ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรภาษาอังกฤษ
(English Program : EP) ของโรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช
ชื่อผู้ประเมิน นางสาวสายใจ ธรรมาวุธ
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการ
สอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Program : EP) 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของ โครงการ
พัฒนาการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Program : EP) 3) เพื่อ ประเมิน
กระบวนการของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Program
: EP) 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรภาษาอังกฤษ
(English Program : EP) 4) เพื่อประเมินผลกระทบของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการ สอนห้องเรียนพิเศษ
หลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Program : EP) ดำเนินการประเมินโดยใช้รูปแบบการประเมิน ชิปป์ของสตัฟเฟิล
บีม ผู้ให้ข้อมูลการประเมิน ได้แก่ ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง เครื่องมือที่ใช้
ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์จากผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรภาษาอังกฤษ (English
Program : EP) พบว่า 1. ด้านบริบทของโครงการ ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน โดยรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด 2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการตามความคิดเห็นของครู และ
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมมีความ คิดเห็น อยู่ในระดับมาก 3. ด้านกระบวนการดำเนินงานของ
โครงการ ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยรวมมีความคิด
เห็น อยู่ในระดับมาก 4. ด้านผลผลิตของโครงการ ปรากฏผล ดังนี้ 4.1 ความคิดเห็นของครู และนักเรียน พบว่า ครู
มีทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยรวมมี ความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก 4.2
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปี
การศึกษา 2563-2564 สูงกว่าระดับประเทศ 4.3 ความคิดเห็นของ ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน และ ผู้ปกครอง โดยรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก 5. ด้านผลกระทบของโครงการ ตามความคิดเห็น
ของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก