ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การศึกษาถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาคน อันเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าให้มีคุณภาพและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่สังคมคาดหวัง สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามยุคสมัย การศึกษาจึงต้องปรับเปลี่ยนให้ทันและสอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของประเทศชาติและสังคมอยู่ตลอดเวลา การให้การศึกษาแก่ผู้เรียนจะเป็นเครื่องมืออันสำคัญในการพัฒนาความรู้ ความคิด พฤติกรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เจตคติ ค่านิยมและคุณธรรมของบุคคล เพื่อให้เป็นพลเมืองดี มีคุณธรรมและประสิทธิภาพ การพัฒนาประเทศย่อมทำได้สะดวกราบรื่นได้ผลอย่างแน่นอน และรวดเร็ว ซึ่งสังคมไทยในปัจจุบันได้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาในด้านต่าง ๆ อย่างมากมายอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งผลให้ผู้คนมุ่งสนใจพัฒนาเฉพาะในด้านวัตถุและเห็นความสำคัญของวัตถุยิ่งกว่าจิตใจ ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางค่านิยม รวมทั้งความรู้สึกนึกคิดและการดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคลด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา จะเห็นได้ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้คนไทยต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของสังคม แต่เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ได้ จึงก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและการศึกษา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตโดยตรงทั้งในด้านจิตใจและชีวิต ความเป็นอยู่ จึงส่งผลให้สังคมไทยบางส่วนเกิดความเห็นแก่ตัว การเอารัดเอาเปรียบ ขาดความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า สภาพสังคมเกิดความเสื่อมทางจริยธรรมอย่างมาก
จากความสำคัญของปัญหา ประเทศไทยต้องการพลเมืองของประเทศที่มีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต ปฏิบัติตนตามกฎหมาย ดำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ให้เป็นสังคมและประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริงตามหลักการทางประชาธิปไตย ฉะนั้น การศึกษาจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ และคุณธรรมของบุคคล ให้แก่สังคมและบ้านเมือง การให้การศึกษาที่ดีแก่เยาวชน และประชากรของประเทศจะช่วยส่งเสริมให้สังคมและบ้านเมืองนั้นก็จะมีพลเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถธำรงรักษาความเจริญมั่นคงของประเทศชาติไว้สืบไป ซึ่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พุทธศักราช 2553 ได้กำหนดลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์ไว้ในมาตรา 6 ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา มีความรู้คุณธรรม จริยธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และเป้าหมายกระบวนการเรียนรู้ และในมาตรา 7 ต้องการปลูกจิตสำนึกที่ถูกต้องเหมาะสม เกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ การเคารพกฎหมาย และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ยังได้กำหนดจุดหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข และมีความเป็นไทย ซึ่งได้กำหนดให้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสาระการเรียนรู้พื้นฐานสำคัญที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียน เพราะกลุ่มสาระนี้ว่าด้วยการอยู่ร่วมกันบนโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันอย่างหลากหลาย การปรับตนเองกับบริบท สภาพแวดล้อมทำให้เป็นพลเมืองที่รับผิดชอบ มีความสามารถทางสังคม มีความรู้ ทักษะ คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม เป็นการสร้างพื้นฐานการคิดและเป็นกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาและวิกฤติของชาติ โดยให้ผู้เรียนมีความเจริญงอกงามด้านความรู้ ความคิดรวบยอดและหลักการที่สำคัญๆ ในสาขาวิชาต่างๆ ผู้เรียนควรจะได้พัฒนากระบวนการและทักษะการคิด เช่น การสรุปความคิด การแปลความ การวิเคราะห์ หลักการ และการนำไปใช้ ตลอดจนคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะแก้ปัญหาตามกระบวนการทางสังคมศาสตร์ ทักษะการเรียนรู้ เช่น ความสามารถในการแสวงหาความรู้โดยการอ่าน การฟัง การสังเกต ความสามารถในการสื่อสาร โดยการพูด การฟัง การสังเกต การเขียน การนำเสนอในการตีความ การสร้างแผนภูมิ แผนที่ ตารางเวลา การจดบันทึก รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศต่างๆ ทักษะกระบวนการกลุ่ม เช่น ความสามารถในการเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานกลุ่ม มีส่วนในการกำหนดเป้าหมายการทำงานกลุ่ม ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความรับผิดชอบ สร้างสรรค์ผลงาน ช่วยลดข้อขัดแย้งและแก้ปัญหาของกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านเจตคติ และค่านิยมเกี่ยวกับประชาธิปไตยและความเป็นมนุษย์ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2552 : 12)
