ปีต่อไป หรือจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหลังไปเรื่อย ๆ อย่างไรก็ดีการพัฒนาบนพื้นฐานหลักทฤษฎีศาสตร์พระราชามีความหมายกว้างกว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวคือ เงื่อนไขในการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับวิธีการใช้ความรู้อย่างรอบคอบและระมัดระวัง ตลอดจนคำนึงถึงคุณธรรม ได้แก่ ความขยันหมั่นเพียร ความอดทน ซื่อสัตย์ ความไม่โลภ ความรู้จักพอ การไม่เบียดเบียนกัน การรู้จักแบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานของวิถีปฏิบัติที่จะนําไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน และก่อให้เกิดสังคมแห่งความพอเพียงได้ในที่สุด