ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ EP2AC Model เพื่อเสริมสร้าง
ความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดอย่างมีเหตุผล
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้รายงาน : นายดิเรก บุญฤกษ์
ตำแหน่ง : ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด : โรงเรียนหนองบุญมากพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีที่พิมพ์ : 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดอย่างมีเหตุผล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณและการคิดอย่างมีเหตุผล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณและการคิดอย่างมีเหตุผล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 5 โรงเรียนหนองบุญมากพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 24 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนจัดการเรียนรู้ใช้เวลาแผนละ 1 ชั่วโมง จำนวน 14 แผน 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณเป็นแบบทดสอบอัตนัย จำนวน 10 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดอย่างมีเหตุผล เป็นแบบทดสอบอัตนัย จำนวน 10 ข้อ และ 4) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า EP2AC Model โดยมีองค์ประกอบ 8 องค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้และทักษะความสามารถ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุนรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสร้างความสนใจและเชื่อมโยงประสบการณ์พื้นฐาน (Engagement and Connection with Previous Experiences) 2) ขั้นเผชิญปัญหาและบ่มเพาะความคิด (Problem Confrontation and Thought Incubation) 3) ขั้นวิเคราะห์ทางเลือกและค้นหาคำตอบ (Analysis of Alternatives and Investigation for Solution) 4) ขั้นประยุกต์และปรับแบบแผนการคิด (Application and Reorganizing
Pattern of Thought) และ 5) ขั้นสรุปและประเมินผลการคิด (Concept Conclusion) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนมีความสอดคล้องกัน (IOC = 0.80 -1.00) และเมื่อนำไปหาประสิทธิภาพ (E1/E2) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนหนองบุญมากพิทยาคมจำนวน 24 คน ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน เท่ากับ 83.62/82.93 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 75/75
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. ความสามารถด้านการคิดอย่างมีเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
5. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความพึงพอใจรายด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และแสวงหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติการคิดด้วยตนเองและร่วมกันเรียนรู้กับผู้อื่น มีการเรียงเนื้อหาและกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมและสรุปความรู้ เชื่อมโยงนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้