การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินสภาพการการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านปางปอย ปีการศึกษา 2564 และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และ
ข้อเสนอแนะในการการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านปางปอย ปีการศึกษา 2564 ประชากรผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน นักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านปางปอย ปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วย ครูผู้สอนจำนวน 23 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 13 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านปางปอย ปีการศึกษา 2564 จำนวน 120 คน และผู้ปกครองของนักเรียน
ปีการศึกษา 2564 จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสำรวจรายการ (Check List) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และค่าความถี่ (f)
ผลการศึกษาการศึกษาการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านปางปอย ปีการศึกษา 2564 สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านปางปอย อำเภอฝาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสภาวะแวดล้อมการดำเนินโครงการ (Context) มีค่าเฉลี่ยระดับการปฏิบัติสูงสุด รองลงมาคือ ด้านผลผลิตของโครงการ (Product) ความคิดเห็นต่อการททำวิจัยในชั้น และด้านปัจจัยเบื้องต้นในการดำเนินโครงการ (Input) ตามลำดับ
2. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อมการดำเนินโครงการ (Context) โครงการการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านปางปอย อำเภอฝาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ในโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านหลักการ วัตถุประสงค์ เป้าหมายและนโยบายของโครงการมีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน มีค่าเฉลี่ยระดับการปฏิบัติสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการกำหนด เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ของโครงการ มีความเหมาะสมและปฏิบัติได้จริง และด้านโครงการนิเทศภายในของโรงเรียนมีความสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชน) ตามลำดับ
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าในการดำเนินโครงการ (Input) ในการดำเนินงานตามโครงการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านปางปอย อำเภอฝาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาให้การสนับสนุนในการดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติสูงสุด รองลงมาคือ บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติกิจกรรมการนิเทศภายใน และมีวัสดุ อุปกรณ์ สื่อและเทคโนโลยีที่ใช้อย่างเพียงพอ ตามลำดับ
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการในการดำเนินโครงการ (Process) ตามโครงการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านปางปอย อำเภอฝาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 มีดังนี้
4.1 ขั้นเตรียมการนิเทศภายใน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศภายใน มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติ รองลงมา
คือ มีการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนา และครูและบุคลากรมีโอกาสร่วมกำหนดแผนงาน กิจกรรมของการนิเทศภายใน ตามลำดับ
4.2 ขั้นดำเนินการนิเทศภายใน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการจัดทำเครื่องมือนิเทศติดตามผลให้เหมาะสมกับกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย การปฏิบัติสูงสุดรองลงมาคือ มีการจัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานโครงการอย่างชัดเจน และมีการประชุมเชิงปฏิบัติการในเรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ตามลำดับ
4.3 ขั้นการติดตามและประเมินผลการนิเทศภายใน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้บริหารมีการ กำกับติดตามนิเทศอย่างสม่ำเสมอ มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติสูงสุด) รองลงมาคือ ครูและบุคลากรมีส่วนร่วมมือในการติดตาม ประเมินผลแต่ละกิจกรรมตามโครงการ และการรายงานผลการดำเนินโครงการเป็นระยะ
ตามลำดับ
4.4 ขั้นนำผลการประเมินมาพัฒนาและปรับปรุงงานการนิเทศภายใน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการสรุปผลและรายงานผลการประเมินโครงการให้บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติสูงสุด รองลงมาคือ มีการวิเคราะห์และนำผลการประเมินมาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับ
5. ผลการประเมินด้านผลผลิต ( Product ) ตามโครงการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้าน ปางปอย อำเภอฝาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3
โดยวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครู เกี่ยวกับความเหมาะสมของผลการประเมินผลผลิตของโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการวิเคราะห์ปัญหาความต้องการในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติสูงสุด รองลงมาคือ เลือกวิธีการ นวัตกรรมในการแก้ปัญหาหรือ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ได้อย่างเหมาะสมกับผู้เรียน และมีการจัดทำรายงานการวิจัยนำผลการวิจัยไปใช้ในการวางแผนพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และแก้ปัญหาให้กับผู้เรียน ตามลำดับ โดยอภิปรายรายด้านดังนี้
