ชื่อผู้ประเมิน อภิญญา ใจชื้น ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การรายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา(STEM Education) เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากาญจนบุรี ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) โครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM Education) เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี 2) เพื่อประเมินปัจจัยพื้นฐาน (Input Evaluation)
โครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM Education) เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี 3) เพื่อประเมินกระบวนการ
(Process Evaluation) ดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM Education) เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) โครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM Education) เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการได้แก่ ผู้บริหาร คณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 45 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม (ที่ไม่ใช่ผู้แทนผู้ปกครอง หรือผู้บริหารสถานศึกษา) จำนวน 13 คน นักเรียนของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมจากจำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการและได้รับการจัดการเรียนการรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM Education) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 260 คน โดยการสุ่มนักเรียนอย่างง่าย (Simple random sampling) ผู้ปกครองของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 260 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ แบบสอบถามจำนวน 5 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 สำหรับประเมินก่อนดำเนินโครงการในด้านสภาพแวดล้อม (Context) ผู้ตอบแบบสอบถามคือผู้บริหาร คณะครู และคณะกรรมการสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.920 ฉบับที่ 2 สำหรับ การประเมินก่อนดำเนินโครงการในด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ผู้ตอบแบบสอบถามคือผู้บริหาร และคณะครู มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.957 ฉบับที่ 3 ประเมินระหว่างดำเนินโครงการในด้านด้านกระบวนการ (Process) ผู้ตอบแบบสอบถามคือผู้บริหาร และคณะครู มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.971 ฉบับที่ 4 และ 5 ประเมินหลังดำเนินโครงการในด้านผลผลิต (Product) ด้านครู นักเรียน และความพึงพอใจในการดำเนินโครงการ ผู้ตอบแบบสอบถามคือผู้บริหาร คณะครู นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ และผู้ปกครองของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินด้านบริบท (Context) ของโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา(STEM Education) เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี พบว่า สอดคล้องโดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (x̄= 4.72 , S.D. = 0.34)
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ของโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา(STEM Education) เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี พบว่า เหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (x̄ = 4.61 , S.D. = 0.39)
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมิน ด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา(STEM Education) เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี พบว่า เหมาะสมโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.77, S.D. =0.36)
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินด้านผลผลิต (Product) ของโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา(STEM Education) เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี พบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.59 , S.D. = 0.47) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือผลผลิตด้านนักเรียน (x̄ = 4.61 , S.D. = 0.47) รองมาคือ ผลผลิตด้านครู ( x̄ = 4.57 , S.D. = 0.62) ตามลำดับ และพบว่าความคิดเห็นต่อผลลิตด้านความพึงพอใจของโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM education) ของโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรีในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.64 , S.D. = 0.39)