ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทับใหม่
ผู้จัดทำ : นางอรวรรณ สีจง
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านทับใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี
เขต 3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีการศึกษา : 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทับใหม่ ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้ ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model เป็นแนวทางในการประเมินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทับใหม่ ซึ่งประเมินใน4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ โดยกลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งสิ้น 453 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอนจำนวน 18 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 13 คน นักเรียน 211 คน ผู้ปกครองนักเรียน 211 คน และ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 6 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามจำนวน 5 ฉบับแบบบันทึกข้อมูล 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
( 4.67) ซึ่งตัวชี้วัดที่ได้ระดับมากที่สุดมี 3 ตัวชี้วัดคือ ความต้องการความจำเป็นในการจัดทำโครงการ (4.81) รองลงมาคือความสอดคล้องของวัตถุประสงค์โครงการ(4.64) ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติโครงการ (4.56) ตามลำดับ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( 3.97) และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด ซึ่งตัวชี้วัดที่ได้ระดับมากมี 3 ตัวชี้วัดคือวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ (4.08)รองลงมาคือ งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการ (4.05) ความพร้อมของบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ (3.79) ตามลำดับ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า โดยภาพรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
( =4.50) และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดที่ได้คะแนนในระดับมากที่สุด มี 2 ตัวชี้วัด คือ การจัดกิจกรรมดำเนินงานตามโครงการ (4.62) และการบริหารจัดการการดำเนินงานตามโครงการ (4.53) ส่วนตัวชี้วัดที่ได้คะแนนในระดับมาก มี 2 ตัวชี้วัด คือ การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินโครงการ (4.44) และ การนิเทศ กำกับ ติดตาม (4.41) ตามลำดับ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า โดยภาพรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
( =4.58) และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดที่ได้คะแนนในระดับมากที่สุด มี 4 ตัวชี้วัด คือ ความพึงพอใจของผู้บริหารและครูผู้สอน (4.64) รองลงมาคือความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษา(4.59) ความพึงพอใจของนักเรียน (4.56) และ ความพึงพอใจของผู้ปกครอง (4.52) ตามลำดับ
5. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่มีต่อโครงการ
5.1 ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการ
5.1.1 ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมมีภาระงานอื่นๆที่ต้องรับผิดชอบนอกเหนือจากงานสอน
ทำให้ไม่มีเวลาดำเนินกิจกรรมอย่างเต็มที่ส่งผลให้มีการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศไม่เป็นระบบ
5.1.2 ผู้บริหารขาดการกำกับติดตามผลการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
5.1.3 นักเรียนและผู้ปกครองบางส่วนขาดการมีส่วนร่วมในการดำเนินการตาม
กระบวนการในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
5.2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอแนะที่มีต่อโครงการ
5.2.1 ผู้บริหารควรมีการมอบหมายงานให้ครูมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบการดำเนินกิจกรรมอย่างทั่วถึงมีการรายงานผลการดำเนินกิจกรรม
5.2.2 สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
5.2.3 ผู้บริหารควรมีการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีข้อมูลสารสนเทศที่เป็นระบบ
5.2.4 ผู้บริหาร ครู บุคลากรและผู้ปกครองทุกฝ่ายต้องร่วมมือเพื่อช่วยกันผลักดันส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งต่อไป
5.2.5 คณะทำงาน ผู้รับผิดชอบโครงการควรมีการวางแผน การปฏิบัติตามแผนการกำกับติดตามการวัดและประเมินผลโดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันเพื่อพัฒนานักเรียนเต็มตามศักยภาพ
5.2.6 ครูและบุคลากรภายใน สถานศึกษาต้องตระหนักถึงความสำคัญและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างถูกต้อง
5.2.7 ผู้บริหารส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือ เพื่อแก้ปัญหานักเรียนได้ตรงตามสภาพที่แท้จริง