รายงานการประเมินโครงการต้นกล้าคุณธรรม นำชีวิต โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบของโพรวัส มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินการบรรยายโครงการ เกี่ยวกับความต้องการจำเป็น และความเป็นไปได้ของโครงการต้นกล้าคุณธรรม นำชีวิต 2) เพื่อประเมินการเตรียมพร้อมของโครงการ เกี่ยวกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการและ ทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินโครงการต้นกล้าคุณธรรม นำชีวิต 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการ เกี่ยวกับกิจกรรมการดำเนินงานของโครงการ และช่วงเวลาการดำเนินงานของโครงการต้นกล้าคุณธรรม นำชีวิต 4) เพื่อประเมินผลผลิตที่เกิดจากโครงการ เกี่ยวกับคุณลักษณะของนักเรียน และความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการต้นกล้าคุณธรรม นำชีวิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครู จำนวน 29 คน นักเรียน จำนวน 222 คน ผู้ปกครอง จำนวน 222 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน รวมทั้งสิ้น 489 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างคำนวณจากสูตรของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) การประเมินโครงการแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ก่อนดำเนินโครงการ ขณะดำเนินโครงการ และหลังสิ้นสุดโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินโครงการ จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 ประเมินการบรรยายโครงการ ฉบับที่ 2 ประเมินการเตรียมพร้อมของโครงการ ฉบับที่ 3 ประเมินกระบวนการของโครงการ และฉบับที่ 4 ประเมินผลผลิตที่เกิดจากโครงการ
ผลการประเมินโครงการต้นกล้าคุณธรรม นำชีวิต โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบของโพรวัส โดยภาพรวมมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ในทุกด้านและทุกตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาผลการประเมินในแต่ละด้าน ปรากฏผลดังนี้
1.การประเมินการบรรยายโครงการ (Program Definition) โดยภาพรวมผู้ประเมินมีความคิดเห็นเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.56 ทุกตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้แก่ ความต้องการจำเป็นของโครงการ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.61 และความเป็นไปได้ของโครงการ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.51
2.การประเมินการเตรียมพร้อมของโครงการ (Program Installation) โดยภาพรวมผู้ประเมินมีความคิดเห็นเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.48 ทุกตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้แก่ บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.57 และทรัพยากรจำเป็นที่ใช้ในการดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.43
3.การประเมินกระบวนการของโครงการ (Program Process) โดยภาพรวมผู้ประเมินมีความคิดเห็นเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.57 ทุกตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้แก่ กิจกรรมการดำเนินงานของโครงการ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.53 และช่วงเวลาการดำเนินงานของโครงการมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.42
4.การประเมินผลผลิตที่เกิดจากโครงการ (Program Product) โดยภาพรวมผู้ประเมินมีความคิดเห็นเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.53 ทุกตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้แก่ คุณลักษณะของนักเรียน มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.52 และความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.54
- สรุปได้ว่าโครงการต้นกล้าคุณธรรม นำชีวิต โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2564 มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โครงการบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ จึงเป็นโครงการที่สมควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องในปีการศึกษาต่อไป