จากการที่โรงเรียนนครราชสีมาปัญญานุกูล จังหวัดนครราชสีมา ยึดตามแนวคิดการบริหารจัดการคุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา มุ่งเน้นการบริหารโรงเรียนคุณภาพ ปีการศึกษา 2564 โดยนำรูปแบบการบริหาร NMP SPIRIT Model มาใช้ในการขับเคลื่อน ตามกรอบการบริหารวงจรคุณภาพ P-D-C-A และองค์ประกอบการบริหาร N-M-P และเทคนิคการปฏิบัติ 6 ร่วม ข้าพเจ้ามีการนำมาปรับประยุต์ใช้ในการบริหารจัดการชั้นเรียนดังโมเดลต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 สำรวจและวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ของชั้นเรียนด้วยการปรึกษาหารือกับครูที่ปรึกษาร่วม คณะกรรมการฝ่ายบริหารโรงเรียน รวมทั้งการทบทวนรูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียนในปีที่ผ่านมา เพื่อสรุปข้อมูล และจัดลำดับความสำคัญ นำมากำหนดกรอบการพัฒนาทางการบริหารบริหารจัดการชั้นเรียน ดังภาพต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการวางแผน (Plan) เป็นการออกแบบรูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียนให้มีประสิทธิภาพโดยมุ่งผลสำเร็จที่กลุ่มเป้าหมาย นั้นก็คือผู้เรียน
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นปฏิบัติตามแผน (Do) เป็นการนำรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพ NMP SPIRIT Model มาบูรณาการการบริหารจัดการชั้นเรียน การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน เพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศชั้นเรียน ออกแบบการจัดการชั้นเรียนอย่างมีคุณภาพด้วยวงจร P-D-C-A ตามกรอบการบริหาร NMP ประกอบด้วย
N: Networking หมายถึง เครือข่ายการทำงานของโรงเรียน ทั้งในบทบาทการสนับสนุนและการประสานให้ความช่วยเหลือระหว่างกัน ประกอบด้วย ครูประจำชั้นร่วม ผู้ปกครอง คณะกรรมการฝ่ายบริหาร และผู้เรียน โดยการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ
M: Management หมายถึง กระบวนการในการทำงานโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร จึงได้กำหนดเทคนิคในการปฏิบัติ 6 ร่วม เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้ไปในทิศทางเดียวกันกับทุกฝ่าย โดยมุ่งหวังให้เกิดกระบวนการบริหารจัดการชั้นเรียนได้อย่างมีคุณภาพ ได้แก่
1) S: Synergy ร่วมแลกเปลี่ยนพัฒนา โดยร่วมกันกำหนดแนวทางการบริหารจัดการชั้นเรียนร่วมกับครูประจำชั้นร่วม คณะกรรมการฝ่ายบริหาร ผู้ปกครอง รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการพัฒนาวิชาชีพโดย PLC เพื่อแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของผู้เรียน
2) P: Performance ร่วมมุ่งสู่ความสำเร็จ ร่วมวกับทุกฝ่ายกำหนดเป้าหมายการพัฒนาการบริหารจัดการชั้นเรียน จากการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา กำหนดเป็นค่าเป้าหมายการปฏิบัติตามมาตรฐานการศึกษา เป็นต้น
3) I: Innovation ร่วมสร้างนวัตกรรมใหม่ ส่งเสริม สนับสนุน หรือกระตุ้นการคิดพัฒนาเทคนิค กลวิธี สื่อการสอนเพื่อนำมาพัฒนาผู้เรียน เช่น เทคนิค CIPPA Model การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ Problem-based Learning : PBL สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เป็นต้น
4) R: Responsibility ร่วมรับผิดชอบ ยอมรับปัญหา และอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการบริหารจัดการชั้นเรียน พร้อมนำมาปรับปรุง แก้ไข เพื่อพัฒนาผู้เรียนในอนาคตต่อไป
5) I: Integrity ร่วมสร้างพลังความดี กำหนดแนวทางการพัฒนาผู้เรียน และบริหารจัดการชั้นเรียนอย่างเป็นระบบ ระหว่างครูประจำชั้น คณะกรรมการฝ่ายบริหาร ผู้ปกครอง และผู้เรียน
6) T: Trust ร่วมสร้างความเชื่อมั่น ฝึกการสร้างความเชื่อมั่นระดับห้องเรียน โดยการนำเสนอผลการปฏิบัติงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับการชื่นชม และศึกษาเพื่อความเข้าใจ และพัฒนาให้เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ การเข้าร่วมนำเสนอผลงานในระดับห้องเรียน และระดับโรงเรียน
P: Professional หมายถึง ผู้บริหาร ครูและบุคลากรที่มีทักษะในการทำงานที่เป็นเลิศ มีความเก่งกล้าความสามารถที่หลากหลาย สามารถบริหารจัดการชั้นเรียนได้อย่างมีคุณภาพ
ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตรวจสอบ (Check) เป็นการรวบรวมผลที่เกิดจากการบริหารจัดการชั้นเรียนด้วยวงจรคุณภาพ P-D-C-A เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุง และแก้ไขให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป
ขั้นตอนที่ 5 ขั้นปรับปรุงแก้ไข (Act ) เป็นการสะท้อนผลการดำเนินงานตามสภาพจริง จากการพัฒนาการบริหารจัดการชั้นเรียนด้วย วงจรคุณภาพ P-D-C-A และนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนด้วกระบวนการวิจัย และการจัดตั้งชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) อย่างมีคุณภาพ