การรายงานการประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้วยแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีการศึกษา 2564 2) ประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีการศึกษา 2564 ประชากรในการศึกษา ได้แก่ ฝ่ายบริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 2,194 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รวม 327 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) แล้วสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) ขนาดกลุ่มตัวอย่างได้มาจาการเปิดตารางของเครจซี่ และมอร์แกน ประกอบไปด้วย 1) ผู้บริหาร จำนวน 3 คน 2) ครูจำนวน 57 คน 3) นักเรียน จำนวน 127 คน 4) ผู้ปกครอง จำนวน 127 คน และ 5) กรรมการสถานศึกษาไม่รวมตัวแทนครู และผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ โดยฉบับที่ 1 แบบสอบถามสำหรับผู้บริหารและครู เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ ด้วยแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และ ด้านผลผลิต (Product) ฉบับที่ 2 แบบสอบถามสำหรับนักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ ด้วยแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1.ในภาพรวม
การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแยกตามรายด้าน พบว่า ด้านที่มีผลการประเมินมากที่สุด คือ ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ (Process) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านผลผลิต (Product) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ตามความคิดเห็นของนักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฎว่า ด้านที่มีผลการประเมินมากที่สุด คือ ด้านกระบวนการ (Process) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านผลผลิต (Product) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย
2.ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context)
ผลการประเมินโครงการด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ นำนโยบายเกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาใช้เพื่อการดำเนินโครงการได้เหมาะสม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งที่โรงเรียน บ้าน และชุมชน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
3.ด้านปัจจัย (Input)
ผลการประเมินโครงการด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input) โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ผู้บริหารโรงเรียนให้ความสำคัญและเป็นผู้นำในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ผู้ปกครองมีเวลาในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
4.ด้านกระบวนการ (Process)
ผลการประเมินโครงการด้านกระบวนการ (Process) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ครูที่ปรึกษาออกเยี่ยมบ้านนักเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มีการสนับสนุน ยกย่อง นักเรียนที่ประกอบคุณงามความดี ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ตามความคิดของนักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านกระบวนการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ครูที่ปรึกษามีการเยี่ยมบ้านนักเรียน มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ โรงเรียนจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาและส่งเสริมนักเรียนที่หลากหลาย มีผลการประเมินในระดับมาก
5.ด้านผลผลิต (Product)
ผลการประเมินโครงการด้านผลผลิต (Product) ตามความคิดของผู้บริหารและครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ นักเรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ นักเรียนสามารถช่วยเหลือตนเองได้ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ตามความคิดของนักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ นักเรียนรู้จุดเด่น จุดด้อยของตนเอง พร้อมที่จะปรับปรุงและพัฒนาตนเอง มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ นักเรียนมีจิตใจเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือผู้อื่น และสังคมอย่างสม่ำเสมอ มีผลการประเมินในระดับมาก
6.ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏว่า ด้านที่มีผลการประเมินมากที่สุด คือ ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ (Process) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านผลผลิต (Product) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย
คำสำคัญ : การประเมินโครงการ, ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)