ชื่อผลงาน การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
ของครูผู้สอน สู่ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเมืองอุตรดิตถ์
ชื่อผู้รายงาน นายทรงศิลป์ ศรีธรราษฎร์
สถานศึกษา โรงเรียนอนุบาลเมืองอุตรดิตถ์
ปีที่ประเมิน 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของครูผู้สอน
สู่ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเมืองอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การประเมินบริบท
(C : Context Evaluation) 2) การประเมินปัจจัยนาเข้า (I : Inputs Evaluation) 3) การประเมินกระบวนการ (P : Process Evaluation) 4) การประเมินผลผลิต (P : Products Evaluation)5) การประเมินด้านผลกระทบ
(I : Impact Evaluation) 6) การประเมินด้านประสิทธิผล (E : Effectiveness Evaluation) 7) การประเมินด้านความยั่งยืน (S : Sustainability Evaluation) 8) การประเมินด้านการถ่ายโยงความรู้
(T : Transportability Evaluation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินผลครั้งนี้ เป็นครูผู้สอน ชั้นประถมศึกษาปีที่
3 4 ได้มาจากการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนอนุบาลเมืองอุตรดิตถ์ เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 4 คน ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4 กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) และสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จำแนกตามระดับชั้น แล้วสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลากได้กลุ่มตัวอย่างผู้เรียน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 52 คน ผู้ปกครองผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4 เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้ปกครองผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่
1) แบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินบริบท 2) แบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินปัจจัยนำเข้า
3) แบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินกระบวนการ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินผลผลิต
5) แบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินผลกระทบ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินประสิทธิผล
3) แบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินความยั่งยืน 4) แบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินการถ่ายโยงความรู้ สถิติที่ใช้ได้แก่ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
ของครูผู้สอน สู่ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเมืองอุตรดิตถ์ โดยภาพรวม
อยู่ในระดับมาก ( = 4.13 S.D = 0.64)
2. ผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของครูผู้สอน
สู่ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเมืองอุตรดิตถ์ ด้านบริบท โดยภาพรวม ครูผู้ร่วมโครงการ มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.11 S.D. = 0.60) ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.07 S.D. = 0.63)
3. ผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของครูผู้สอน
สู่ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเมืองอุตรดิตถ์ ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวม ครูผู้ร่วมโครงการ มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.16 S.D. = 0.67) ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.17 S.D. = 0.73)
4. ผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของครูผู้สอน
สู่ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเมืองอุตรดิตถ์ ด้านกระบวนการ โดยภาพรวม ครูผู้ร่วมโครงการ มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.15 S.D. = 0.69) คณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.88 S.D. = 0.52) และผู้เรียน
โดยภาพรวม มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.16 S.D. = 0.66)
5. ผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของครูผู้สอน
สู่ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเมืองอุตรดิตถ์ ด้านผลผลิต โดยภาพรวม ครูผู้ร่วมโครงการ มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.19 S.D. = 0.68) คณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.04 S.D. = 0.70) ผู้เรียน
โดยภาพรวม มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.10 S.D. = 0.66) และผู้ปกครองผู้เรียน
โดยภาพรวม มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก = 4.25 S.D. = 0.71)
6. ผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของครูผู้สอน
สู่ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเมืองอุตรดิตถ์ ด้านผลกระทบ โดยภาพรวม
ครูผู้ร่วมโครงการ มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.15 S.D. = 0.68)
7. ผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของครูผู้สอน
สู่ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเมืองอุตรดิตถ์ ด้านประสิทธิผล โดยภาพรวม
ครูผู้ร่วมโครงการ มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.17 S.D. = 0.65)
8. ผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของครูผู้สอน
สู่ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเมืองอุตรดิตถ์ ด้านความยั่งยืน โดยภาพรวม
ครูผู้ร่วมโครงการ มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.28 S.D. = 0.58)
9. ผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของครูผู้สอน
สู่ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลเมืองอุตรดิตถ์ ด้านการถ่ายโยงความรู้ โดยภาพรวม
ครูผู้ร่วมโครงการ มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.00 S.D. = 0.62)