รายงานผลการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนวัดพระญาติการาม(ศุภสุขบำรุง)
ผู้รายงาน นางสาวนวพร เติมเตชาติพงศ์ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการชำนาญการ
โรงเรียนวัดพระญาติการาม(ศุภสุขบำรุง)
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
รายงานผลการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนวัดพระญาติการาม(ศุภสุขบำรุง) มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) การดำเนินงานของโครงการ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ ซึ่งประกอบไปด้วย 4.1) ด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพการนิเทศภายในโรงเรียน 4.2) ด้านผลผลิตเกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 4.3) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการนิเทศภายในโรงเรียน 4.4) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ของครู 4.5) คุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 และระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาและผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
การประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียน ผู้ประเมินใช้รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน ครูจำนวน 18 คน และนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดพระญาติการาม(ศุภสุขบำรุง) จำนวน 261 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง 293 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเป็นแบบสอบถามการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนวัดพระญาติการาม(ศุภสุขบำรุง) แบบประเมินความพึงพอใจของครูต่อโครงการนิเทศภายในโรงเรียนวัดพระญาติการาม(ศุภสุขบำรุง) และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ของครูในโครงการนิเทศภายในโรงเรียนวัดพระญาติการาม(ศุภสุขบำรุง) เป็นแบบสอบถามตามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตามแนวคิดของลิเคิร์ท (Likert Method) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการนิเทศภายในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู ในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด
2. การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการนิเทศภายในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู ในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก
3. การประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการนิเทศภายในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู ในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด
4. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ในภาพรวมผ่านเกณฑ์ทุกการประเมิน แสดงว่าผลผลิตตามโครงการนิเทศภายในโรงเรียน ประสบความสำเร็จ ดังนี้
4.1 ด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพการนิเทศภายในโรงเรียนตามความคิดเห็นของครู ในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ด้านผลผลิตเกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามความคิดเห็นของครู ในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 ด้านความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการนิเทศภายในโรงเรียน ในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด
4.4 ด้านความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ของครู ในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด
4.5 คุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น
4.5.1 ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมพบว่ามีคะแนนรวมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละสูงกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5.2 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 และระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมพบว่าคะแนนรวมเฉลี่ยร้อยละต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนด ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5.3 ผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมพบว่าคะแนนรวมเฉลี่ย ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5.4 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมพบว่าคะแนนรวมเฉลี่ย ผ่านเกณฑ์การประเมิน