บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของการพัฒนารูปแบบการเรียน การสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแสดงออกเชิงสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์และแสดงออก เชิงสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ ได้แก่ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์และแสดงออก เชิงสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ ด้านทักษะทางภาษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และแสดงออก เชิงสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู้หลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแสดงออกเชิงสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 เมื่อเวลาผ่านไป 2 สัปดาห์ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแสดงออกเชิงสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดโพธาวาส) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และแสดงออกเชิงสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบทดสอบวัดทักษะทางภาษา 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Diviation) ค่าประสิทธิภาพ (E1 / E2) และค่าทดสอบที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ได้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแสดงออก เชิงสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีชื่อเรียกว่า ESSRC Model ที่มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบการเรียนการสอน องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ องค์ประกอบที่ 3 ขั้นการสอนของรูปแบบการเรียนการสอน ESSRC Model มีขั้นตอนการสอน 5 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นการเรียนรู้ (Encouragement of Learning : E) ขั้นที่ 2 สืบค้นความรู้ (Searching Knowledge : S) ขั้นที่ 3 ฝึกทักษะ (Skill Practices : S) ขั้นที่ 4 สังเคราะห์สะท้อนเชื่อมโยง (Reflective Synthetic Process : R) ขั้นที่ 5 สื่อสารและแลกเปลี่ยน (Communicate and Exchange : C) องค์ประกอบที่ 4 สิ่งสนับสนุน ได้นำรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยไปตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ารูปแบบการเรียนการสอนมีความสอดคล้อง IOC = 0.90 และเมื่อนำไปหาประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.97/86.27 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80
2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแสดงออกเชิงสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ และแสดงออก เชิงสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ ด้านทักษะทางภาษา ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแสดงออกเชิงสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีชื่อเรียกว่า ESSRC Model คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีความแตกต่างที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.1 ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คะแนนหลังเรียนสูงว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ และแสดงออกเชิงสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ พบว่า ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 ด้านทักษะทางภาษา พบว่า ผลการเปรียบเทียบด้านทักษะทางภาษา ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คะแนนทักษะทางภาษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความคงทนในการเรียนรู้หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแสดงออกเชิงสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแสดงออกเชิงสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 70
4. ผลจากการสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแสดงออกเชิงสร้างสรรค์ อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด