ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนบ้านพลจลก
ผู้รายงาน นายภานุวัฒน์ ไพรเขียว
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านพลจลก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รายงานผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนบ้านพลจลก ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานการจัด ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านพลจลก 2) เพื่อพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนบ้านพลจลก 3) เพื่อประเมินผลการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนบ้านพลจลก ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ประกอบด้วย คณะผู้บริหารและคณะครู จำนวน 19 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน และผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 228 คน รวมทั้งสิ้น 256 คน กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย (1) ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 สำหรับสอบถามความพึงพอใจต่อการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนบ้านพลจลก ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 115 คน (2) คณะผู้บริหาร ครูและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนบ้านพลจลก สำหรับประเมินผลการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เลือกแบบมีจุดมุ่งหมายได้จำนวน 19 คน ประกอบด้วย คณะผู้บริหาร ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน คณะครู ได้แก่ ครูประจำชั้น ครูแนะแนว ครูโภชนาการ ครูอนามัยโรงเรียน และครูประจำวิชา จำนวน 18 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1) แบบสอบถามศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านพลจลก จำนวน 2 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 สำหรับผู้ปกครองและนักเรียนเป็นแบบสอบถามปลายปิดและปลายเปิด ฉบับที่ 2 สำหรับสถานศึกษาใช้สอบถามคณะผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้แก่ ครูประจำชั้น ครูแนะแนว ครูอนามัยโรงเรียน ครูประจำวิชา เป็นแบบสอบถามปลายปิด และปลายเปิด 2) แบบบันทึกการสนทนา กลุ่มสำหรับการศึกษาผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนบ้านพลจลก กำหนดแนวทางการสนทนาตามกรอบภารกิจหลัก 5 ด้าน คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมและพัฒนาการป้องกันช่วยเหลือและแก้ไขและการส่งต่อ 3) แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการแสดงออกของนักเรียนทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาด้าน คือ ด้านความรู้ความสามารถ ด้านสุขภาพ ด้านครอบครัว ด้านสารเสพติด ด้านความปลอดภัย และด้านพฤติกรรมทางเพศ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนบ้านพลจลก เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นและนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน พิจารณาตรวจสอบเชิงเนื้อหาและความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยหาค่า IOC (Item Objective Congruence) โดยกำหนดเกณฑ์การพิจารณาค่า IOC แต่ละรายข้อต้องมากกว่า หรือเท่ากับ .95 แล้วนำไปทดลองสอบถามผู้ปกครองที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน แล้วหาค่าสัมประสิทธิ์เอลฟาของคอนบาค (Conbrachs Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ .93 5) แบบประเมินผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือ โรงเรียนบ้านพลจลก ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นเองและนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน พิจารณาตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยหาค่า IOC (Item Objective Congruence) โดยกำหนดเกณฑ์การพิจารณาค่า IOC แต่ละรายข้อต้องมากกว่าหรือ เท่ากับ .95 แล้วนำไปทดลองสอบถามผู้ปกครองที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน แล้วหาค่าสัมประสิทธิ์เอลฟาของคอนบาค (Conbrachs Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ .96 ประกอบด้วย ตอนที่ 1 การประเมินผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนบ้านพลจลก ตอนที่ 2 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ 6) คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า
จากการศึกษาการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนบ้านพลจลก ปรากฏผล ดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านพลจลก
1.1 ผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านพลจลก ผู้บริหารและคณะครูที่เกี่ยวข้องมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนบ้านพลจลก โดยภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามกรอบภารกิจการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า มีการดำเนินการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนมากที่สุด รองลงมาดำเนินการป้องกันช่วยเหลือและแก้ไข และดำเนินการส่งต่อตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามกรอบภารกิจการดำเนินงาน 5 กิจกรรม ดังนี้ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งเสริมและพัฒนา โดยภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ด้านการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไข โดยภาพรวม มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ด้านการส่งต่อนักเรียน โดยภาพรวม มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก
1.2 ส่วนปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านพลจลก ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41 50 ปี มีสถานภาพสมรสอยู่ด้วยกัน จบการศึกษาภาคบังคับ สถานภาพของผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นบิดา มารดา ส่วนรายได้อยู่ระหว่าง 5,000 บาทต่อเดือน ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านพลจลก จากการพิจารณารายด้าน พบว่า มีปัญหา โดยเรียงลำดับความถี่มากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล สอบถามผู้บริหาร คณะครูที่เกี่ยวข้อง และผู้ปกครอง เมื่อ พิจารณารายบุคคล ได้แก่ ขาดการเยี่ยมบ้านนักเรียนอย่างต่อเนื่อง และการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ด้านการคัดกรองนักเรียน ได้แก่ ขาดการกำหนดแนวทางและผู้รับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มที่มีปัญหาอย่างเหมาะสม ผลการคัดกรองนักเรียนไม่ได้นำไปใช้ในกระบวนการช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ และขาดความรู้ความเข้าใจด้านการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการส่งเสริมและพัฒนา ได้แก่ ขาดการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน
2. ผลการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียน บ้านพลจลก ปรากฏผล ดังนี้
