แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๖
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง ภูมิใจมรดกโลก เวลา 8 ชั่วโมง
เรื่อง อักษรนำ เวลา 1 ชั่วโมง
..............................................................................................................................................................................
มาตรฐาน ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษา และพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติ ของชาติ
สาระสำคัญ
อักษรนำคือกฎเกณฑ์ทางหลักภาษาอีกประเภทหนึ่ง ที่ทำให้กระบวนการอ่านเกิด การเปลี่ยนแปลงไปจากรูปลักษณ์อักษรที่ปรากฏ ผู้เรียนต้องเรียนรู้กฎเกณฑ์นี้อย่าง ละเอียด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร
ตัวชี้วัด ท 4.1 ป 4/1 สะกดคำและบอกความหมายของคำในบริบทต่าง ๆ ได้
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนอ่านคำที่มีอักษรนำได้ถูกต้อง
2. นักเรียนบอกกฎเกณฑ์ทางหลักภาษาเกี่ยวกับอักษรนำได้
3. นักเรียนทำกิจกรรมตามที่กำหนดให้ได้
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. รักความเป็นไทย
2. ใฝ่เรียนรู้
3. มีจิตสาธารณะ
4. มีวินัย
5. อยู่อย่างพอเพียง
สาระการเรียนรู้
การอ่านและการเขียนคำอักษรนำ
กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 ครูอ่านบัตรคำ ห นำ ติดไว้บนกระดานและให้นักเรียนอ่านออกเสียงคำนั้น ๆ นักเรียนนำคำที่ครูกำหนดให้มาแต่งประโยคโดยแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คำ จากนั้นเปลี่ยนกันตรวจผลงาน
ขั้นที่ 2 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันหาคำที่เป็นอักษรนำในบทเรียนที่ 4 ให้ได้มากที่สุด เขียนใส่แผ่นกระดาษแล้วส่งตัวแทนรายงานหน้าชั้นเรียน
ขั้นที่ 4 เล่นเกม เนื้อคู่อยู่ไหน ที่คุณครูเตรียมไว้ โดยแยกเป็นคำอ่านอักษรนำหนึ่งกลุ่ม และคำเขียนอักษรนำหนึ่งกลุ่ม จากนั้น จับคู่ให้ถูกต้อง โดยแข่งกับเวลาที่ครูกำหนด
ขั้นที่ 5 ออกมาอ่านออกเสียงคำ และคำอ่านหน้าชั้นเรียนเป็นคู่ ๆ
ขั้นที่ 6 ทำแบบฝึกหัดที่ 4 หน้า 44 ข้อที่ 3 (1-2) เป็นการบ้าน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
1. บัตรคำ ห นำ
2. บัตรคำอักษรนำ
3. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ชุดภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
4. แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐานภาไทย ชุดภาษาเพื่อชีวิต ทักษะภาษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
5. สื่อเกม เนื้อคู่อยู่ไหน
วัดและประเมินผล
1. วิธีการประเมิน
- สังเกตพฤติกรรม
- ตรวจแบบฝึกหัด
2. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
- แบบสังเกตพฤติกรรม
- แบบฝึกหัด
3. เกณฑ์การประเมิน
- นักเรียนผ่านเกณฑ์การสังเกตพฤติกรรม ร้อยละ 75 80
- นักเรียนผ่านเกณฑ์การทำแบบฝึกหัด ร้อยละ 75 - 80