บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาพัฒนาการคิดแก้ปัญหาและการกำกับตนเองในการเรียนของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาและการกำกับตนเองในการเรียน เรื่อง งานและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาและการกำกับตนเองในการเรียน เรื่อง งานและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ4) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาและการกำกับตนเองในการเรียน เรื่อง งานและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลนาอ้อ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลนาอ้อ จังหวัดเลยภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 9 คน ได้มาโดยสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) และ เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยเครื่องมือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาและการกำกับตนเองในการเรียน เรื่อง งานและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เครื่องมือการประเมิน คือ 1) แบบประเมินความคิดเห็นของครูที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 2) เครื่องมือประเมินนักเรียน ได้แก่ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบการคิดแก้ปัญหา แบบทดสอบการกำกับตนเอง แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) และข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล ได้แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาและการกำกับตนเองในการเรียน เรื่อง งานและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1. หลักการ แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน (Principle of the Model) 2. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (Objective of the Model) 3. ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ (Syntax of the Learning) ซึ่งออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ไว้ 6 ขั้นตอน ขั้นกำหนดปัญหา (Problem Determination) ขั้นทำความเข้าใจปัญหา (Understand the problem) ขั้นดำเนินการศึกษาค้นคว้า (Conducting Research) ขั้นวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ (Analyze and synthesize Knowledge) ขั้นสรุปและประเมินคำตอบ (Summarize and evaluate the answers) และ ขั้นนำเสนอผลงานและสะท้อนผล (Presentation and Reflection) 4. ระบบสังคม (Social System) 5. หลักการตอบสนอง (Principle of Reaction) และ6. ระบบสนับสนุน (Support System)
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาและการกำกับตนเองในการเรียน เรื่อง งานและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาและการกำกับตนเองในการเรียน เรื่อง งานและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยผู้เชี่ยวชาญ มีผลการประเมินโดยรวมเฉลี่ย ( x̄ = 4.53, S.D. = 0.55) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาและการกำกับตนเองในการเรียน เรื่อง งานและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหาและการกำกับตนเองในการเรียนเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาและการกำกับตนเองในการเรียน เรื่อง งานและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้ผลดังนี้
4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาและการกำกับตนเองในการเรียน เรื่อง งานและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
4.2 ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาและการกำกับตนเองในการเรียน เรื่อง งานและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.3 การกำกับตนเองในการเรียนหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาและการกำกับตนเองในการเรียน เรื่อง งานและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นักเรียนมีการกำกับตนเองในการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
4.4 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาและการกำกับตนเองในการเรียน เรื่อง งานและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก