บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : รายงานผลการดำเนินการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อผู้รายงาน : ว่าที่ ร.อ. ประการ ผาแก้ว ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีที่จัดทำ : 2564
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การรายงาน เรื่อง รายงานผลการดำเนินการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา จำนวน 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา 2) ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4) ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา 5) ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ซึ่งเป็นการรายงานผลการดำเนินงานเชิงประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน เป็นแบบประเมิน 5 ด้าน ตามคู่มือการประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของกระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการรายงานในครั้งนี้ ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครูผู้สอน จำนวน 11 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3 คน ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 140 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 140 คน รวมทั้งสิ้น 296 คน แบ่งระดับการประเมินจากการปฏิบัติของโรงเรียนเป็น 5 ระดับ ตามมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท (Likert) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย (x̄) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินผลการดำเนินการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า
ด้านที่ 1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา จำแนกตามองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ พบว่า ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.54, S.D.=0.65) โดยองค์ประกอบที่ 1.3 ด้านงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด (x̄=4.57, S.D.=0.61) อยู่ในลำดับสูงที่สุด รองลงมาคือ องค์ประกอบที่ 1.2 ด้านวิชาการ มีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด (x̄=4.55, S.D.=0.67) และองค์ประกอบ ที่ 1.1 ด้านนโยบาย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.52, S.D.=0.60) และองค์ประกอบที่ 1.4 ด้านบริหารทั่วไป ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.51, S.D.=0.70) เป็นลำดับสุดท้าย
ด้านที่ 2 ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4 องค์ประกอบ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.60, S.D.=0.61) โดยองค์ประกอบที่ 2.2 การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.62, S.D.=0.62) อยู่ในลำดับสูงที่สุด รองลงมาคือ องค์ประกอบที่ 2.3 สื่อและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.61, S.D.=0.61) และองค์ประกอบที่ 2.4 การวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.59, S.D.=0.63) และ องค์ประกอบที่ 2.1 หน่วยการ เรียนรู้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.55, S.D.=0.58) เป็นลำดับสุดท้าย
ด้านที่ 3 ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำแนกตามองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.54, S.D.=0.69) โดยองค์ประกอบที่ 3.1 การแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดที่สุด (x̄=4.56, S.D.=0.66) อยู่ในลำดับสูงที่สุด รองลงมา คือ องค์ประกอบที่ 3.2 กิจกรรมนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.54, S.D.=0.70) และองค์ประกอบที่ 3.3 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.51, S.D.=0.69) เป็นลำดับสุดท้าย
ด้านที่ 4 ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา จำแนกตามองค์ประกอบ 2 องค์ประกอบ พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.57, S.D.=0.62) โดยองค์ประกอบที่ 4.1 ด้านการพัฒนาบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.57, S.D.=0.71) อยู่ในลำดับสูงที่สุด รองลงมาคือ องค์ประกอบที่ 4.2 ด้านการติดตามและขยายผล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.56, S.D.=0.63) เป็นลำดับสุดท้าย
ด้านที่ 5 ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ จำแนกตามองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.62, S.D.=0.62) โดยองค์ประกอบที่ 5.2 ด้านผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.64, S.D.=0.66) อยู่ในลำดับสูงที่สุด รองลงมาคือ องค์ประกอบที่ 5.3 ด้านบุคลากรของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.62, S.D.=0.63) และองค์ประกอบที่ 5.4 ด้านผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.61, S.D.=0.64) และองค์ประกอบที่ 5.1 ด้านสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.60, S.D.=0.54) เป็นลำดับสุดท้าย
สรุปผลรวมการประเมิน ด้านที่ 1 - 5 ทุกองค์ประกอบ พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.55, S.D.=0.64) โดยในด้านที่ 5 ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.62, S.D.=0.62) อยู่ในลำดับสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านที่ 2 ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.60,S.D.=0.61) และด้านที่ 4 ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.57,S.D.=0.62) และด้านที่ 1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.54, S.D.=0.65) และด้านที่ 3 ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.54,S.D.=0.69) เป็นลำดับสุดท้าย