ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง
โรงเรียนโยธินบูรณะ เพชรบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 10
ผู้รายงาน นางอุษา กองธรรม
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง โรงเรียนโยธินบูรณะ เพชรบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ 1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง โรงเรียนโยธินบูรณะ เพชรบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง โรงเรียนโยธินบูรณะ เพชรบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง โรงเรียนโยธินบูรณะ เพชรบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 และ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง โรงเรียนโยธินบูรณะ เพชรบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10
วิธีดำเนินการประเมินโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง โรงเรียนโยธินบูรณะ เพชรบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 ดำเนินการในระหว่างวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 โดยใช้ประชากรประกอบด้วย ครูในโรงเรียนโยธินบูรณะ เพชรบุรี จำนวน 22 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ศึกษานิเทศก์จำนวน 2 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2-3 กลุ่มเสี่ยง จำนวน 44 คน ผู้ปกครองนักเรียนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 44 คน
เครื่องมือที่ใช้ประเมินโครงการ คือ แบบประเมินโครงการซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบประเมินคุณภาพผู้เรียน แบบประเมินประสิทธิภาพครูในการดำเนินกิจกรรม และแบบประเมินการมีส่วนร่วมของเครือข่าย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าคะแนนเฉลี่ยของประชากร ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร ( )
ผลการประเมินโครงการในแต่ละด้าน ดังนี้
1) ด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
2) ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมหรือความเพียงพออยู่ในระดับมาก
3) ด้านกระบวนการของโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
4) ด้านผลผลิตของโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง พบว่า นักเรียนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมดีขึ้นและมีคุณภาพตามมาตรฐานคุณภาพนักเรียนในระดับมาก ประสิทธิภาพครูในการดำเนินกิจกรรมอยู่ในระดับมาก และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายอยู่ในระดับมาก