บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบ RRL: Review & Repeat Learning เรียนซ้ำ ย้ำทวน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสำหรับการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอน
ผู้วิจัย นางสาวสุคนธา เพชรศิริ
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2563
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบ RRL: Review & Repeat Learning เรียนซ้ำ ย้ำทวน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสำหรับการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบ RRL: Review & Repeat Learning เรียนซ้ำ ย้ำทวน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสำหรับการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอน 3) เพื่อตรวจสอบรูปแบบ RRL: Review & Repeat Learning เรียนซ้ำ ย้ำทวน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสำหรับการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอน ดังนี้ 3.1) เปรียบเทียบทักษะการสอนของครูก่อนและหลังการใช้รูปแบบ 3.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทยของผู้เรียนก่อนและหลังใช้รูปแบบ 3.3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ของผู้เรียนก่อนและหลังใช้รูปแบบ 3.4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของผู้เรียนก่อนและหลังใช้รูปแบบ 3.5) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษของผู้เรียนก่อนและหลังใช้รูปแบบ 3.6) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการพัฒนารูปแบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 86 คน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 โรงเรียนบ้านไร่ใหญ่ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 40 คน ผู้ปกครอง จำนวน 32 คน ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงสำหรับนักเรียนกลุ่มเดียวกัน จำนวน 38 คน คือ นักเรียนระดับชั้น ป.1-ป.5 ในปีการศึกษา 2562 และนักเรียนระดับชั้น ป.2-ป.6 ในปีการศึกษา 2563 เพื่อให้ข้อมูลด้านผลสัมฤทธิ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสำรวจความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบ RRL: Review & Repeat Learning เรียนซ้ำ ย้ำทวน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสำหรับการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอน จำนวน 3 ฉบับ แบบวัดทักษะการสอนของครู จำนวน 1 ฉบับ แบบสอบถามเพื่อการวิจัยในการพัฒนารูปแบบ จำนวน 1 ฉบับ และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ สถิติสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติบรรยาย ได้แก่ การหาค่าร้อยละ (%) การหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติการเปรียบเทียบใช้ t-test แบบไม่อิสระ สถิติหาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าความตรงตามสูตร (IOC) และหาค่าความเที่ยงตามแอลฟา สถิติหาค่าความสัมพันธ์ใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
1. ผลการสำรวจความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบ RRL: Review & Repeat Learning เรียนซ้ำ ย้ำทวน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสำหรับการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนในภาพรวม ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระดับมากที่สุด ทุกรายการมีความต้องการจำเป็น
2. ผลการตรวจสอบโครงสร้างรูปแบบ RRL: Review & Repeat Learning เรียนซ้ำ ย้ำทวน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสำหรับการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่าภาพรวมทั้งความเหมาะสมและความเป็นไปอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการตรวจสอบรูปแบบ RRL: Review & Repeat Learning เรียนซ้ำ ย้ำทวน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสำหรับการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอน ดังนี้
3.1 ผลการเปรียบเทียบทักษะการสอนของครูก่อนและหลังการใช้รูปแบบ พบว่าหลังการใช้รูปแบบครูมีทักษะการสอนสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบ
3.2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทย รายวิชาคณิตศาสตร์ รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาภาษาอังกฤษของผู้เรียนก่อนและหลังใช้รูปแบบ RRL: Review & Repeat Learning เรียนซ้ำ ย้ำทวน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสำหรับการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอน จากคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
3.3 ผลการศึกษาความพึงพอใจของของนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาความพึงพอใจของของผู้ปกครองในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการศึกษาความพึงพอใจของของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก