ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้
ด้วยเทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางสาวจิตตานันทิ์ แสงทอง
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 7 บ้านหนองตะมะพันทาโนนกอง (ธนาคารกรุงเทพ 2)
อำเภอเมืองฯ จังหวัดศรีสะเกษ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่วิจัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus รายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3.2) เพื่อศึกษาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 7 บ้านหนองตะมะพันทาโนนกอง (ธนาคารกรุงเทพ 2) อำเภอเมืองฯ จังหวัดสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 13 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selected) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.66, = 0.48)
2) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.63, = 0.49)
และเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ ก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.26 - 0.80 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 - 0.88 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.81 2) แบบวัดทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ จากการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.34 0.91 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ
มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.35 0.72 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้
ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้
สถิติ Nonparametric แบบ Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Ranks Test
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. ผลศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ
และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus รายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 พบว่า ยังไม่มีการส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญเท่าที่ควร ครูยังไม่เข้าใจ ยังไม่มีแนวทาง ขั้นตอนในการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus ที่เป็นรูปธรรม
2. แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค
KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้น K (What I know) นักเรียนมีความรู้อะไรบ้างในเรื่องที่อ่าน 2) ขั้น W (What I want to know) นักเรียนต้องการรับรู้อะไรบ้างจากเรื่องที่อ่าน 3) ขั้น L (What I Learned) นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากเรื่องที่อ่าน
4) ขั้นการสร้างแผนผังความคิด (Mapping) และ 5) ขั้นการสรุปเรื่อง (Summarizing) มีผลการประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.66, = 0.48) มีผลการประเมินคุณภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.63, = 0.49) และประสิทธิภาพ 83.22/82.69 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3. ผลการศึกษาผลการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้กิจกรรม
การเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกฎดังนี้
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus หลังจากเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ผลการประเมินทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D.= 0.64) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านความเข้าใจเนื้อหา อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D.= 0.53) ด้านที่ 2 ด้านการจำแนกส่วนประกอบ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D.= 0.57) ด้านที่ 3 ด้านการจัดลำดับเนื้อหา อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D.= 0.53)
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่าน
จับใจความสำคัญโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.62, = 0.50) โดยมีรายละเอียดดังนี้ ด้านบรรยากาศในการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, = 0.53) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69,
= 0.49) และด้านประโยชน์ที่ได้รับ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66, = 0.48)