การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพและการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต โดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานและการสร้างองค์ความรู้ด้วยกระดาษแผ่นเดียวประกอบการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพและการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาเรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต โดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานและการสร้างองค์ความรู้ด้วยกระดาษแผ่นเดียวประกอบการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หาค่าดัชนี
ประสิทธิผลของนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพและการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาเรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต โดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานและการสร้างองค์ความรู้ด้วยกระดาษแผ่นเดียวประกอบการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพและการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต โดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานและการสร้างองค์ความรู้ด้วยกระดาษแผ่นเดียวประกอบการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ผู้วิจัยดำเนินการสร้างและพัฒนาแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน สังเคราะห์เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวแล้วกำหนดกรอบแนวคิดของนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพและการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต โดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานและการสร้าง องค์ความรู้ด้วยกระดาษแผ่นเดียวประกอบการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ โดยการกำหนดกรอบโครงร่างการจัดการเรียนรู้มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ กรอบแนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลและการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้
จำนวน 9 แผน ใช้เวลา 20 ชั่วโมง แล้วตรวจสอบคุณภาพด้านความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน จากการปรับปรุง/แก้ไข/พัฒนาแล้วนำไปทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพกับนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านกาแป๊ะฮูลู) สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา จำนวน 3 ครั้ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้ครั้งที่ 1 แบบรายบุคคล (Individual Tryout)ครั้งที่ 2 แบบกลุ่มเล็ก (Small Group Tryout) ครั้งที่ 3 แบบภาคสนาม (Field Tryout) แล้วนำไปทดลองใช้จริงกับนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านกาแป๊ะฮูลู) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) จำนวน 20 คน มีการจัดกิจกรรมเป็นกลุ่ม เป็นนักเรียนที่คละความสามารถ ขั้นตอนนี้ได้ดำเนินการตามแบบการวิจัยกึ่งทดลองโดยทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 1 กลุ่ม (One Group Pre test Post test Designs) เพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายซึ่งมีแบบแผนการทดลอง และขั้นตอนที่ 3 การหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพและการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา สุขศึกษา เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต โดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานและการสร้างองค์ความรู้ด้วยกระดาษแผ่นเดียวประกอบการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้หนังสืออ่านเพิ่มเติม และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ประสิทธิภาพ (E1/E2) และค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1. นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพและการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต โดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานและการสร้างองค์ความรู้ด้วยกระดาษแผ่นเดียวประกอบการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้นมี6 องค์ประกอบ ได้แก่ กรอบแนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การวัดและประเมินผล และการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน หนังสืออ่านเพิ่มเติม จำนวน 4 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 เรื่อง การเลือกใช้บริการสุขภาพในชีวิตประจำวันเล่มที่ 2 เรื่อง เทคโนโลยีทางสุขภาพและความเจริญ เล่มที่ 3 เรื่อง การช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดและเล่มที่ 4 เรื่อง การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังนี้คือ (1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (2) ขั้นสอน ขั้นที่ 1 : ขั้นกำหนดปัญหา (Define A Problem) ขั้นที่ 2 : ขั้นทำความเข้าใจปัญหา (Identify) ขั้นที่ 3 : ขั้นดำเนินการศึกษาค้นคว้า (Brainstorm Solutions) ขั้นที่ 4 : ขั้นการสังเคราะห์ความรู้(Make And Test The Best Solution) ขั้นที่ 5 : ขั้นสรุปและประเมินค่าของคำตอบ (Evaluate Results) ขั้นที่ 6 : ขั้นนำเสนอและประเมินผลงาน (Share Results) และ (3) ขั้นสรุป
2. ประสิทธิภาพของนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพและการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต โดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานและการสร้าง องค์ความรู้ด้วยกระดาษแผ่นเดียวประกอบการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 86.81/ 85.63 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้3. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยประสิทธิภาพของนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพและการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต โดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานและการสร้างองค์ความรู้ด้วยกระดาษแผ่นเดียวประกอบการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพและการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต โดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานและการสร้างองค์ความรู้ด้วยกระดาษแผ่นเดียวประกอบการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ .5803 คิดเป็นร้อยละ 58.03 ซึ่งแสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 58.03
5. นักเรียนมีความพึงพอใจหลังได้เรียนรู้ด้วยนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพและการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต โดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานและการสร้างองค์ความรู้ด้วยกระดาษแผ่นเดียวประกอบการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก