การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของงานวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์สร้างสรรค์จากเศษผ้าตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึมเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานและสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์สร้างสรรค์จากเศษผ้า ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึมเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานและสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในประเด็นดังต่อไปนี้
3.1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์สร้างสรรค์จากเศษผ้า ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึมเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานและสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3.2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วย รูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์สร้างสรรค์จากเศษผ้า ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึมชันเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานและสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3.3) เพื่อศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ ด้านมุ่งมั่นในการทำงานระหว่างก่อนและหลังเรียน ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์สร้างสรรค์จากเศษผ้า ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึมเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานและสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
3.4) เพื่อศึกษาทักษะปฏิบัติของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์สร้างสรรค์จากเศษผ้า ตามแนวทฤษฏีคอนสตรัคชันนิซึมเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานและสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3.5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์สร้างสรรค์จากเศษผ้า ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชันนิซึมเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานและสร้างสรรค์ชิ้นงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์ จำนวน 22 คน โดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม ( Cluster Random Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือรูปแบบแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดใฝ่เรียนรู้ แบบวัดมุ่งมั่นในการทำงาน แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน และแบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐาน t-test ( Dependent Sample
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์ พบว่า สภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.42,S.D. = 0.86) และในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ มี 3 ประเด็น คือ ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานและการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพได้เสนอแนะวิธีแก้ไขปัญหาโดยพัฒนา
รูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์สร้างสรรค์จากเศษผ้าตามแนวทฤษฏีคอนสตรัคชันนิซึมเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานและสร้างสรรค์ชิ้นงาน ในเนื้อหา เรื่อง
งานประดิษฐ์สร้างสรรค์จากเศษผ้า ให้มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์สร้างสรรค์จากเศษผ้าตามแนวทฤษฏี
คอนสตรัคชั่นนิซึมเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน และสร้างสรรค์
ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ผลการสังเคราะห์ร่างรูปแบบการเรียนการสอนงาน
ประดิษฐ์สร้างสรรค์จากเศษผ้าตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึมเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานและสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย
1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการสอน (Syntax) 4) ระบบสังคม (Social
System) 5) หลักการตอบสนอง (Principle of reaction) 6) ระบบสนับสนุน (Support System)
โดยมีขั้นตอนการสอนดังนี้ 1) ขั้นทวนความรู้เดิม 2 ขั้นเรียนรู้เนื้อหาใหม่ 3) ขั้นปฏิบัติให้ชำนาญ 4)
ชั้นประเมินผลงาน และ 5) ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (X =4.76.
S.D. =0.79) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
(X =4.52, S.D.=0.07)
3. การศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์สร้างสรรค์จากเศษผ้าตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึมเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานและสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีดังนี้
3.1 รูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์สร้างสรรค์จากเศษผ้าตามแนวทฤษฎีคอน
สตรัคชั่นนิซึมเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานและสร้างสรรค์ชิ้นงาน
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ (E1/E2) เท่ากับ 96.59/87.42
3.2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียน ที่เรียนด้วยรูปแบบการ
เรียนการสอนงานประดิษฐ์สร้างสรรค์จากเศษผ้าที่ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึม พบว่า ค่าเฉลี่ยของ
คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3 การเปรียบเทียบด้านใฝ่เรียนรู้และมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนที่เรียน
ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์สร้างสรรค์จากเศษผ้าตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึม
คะแนนหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.4 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์สร้างสรรค์จากเศษผ้า ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึมมีทักษะปฏิบัติ ขั้นเตรียม ขั้นปฏิบัติ ขั้นผลงาน ขั้นกิจนิสัย อยู่ในระดับ
ดี คิดเป็นร้อยละ 83.55
3.5 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์สร้างสรรค์จากเศษผ้า ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึม อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.55