การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดเขา (วันครู 2501) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการด้านปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ ด้านกระบวนการปฏิบัติของโครงการและด้านผลผลิตของโครงการ
โดยประยุกต์ใช้แบบจำลองการประเมินซีโป (CPOs Evaluation Model) ตามกรอบแนวคิดของเยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี มาเป็นรูปแบบการประเมินโครงการ โดยมีวิธีการประเมิน คือ การประเมินโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้ประเมินได้สร้างขึ้น
ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการโรงเรียนวัดเขา (วันครู 2501) ปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วย นักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง จำนวน 762 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970: 608) รวมทั้งสิ้น 399 คน โดยใช้การสุ่มผู้ตอบแบบสอบถามแบบเจาะจง (Purposive Sampling) (พิสณุ ฟองศรี, 2550: 213) จนได้กลุ่มตัวอย่างครบตามต้องการ
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และมีข้อคำถามปลายเปิด จำนวน 3 ฉบับ ทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.80-0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดเขา (วันครู 2501) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ปีการศึกษา 2564 เกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐาน ด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกเป็นรายด้าน โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.60, S.D.= 0.13) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผลการประเมินทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (4.51   4.73) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ วัตถุประสงค์ของโครงการ ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.73, S.D.= 0.25) ได้คะแนนเฉลี่ย 4 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ความพร้อมและทรัพยากร ผลการประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุด ( x̄ = 4.61, S.D.= 0.37) ได้คะแนนเฉลี่ย 4 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และด้านมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ความต้องการจำเป็นของโครงการ ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.51, S.D.= 0.24) ได้คะแนนเฉลี่ย 4 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือโรงเรียนวัดเขา (วันครู 2501)สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ปีการศึกษา 2564 เกี่ยวกับกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการ ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมินโดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.22, S.D. = 0.23) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 45 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน พบว่า ด้านกิจกรรมของโครงการ ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.23, S.D. = 0.23) ได้คะแนนเฉลี่ย 40 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และด้านช่วงเวลาที่ดำเนินการ ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.05, S.D. = 0.30) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดเขา (วันครู 2501) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ปีการศึกษา 2564 เกี่ยวกับผลผลิตของโครงการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.20, S.D. = 0.16) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 35 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.19, S.D. = 0.16) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และด้านความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชนผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.26, S.D. = 0.26) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
สรุปผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือโรงเรียนวัดเขา (วันครู 2501)สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ปีการศึกษา 2564 ทั้ง 3 ด้าน 18 ตัวชี้วัด คะแนนเต็ม 100 เมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมินพบว่า สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดทั้ง 18 ตัวชี้วัด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ ด้านกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการและด้านผลผลิตของโครงการ