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้หนึ่งใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ประกอบด้วยหลากหลายแขนงสาขาวิชาต่างๆ ในสายสังคมศาสตร์มาหลอมรวมเข้าด้วยกัน ได้แก่ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ นิติศาสตร์ จริยธรรม ประชากรศึกษา สิ่งแวดล้อมศึกษา รัฐศาสตร์ สังคมวิทยา ปรัชญาและการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความเจริญงอกงามในด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ เจตคติ และค่านิยม และสามารถเชื่อมโยงในการเรียนวิชาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จะต้องได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเองและผู้ที่อยู่รอบข้าง ตลอดจนสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นที่อยู่อาศัยและเชื่อมโยงประสบการณ์ไปสู่โลกกว้าง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น มีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งเป็นเป้าหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 23) โดยกำหนดไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ ได้จากสื่อการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ทุกประเภท รวมทั้งจากเครือข่ายการเรียนรู้ต่างๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ ปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มีผลกระทบโดยตรงต่อทัศนะและการดำเนินชีวิตของคนไทย ทั้งในเมืองและชนบท โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดกับภูมิลำเนา แหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ในท้องถิ่น จะทำให้เกิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง ส่งผลต่อการรับรู้ถึงปัญหาและแนวทางการแก้ไขที่ถูกต้องตามความต้องการอย่างแท้จริง
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก สร้างแรงบันดาลใจ ให้คำปรึกษา ดูแล แนะนำ จัดวิธีการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย สร้างองค์ความรู้ได้ มีความเข้าใจในตนเอง ใช้สติปัญญา คิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ผลงาน มีสมรรถนะสำคัญ มีทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ตามระดับช่วงวัย (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2562 : 4)
ลักษณะของการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning มีดังนี้
1. เป็นการพัฒนาศักยภาพการคิด การแก้ปัญหา และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดระบบการเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้โดยมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในรูปแบบของความร่วมมือ
3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด
4. เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ สู่ทักษะการคิดวิเคราะห์
5. ผู้เรียนได้เรียนรู้ความมีวินัยในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
6. ความรู้เกิดจากประสบการณ์ และการสรุปของผู้เรียน
7. ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง
(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2562 : 5)
ตัวอย่างเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน รวมทั้งสามารถใช้ได้กับนักเรียนทุกระดับ ทั้งการเรียนรู้เป็นรายบุคคล การเรียนรู้แบบกลุ่มเล็ก และการเรียนรู้แบบกลุ่มใหญ่ ตัวอย่างรูปแบบหรือเทคนิค การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้ดี ได้แก่
1. การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้
ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนดแต่ละคน ประมาณ 2-3 นาที (Think) จากนั้นให้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนอีกคน 3-5 นาที (Pair) และนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share)
2. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่
ให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยจัดเป็นกลุ่มๆ ละ 3-6 คน
3. การเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน (Student-led review sessions) คือการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้และพิจารณาข้อสงสัยต่าง ๆ ในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ โดยครูจะคอยช่วยเหลือกรณีที่มีปัญหา
4. การเรียนรู้แบบใช้เกม (Games) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนนำเกมเข้าบูรณาการ
ในการเรียนการสอน ซึ่งใช้ได้ทั้งในขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน การสอน การมอบหมายงาน และหรือขั้นการประเมินผล
5. การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ (Analysis or reactions to videos) คือการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ดูวีดีโอ 5-20 นาที แล้วให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น หรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู อาจโดยวิธีการพูดโต้ตอบกัน การเขียน หรือ การร่วมกันสรุปเป็นรายกลุ่ม
6. การเรียนรู้แบบโต้วาที (Student debates) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้
นำเสนอข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้ เพื่อยืนยันแนวคิดของตนเองหรือกลุ่ม
7. การเรียนรู้แบบผู้เรียนสร้างแบบทดสอบ (Student generated exam questions) คือ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างแบบทดสอบจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว
8. การเรียนรู้แบบกระบวนการวิจัย (Mini-research proposals or project) คือการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ที่อิงกระบวนการวิจัย โดยให้ผู้เรียนกำหนดหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้ วางแผนการเรียน เรียนรู้ตามแผน สรุปความรู้หรือสร้างผลงาน และสะท้อนความคิดในสิ่งที่ได้เรียนรู้ หรืออาจเรียกว่าการสอนแบบโครงงาน(project-based learning) หรือ การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (problem-based learning)
9. การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze case studies) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้
