การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินสภาพการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนบ้านเหมืองแร่ ปีการศึกษา 2564 และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนบ้านเหมืองแร่ ปีการศึกษา 2564 ประชากรผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนบ้านเหมืองแร่ ปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วยผู้บริหาร จำนวน 2 คน ครูผู้สอนจำนวน 17 คน รวมทั้งหมด 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสำรวจรายการ (Check List) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และค่าความถี่ (f)
ผลการศึกษาการศึกษาการประเมินสภาพการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเหมืองแร่ ปีการศึกษา 2564 สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินสภาพการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านเหมืองแร่ ปีการศึกษา 2564 จากแบบสอบถาม พบว่า ผู้บริหารและ
ครูผู้สอนโรงเรียนโรงเรียนบ้านเหมืองแร่ มีความเห็นว่าการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนบ้านเหมืองแร่ ปีการศึกษา 2564 โดยรวมมีการปฏิบัติผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละขั้นตอนพบว่า การเตรียมการ การดำเนินการ และการรายงานผล มีการปฏิบัติผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ขั้นตอน มีรายละเอียดดังนี้
ขั้นตอนการเตรียมการ มีการปฏิบัติงานและการจัดกิจกรรมในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ขั้นตอนการเตรียมการ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าทุกด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านบุคลากร ( = 1.81) รองลงมาคือ ด้านคณะกรรมการ ( = 1.75) และด้านทรัพยากร ( = 1.68) ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจเอกสาร ขั้นตอนการเตรียมการ ที่พบว่าโรงเรียนบ้านเหมืองแร่มีการปฏิบัติงานและจัดกิจกรรมในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ขั้นตอนการเตรียมการจริง โดยพบเอกสารครบเกือบทุกรายการ
ขั้นตอนการดำเนินการ มีการปฏิบัติงานและการจัดกิจกรรมในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ขั้นการดำเนินการ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การวางแผนปฏิบัติงาน ( = 1.81 ) รองลงมา คือ การตรวจสอบประเมินผล ( = 1.53 ) การดำเนินงานตามแผน ( = 1.51 ) และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน ( = 1.37 ) ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจเอกสารที่แสดงให้เห็นว่าโรงเรียนบ้านเหมืองแร่ มีการปฏิบัติงานและจัดกิจกรรมในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ขั้นตอนการดำเนินการจริง โดยพบเอกสารครบเกือบทุกรายการ
ขั้นตอนการรายงานผล มีการปฏิบัติงานและการจัดกิจกรรมในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ขั้นตอนการรายงานผล ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การจัดทำรายงาน ( = 1.68 ) รองลงมาคือ การเผยแพร่รายงาน ( = 1.05 ) ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจเอกสาร ขั้นตอนการรายงานผล ที่แสดงให้เห็นว่าโรงเรียนบ้านเหมืองแร่ มีการปฏิบัติงานและจัดกิจกรรมในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ขั้นตอนการรายงานผลจริง โดยพบเอกสารครบทุกรายการ
2. ผลการสรุปความคิดเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติงานและการจัดกิจกรรมในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านเหมืองแร่ ปีการศึกษา 2564 ขั้นตอนการเตรียมการ ปัญหา อุปสรรคสำคัญที่พบ คือบุคลากรมีภาระงานมาก บุคลากรมีไม่เพียงพอ บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจในการประเมิน ไม่มีเวลาในการประชุมร่วมกัน งบประมาณไม่เพียงพอ และขาดแคลนทรัพยากร ข้อเสนอแนะที่ควรดำเนินการ คือ ควรจัดสรรอัตรากำลังให้เพียงพอตามความต้องการจำเป็นของสถานศึกษา สร้างความตระหนัก ให้บุคลากรมีการปฏิบัติในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาร่วมกัน และควรจัดงบประมาณสนับสนุนให้เพียงพอกับภาระงาน
ขั้นตอนการดำเนินการ ปัญหา อุปสรรคสำคัญที่พบ คือ ยังขาดความต่อเนื่อง ไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง ระยะเวลาไม่เป็นไปตามที่กำหนด ไม่สม่ำเสมอ และมีการนิเทศติดตามน้อย ข้อเสนอแนะที่ควรดำเนินการ คือ ควรปรับปรุงการวางแผนการปฏิบัติงานให้ต่อเนื่อง ควรมี การตรวจสอบ กำกับ ดูแล นิเทศอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะในการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ และการนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงาน
ขั้นตอนการรายงานผล ปัญหา อุปสรรคสำคัญที่พบ คือ การรายงานผลไม่ตรงกับสภาพจริง ขาดข้อมูลที่ชัดเจน และมีการรายงานผลที่ล่าช้า ไม่ทันเหตุการณ์ ข้อเสนอแนะที่ควรดำเนินการ คือ ควรมีการรายงานผลตามสภาพจริง มีการเผยแพร่ต่อสาธารณชนและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบโดยทั่วกัน