การรายงานการประเมินโครงการพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ภูเก็ต สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง โดยมีรูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ประเมินปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการดำเนินงาน และผลผลิตของโครงการพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต กลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้ในการประเมินครั้งนี้ได้แก่ คณะผู้บริหารและครูที่เป็นคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ จำนวน 22 คน ได้มาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 210คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 186 คน ได้มาโดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายตามตารางของเครซี่และมอร์แกน (Krejcieand Morgan) รวมทั้งสิ้น 396 คน ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 210 คน และผู้ปกครอง นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 186 คน ได้มาโดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย ตามตารางของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) รวมทั้งสิ้น 396 คน รวมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ประเมินโครงการพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐาน ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต รวมทั้งสิ้น จำนวน 814 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน มีจำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามเพื่อใช้ในการประเมินบริบท ปัจจัยเบื้องต้น และกระบวนการในการดำเนินการโครงการพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐาน ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐาน ปีการศึกษา 2564 ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นของ ผู้ปกครองนักเรียนเกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานปีการศึกษา 2564 ฉบับที่ 4 แบบรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ฉบับที่ 5 แบบรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชาติ และฉบับที่ 6 แบบรายงานผลการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการประเมิน ดังนี้
1. ด้านบริบทของโครงการ มีความสอดคล้องกับนโยบาย ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง และวิสัยทัศน์ของโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต ในระดับมาก
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ปัจจัยในการดำเนินการโครงการพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐาน ทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร เวลา มีเพียงพอและเหมาะสมในระดับมาก
3. ด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการ กระบวนการดำเนินงานกิจกรรมในการบริหารจัดการโครงการ ขั้นตอนการดำเนินงาน มีระดับการปฏิบัติและความเหมาะสมในระดับมาก
4. ด้านผลผลิตของโครงการความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ต่อการดำเนินกิจกรรมในโครงการพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐาน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากความคิดเห็นของนักเรียนต่อการดำเนินกิจกรรมในโครงการพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐาน ทั้ง 4 กิจกรรม นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมพัฒนาทักษะและสมรรถนะผู้เรียน กิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก 2 กิจกรรมได้แก่ กิจกรรม
นิเทศภายในสถานศึกษา และกิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ต่อการดำเนินกิจกรรมในโครงการพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐาน ทั้ง 4 กิจกรรม ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด 1 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมพัฒนาทักษะและสมรรถนะผู้เรียน ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมนิเทศภายในสถานศึกษา กิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพ และกิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน จำนวนนักเรียนร้อยละ 76.40 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์ที่โรงเรียน กำหนด คือ ระดับดี (3.00 ขึ้นไป มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก) คะแนนเฉลี่ยร้อยละของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) เฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด (มากกว่าร้อยละ3) และสูงกว่าระดับประเทศ มากกว่าร้อยละ 6.22 ความพึงพอใจอยู่ในระดับดีเยี่ยมคะแนนเฉลี่ยร้อยละของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผล
การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) เฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด(มากกว่าร้อยละ3) และสูงกว่าระดับประเทศ มากกว่าร้อยละ 8.63 ความพึงพอใจอยู่ในระดับดีเยี่ยมและจำนวนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 84.51สามารถสอบเข้าศึกษาต่อ ระดับอุดมศึกษาความพึงพอใจอยู่ในระดับดีเยี่ยม
ข้อเสนอแนะ
1. จากการประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานด้านความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมในโครงการ พบว่า ผู้บริหารและครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจในทุกกิจกรรม แต่ในรายการช่วงเวลาในการจัดครูสอนเสริมในตารางเรียนสัปดาห์ละ 2 คาบ มีความเหมาะสม มีระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด ดังนั้นในปีการศึกษาต่อไป กลุ่มบริหารงานวิชาการของโรงเรียนจึงควรมีกิจกรรมการจัดครูสอนเสริมในตารางเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยพัฒนา
รูปแบบการจัดกิจกรรม การจัดช่วงเวลา ตลอดทั้งการเตรียมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีสื่อประกอบที่มีความน่าสนใจ หลากหลายและมีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียน เพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ของโครงการให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชาติ และผลสอบเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาดียิ่ง ๆ ขึ้น
2. ควรมีการประเมินโครงการพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานโดยใช้รูปแบบการประเมินอื่น ๆ เช่น รูปแบบการประเมินของไทเลอร์ รูปแบบการประเมินของโพรวัส รูปแบบการประเมินแบบ รอบด้าน 360 องศา เป็นต้น
3. ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อโครงการพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานของโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต ในปีการศึกษาต่อ ๆ ไปอย่างต่อเนื่อง