ผู้เรียนได้อ่านกรณีตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จากนั้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแนวทางแก้ปัญหาภายในกลุ่ม แล้วนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด
10. การเรียนรู้แบบการเขียนบันทึก (Keeping journals or logs) คือการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ที่ผู้เรียนจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้พบเห็น หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน รวมทั้งเสนอความคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบันทึกที่เขียน
11. การเรียนรู้แบบการเขียนจดหมายข่าว (Write and produce a newsletter) คือการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนร่วมกันผลิตจดหมายข่าว อันประกอบด้วย บทความ ข้อมูลสารสนเทศ ข่าวสาร และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วแจกจ่ายไปยังบุคคลอื่นๆ
12. การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Concept mapping) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้
ผู้เรียนออกแบบแผนผังความคิด เพื่อนำเสนอความคิดรวบยอด และความเชื่อมโยงกันของกรอบความคิด โดยการใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง อาจจัดทำเป็นรายบุคคลหรืองานกลุ่ม แล้วนำเสนอผลงานต่อผู้เรียนอื่นๆ จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคนอื่นได้ซักถามและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
(สถาพร พฤฑฒิกุล, 2558)
บทบาทของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางของ Active Learning ดังนี้
1. จัดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงของ
ผู้เรียน
2. สร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วม และการเจรจาโต้ตอบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมี
ปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สอนและเพื่อนในชั้นเรียน
3. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม รวมทั้ง
กระตุ้นให้ผู้เรียนความสำเร็จในการเรียนรู้
4. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือ ส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือในกลุ่มผู้เรียน
5. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ท้าทาย และให้โอกาสผู้เรียนได้รับวิธีการสอนที่
หลากหลาย
6. วางแผนเกี่ยวกับเวลาในการจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจน ทั้งในส่วนของเนื้อหา
และกิจกรรม
7. ครูผู้สอนต้องใจกว้าง ยอมรับความสามารถในการแสดงออก และความคิดของ
ผู้เรียน
(ณัชนัน แก้วชัยเจริญกิจ, 2550)
จากประสบการณ์ของผู้ศึกษา ซึ่งเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน................ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา....................... มีประสบการณ์ในการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มาเป็นเวลา........... ปี พบว่านักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประสบปัญหาที่ได้พบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตและสอบถามนักเรียนส่วนมากในโรงเรียน ไม่ชอบเรียนวิชาสังคมศึกษา เนื่องจากคิดว่าเป็นวิชาที่น่าเบื่อ ต้องฟังครูบรรยายเป็นส่วนมาก และสิ่งที่ครูนำมาสอนเป็นเรื่องไกลตัวหรือเนื้อหาอยู่ในบริบทอื่นๆ สังคมอื่น และอีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญคือ ครูขาดสิ่งจูงใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายต่อการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่เป็นที่พึงพอใจและต่ำกว่าเป้าหมายของโรงเรียน สอดคล้องกับรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียน ในปีการศึกษา .......... ปีการศึกษา ............ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์เป้าหมายของสถานศึกษาที่ตั้งไว้ คือร้อยละ
ทั้งนี้เนื่องมาจากครูไม่ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างแท้จริงทำให้เลือกวิธีสอนที่ไม่เหมาะสมกับความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคลครูสั่งงานเกินกำลังความสามารถของนักเรียน นักเรียนเบื่อไม่ชอบทำงาน ขาดแรงจูงใจ และเนื้อหาวิชามากเกินไป
จากสภาพปัญหาดังกล่าวมานั้น ผู้ศึกษาจึงได้ศึกษาเอกสารงานวิจัยต่าง ๆ เป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว และพบว่า การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนจัดเป็นสื่อการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่นักเรียนให้ความสนใจและมีประโยชน์ต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้ศึกษาเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จึงได้ออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด บทบาทหน้าที่ของพลเมืองดี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เพื่อแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม และเพื่อให้นักเรียนได้ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความรัก ความผูกพัน ความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ท้องถิ่นและตระหนักในคุณค่าด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของตน จะได้ช่วยกันอนุรักษ์ จรรโลงไว้ในสิ่งที่ดีงามให้คงอยู่สืบไป และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ จะทำให้นักเรียนเห็นคุณประโยชน์ของการอ่าน และรักที่จะแสวงหาความรู้อยู่เสมอจากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เป็นการเพิ่มพูนความรู้และส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ในระดับคุณภาพดีขึ้นไป