บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการนิเทศ ติดตามการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 ด้าน (1.1) การเตรียมการจัดการเรียนรู้ (1.2) การจัดการเรียนรู้ (1.3) ผลการเรียนรู้ของนักเรียน 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูผู้รับการนิเทศ ที่มีต่อการนิเทศ ติดตามการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ครูผู้สอนวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 117 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ครูผู้สอนวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 18 คน จากโรงเรียนในเขตปฏิบัติการนิเทศปง 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 รวมทั้งสิ้น 9 โรง ครูผู้สอนวิทยาการคำนวณ จำนวน 2 คนต่อ 1โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบนิเทศ ติดตาม การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้รับการนิเทศที่มีต่อการนิเทศ ติดตามการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศ ติดตามการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE
1.1 การเตรียมการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ของครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
สมรรถนะในการเตรียมการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณของครูผู้สอน อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ( = 4.41, S.D. = 0.48)
1.2 การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ของครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ สมรรถนะในการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณของครูผู้สอน อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ( = 4.41, S.D. = 0.48)
1.3 ผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ของครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ สมรรถนการเรียนรู้ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ( = 4.48, S.D. = 0.48)
1.4 ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ของผู้รับการนิเทศ ที่มีต่อการนิเทศ ติดตามการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75, S.D. = 0.43)
1.5 ความคิดเห็นของครูผู้รับการนิเทศ ที่มีต่อการนิเทศ ติดตามการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.88, S.D. = 0.48)