2.1 กรอบการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือ ของโรงเรียนบ้านพลจลก ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ดังนี้
2.1.1 การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลมีความสำคัญอันดับแรกของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน โดยครูประจำชั้นดำเนินการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของนักเรียน และการได้รับความร่วมมือจากครูโภชนาการ ครูแนะแนว ครูอนามัยโรงเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ครอบคลุมด้านความรู้ความสามารถ สุขภาพครอบครัวความปลอดภัย สภาพแวดล้อม พฤติกรรมทางเพศ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.2 การคัดกรองนักเรียน
การคัดกรองนักเรียนเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดของนักเรียนที่ได้จากการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อจัดกลุ่มนักเรียน โดยมีเกณฑ์การคัดกรองว่าความรุนแรงหรือความถี่ของพฤติกรรมใด จึงจะจัดเป็นกลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มมีปัญหา ซึ่งได้ดำเนินการรูปแบบคณะกรรมการรวมทั้งการใช้แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) ของกระทรวงสาธารณสุขร่วมด้วย สำหรับกิจกรรมที่ได้ร่วมกันดำเนินการ
2.1.3 การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน
การส่งเสริมและพัฒนานักเรียนเป็นการสนับสนุนให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์สำหรับกลุ่มปกติดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนา กลุ่มเสี่ยงดำเนินกาจัดกิจกรรมป้องกัน เช่น ประชุมนักเรียน 1 ครั้งต่อเดือน และกลุ่มที่มีปัญหาดำเนินการประสานความร่วมมือในการช่วยเหลือและแก้ไข สำหรับกิจกรรมที่ร่วมกันดำเนินการ
2.1.4 การป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา
ครูประจำชั้นควรให้ความดูแลเอาใจใส่กับนักเรียนในความรับผิดชอบทุกคนอย่างเท่าเทียม ส่วนกลุ่มนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงและมีปัญหาจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด โดยประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชนบริเวณรอบโรงเรียนเพื่อการสอดส่องพฤติกรรม และป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียนอย่างเคร่งครัด
2.1.5 การส่งต่อ
การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูประจำชั้น และครูผู้รับผิดชอบทุกคนควรให้ความเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดรวมถึงการพัฒนาการสื่อสารของครูเพื่อสื่อสารให้เข้าใจกับนักเรียนก็เป็นสิ่งจำเป็น กรณีนักเรียนมีปัญหาทางพฤติกรรมที่อยู่ในเกณฑ์ที่ทางโรงเรียนพอจะดูแล ช่วยเหลือ และแก้ไขได้นั้น จะส่งต่อไปยังฝ่ายบริหารกิจการนักเรียนเพื่อให้การช่วยเหลือในเบื้องต้น หรือ หากมีปัญหาเรื่องสุขภาพ
2.2 ขั้นตอนการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนบ้านพลจลก
2.2.1 การวางแผน เป็นการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานมีการประชุมชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับกรอบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การแต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ เพื่อร่วมกันรับผิดชอบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การชี้แจงบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการแต่ละชุดบุคคลที่เกี่ยวข้อง บทบาทหน้าที่ของ กลุ่มหลัก กลุ่มเสริม และกลุ่มเป้าหมาย
2.2.2 การปฏิบัติ เมื่อมีการวางแผนการปฏิบัติไว้อย่างชัดเจนแล้วในกระบวนการปฏิบัติคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจะดำเนินการตามปฏิทินที่กำหนดกลุ่มหลัก สนับสนุนงบประมาณ ในการดำเนินงาน สร้างความตระหนัก และความเข้าใจกับบุคลากร
2.2.3 การตรวจสอบติดตามผลในรูปแบบคณะกรรมการดำเนินงานและประเมินผล เพื่อทบทวนการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือ ของโรงเรียนบ้านพลจลก โดยใช้วิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย
2.2.4 การดำเนินการให้เหมาะสม การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนบ้านพลจลก เป็นความพยายามในการพัฒนาระบบการดูแลนักเรียน ให้นักเรียนได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม และนักเรียนมีพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป
2.3 ความร่วมมือในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือ ของโรงเรียนบ้านพลจลก
2.3.1 กลุ่มหลักในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนบ้านพลจลก
2.3.2 กลุ่มเสริมในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสาน ความร่วมมือของโรงเรียนบ้านพลจลก
2.3.3 กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยนักเรียนโรงเรียนบ้านพลจลก ระดับชั้นอนุบาล ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2.4 กิจกรรมการพัฒนาโดยใช้โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งประกอบด้วย
กิจกรรม 6 กิจกรรม ดังนี้ 1) กิจกรรมการคัดกรองและประเมินความเสี่ยง 2) กิจกรรมการเยี่ยมบ้านนักเรียน 3) กิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและเอดส์ 4) กิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมนักเรียน 5) กิจกรรมคุณธรรมจริยธรรม 6) กิจกรรมการประชุมผู้ปกครอง
3. ผลการประเมินผลการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนบ้านพลจลก
3.1 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครอง ต่อการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนบ้านพลจลก โดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ใน
ระดับมาก
3.2 ผลการประเมินการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือ ของโรงเรียนบ้านพลจลก โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับ มาก และเมื่อพิจารณาความร่วมมือการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือของโรงเรียนบ้านพลจลก รายด้าน ผลปรากฏ ดังนี้
ความร่วมมือด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล พบว่า ครูประจำชั้น หรือครู
ผู้รับผิดชอบหลัก มีเวลาหรือกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างชัดเจน มีระดับการปฏิบัติมากที่สุด
ความร่วมมือด้านการคัดกรองนักเรียน พบว่า การสรุปผลการคัดกรองนักเรียนโดยแยกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มทีมีปัญหา ครอบคลุมทุกระดับชั้น เพื่อพิจารณาแนวทางส่งเสริมพัฒนาช่วยเหลือและแก้ไขและการส่งต่อมากที่สุด
ความร่วมมือด้านการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไข พบว่า ประสานการทำงานระหว่าง ครูประจำชั้น ครูแนะแนว และครูผู้รับผิดชอบหลัก เพื่อส่งเสริมป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียนมากที่สุด
ความร่วมมือด้านการส่งต่อนักเรียน พบว่า การติดตามผลการส่งต่อนักเรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบมากที่สุด