บทคัดย่อ
ชื่อผลงาน การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนโรงเรียนบ้านลุมพุกคลองแก้ว
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2564
ผู้ประเมิน นายบุญสม โสริโย
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านลุมพุกคลองแก้ว
ปีการศึกษา 2564
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โรงเรียนบ้านลุมพุกคลองแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าในการดำเนินงานของโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการประเด็นเกี่ยวกับ 4.1) คุณภาพของการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน 4.2) ความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน การประเมินโครงการใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 5 ฉบับกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครูโรงเรียนบ้านลุมพุกคลองแก้ว จำนวน 14 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านลุมพุกคลองแก้ว จำนวน 10 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านลุมพุกคลองแก้ว จำนวน 200 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านลุมพุกคลองแก้ว จำนวน 120 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 344 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS 16
ผลการประเมินโครงการปรากฏดังนี้
1. การประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โรงเรียนบ้านลุมพุกคลองแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละรายข้อพบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ กิจกรรมของโครงการสามรถนำไปปฏิบัติได้จริงตามลำดับ ส่วนวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โรงเรียนบ้านลุมพุกคลองแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาในแต่ละรายข้อพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนและชุมชนให้การสนับสนุนโดยมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการมีค่าเฉลี่ยสูงสุดรองลงมา คือ ระบบการบริหารในโรงเรียนเอื้อต่อการดำเนินโครงการ มีแผนงานการดำเนินงานตามโครงการอย่างชัดเจนและมีวัสดุ อุปกรณ์ สื่อเอกสารในการดำเนินโครงการมีเพียงพอตามลำดับ ส่วนการได้รับสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานอื่น มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
3.การประเมินด้านกระบวนการของการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โรงเรียนบ้านลุมพุกคลองแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละรายข้อพบว่า มีการนิเทศ กำกับ ติดตามและควบคุมการดำเนินงานตามโครงการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือความร่วมมือของคณะทำงานตามโครงการและ มีการกำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการดำเนินโครงการในกิจกรรมต่าง ๆ ตามลำดับ ส่วนการกำหนดกิจกรรมได้เหมาะสมสอดคล้องวัตถุประสงค์ และนักเรียนปฏิบัติบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
4. การประเมินด้านผลผลิตของการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โรงเรียนบ้านลุมพุกคลองแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2564 ดังนี้
4.1 การประเมินด้านผลผลิตของการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โรงเรียนบ้านลุมพุกคลองแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาในแต่ละรายข้อพบว่านักเรียนได้แสดงออกถึงความรักความผูกพันระหว่างเพื่อน และแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อครู มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ นักเรียนมีทักษะในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข และนักเรียนร่วมอนุรักษ์เอกลักษณ์ความเป็นไทยตามลำดับส่วนนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมวันสำคัญของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ที่โรงเรียนและหน่วยงานต่างๆจัดขึ้นมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
4.2 การประเมินด้านด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงาน ของการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โรงเรียนบ้านลุมพุกคลองแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละรายข้อพบว่านักเรียนมีทักษะในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ นักเรียนได้แสดงออกถึงความรักความผูกพันระหว่างเพื่อน และแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อครูตามลำดับ ส่วน นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมวันสำคัญของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ที่โรงเรียนและหน่วยงานต่างๆจัดขึ้นมีความพึงพอใจน้อยสุด
ข้อเสนอแนะ
1. ควรนำผลการประเมินโครงการที่ได้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจปรับปรุง แก้ไขในด้าน ต่าง ๆ ที่ได้ค้นพบ โดยส่งเสริมกิจกรรมที่โรงเรียนสามารถทำได้ดีให้ดียิ่งขึ้นไป
2. ควรมีการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ความรับรู้เชิงบวก เพื่อให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน
3. ควรขยายกลุ่มตัวอย่างในการประเมินให้ครอบคลุมนักเรียนทุกคนในโรงเรียนทั้งระดับปฐมวัยและช่วงชั้นที่ 1 แต่ต้องปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียน
4. ควรวิจัยประเมินพัฒนาคู่มือการส่งเสริมคุณธรรมสำหรับนักเรียน และประเมินผลการใช้คู่มือด้วย