ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้เสนอผลงาน นายณัฏฐกิตติ์ ขวางนกขุ้ม
สถานศึกษา โรงเรียนวัดพิกุลเงิน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี
ปีที่จัดทำผลงาน 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป ประกอบกิจกรรม
การเรียนการสอน กำหนดเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เรียนโดยใช้บบทเรียนสำเร็จรูป 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียน โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป
ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4/2 ปีการศึกษา 2563 ภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนวัดพิกุลเงิน อำเภอบางใหญ่
จังหวัดนนทบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จำนวน 38 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
การดำเนินการทดลองใช้ครั้งนี้ใช้แผนการวิจัยแบบกลุ่มเดี่ยว ( One Group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้ บทเรียนสำเร็จ แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ภาคปฏิบัติ เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจโดยใช้สถิติค่าร้อยละ (Percentage),
ค่าเฉลี่ย ( ), ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้วิธีการ ทางสถิติแบบ t-test dependent sample
ผลการวิจัยพบว่า
1) ประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต
ของนักเรียนเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพ (E1 / E2) มีค่าเท่ากับ 81.42/82.50
2) ค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียน ของนักเรียนเท่ากับ 0.5562 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้น
ร้อยละ 55.62
3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
4) นักเรียนมีความพึงพอต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.34, S.D.=0.53)