5.1 ด้านความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของครูเกี่ยวกับกาความคิดเห็นต่อโครงการนิเทศภายใน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการบริหารจัดการโครงการแบบมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติสูงสุด รองลงมาคือ มีการสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรร่วมมือกันและทำงานสนับสนุนซึ่งกันและกัน และการนิเทศภายในทำให้ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้มากขึ้น ตามลำดับ
5.2 ด้านความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของครูเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ครูนำผลการวิเคราะห์ผู้เรียนไปออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติสูงสุด รองลงมาคือ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ฝึกการสังเกต ค้นคว้า รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมให้กับผู้เรียน ตามลำดับ
5.3 ด้านความคิดเห็นต่อการผลิตและการใช้สื่อประกอบการเรียนการสอน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า กำหนดจุดมุ่งหมายและวิเคราะห์เนื้อหาในการผลิตสื่อ มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติสูงสุด รองลงมาคือ ผลิตและเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหาจุดประสงค์ของบทเรียน วัยและความสนใจของผู้เรียน และการนิเทศภายในทำให้ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้มากขึ้นตามลำดับ
5.4 ด้านความคิดเห็นต่อการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ การวัดประเมินผลตามจุดประสงค์ที่กำหนด มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติสูงสุด รองลงมาคือ มีการประเมินผู้เรียนควบคู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และเน้นคุณภาพของผลงานที่ผู้เรียนสร้างขึ้นจากการบูรณการความรู้หลาย ๆ ด้านของผู้เรียน ตามลำดับ
5.5 ด้านความคิดเห็นต่อการจัดการในชั้นเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการเตรียมการสอน จัดสื่อ อุปกรณ์พร้อมที่จะใช้งาน มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติสูงสุด รองลงมาคือ มีมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน เช่น มุมแสดงผลงานนักเรียน มุมประสบการณ์ มุมเก็บผลงานของครูและนักเรียน และนักเรียนมีความกระตือรือร้น กล้าพูด กล้าแสดงออก ตามลำดับ
5.6 ด้านความคิดเห็นต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน พบว่า มีการวิเคราะห์ปัญหาความต้องการในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติสูงสุด รองลงมาคือ เลือกวิธีการ นวัตกรรมในการแก้ปัญหาหรือ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ได้อย่างเหมาะสมกับผู้เรียนและมีการจัดทำรายงานการวิจัยนำผลการวิจัยไปใช้ในการวางแผนพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และแก้ปัญหาให้กับผู้เรียน ตามลำดับ
6. ผลการประเมินด้านด้านผลกระทบ (Impact) ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครู เกี่ยวกับความเหมาะสมของผลกระทบของโครงการ
ต่อการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านปางปอย อำเภอฝาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 โดยรวมอยู่ใน ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การจัดนิทรรศการทำให้ครู มีความกระตือรือร้น มีความรู้ ในการนำไปปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติสูงสุด รองลงมาคือ การนิเทศงานวิชาการช่วยส่งเสริมคุณภาพการเรียนการสอนและช่วยให้ครูมีความมั่นใจในการสอนมากขึ้น และการนิเทศงานวิชาการช่วยให้ครูยอมรับความสามารถซึ่งกันและกัน ตามลำดับ
ผลการประเมินโครงการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านปางปอย ปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่
นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านปางปอย ปีการศึกษา 2564 จำนวน 240 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan (บุญชม ศรีสะอาด. 2543 : 40) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 240 คน จากนั้นสุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย สรุปผล และอภิปรายผล ดังนี้
ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนบ้านปางปอย อำเภอฝาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่
เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนด้วยความตั้งใจเต็มเวลาและเต็มความสามารถ มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นสูงสุด รองลงมาคือ นักเรียนสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง และครูสร้างความสัมพันธ์/บรรยากาศในห้องให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ตามลำดับ
ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนบ้านปางปอย อำเภอฝาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการของคณะผู้บริหารโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นสูงสุด รองลงมาคือ ผู้บริหารโรงเรียนเอาใจใส่และมุ่งมั่นในการดูแลนักเรียน อย่างทั่วถึง และนักเรียนมีโอกาสศึกษาหาความรู้และข้อมูลข่าวสารจาก แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามลำดับ