ชื่อเรื่อง การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน PSQS PAR Model
โรงเรียนหนองปรือประชาสรรค์ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
ชื่อผู้วิจัย นางสาวพัณณ์ชิตา จันทราภิรมย์
สถานศึกษา โรงเรียนหนองปรือประชาสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2563-6564
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน PSQS PAR Model โรงเรียนหนองปรือประชาสรรค์ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา โดยประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มผู้เกี่ยวข้องในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง ขั้นตอนการวิจัยมี 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ขั้นที่ 2 เพื่อพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน PSQS PAR Model ขั้นที่ 3 เพื่อทดลองใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน PSQS PAR Model รอบที่ 1 ขั้นที่ 4 เพื่อประเมินและการปรับปรุงระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน PSQS PAR Model ในรอบที่ 1 ขั้นที่ 5 เพื่อทดลองใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน PSQS PAR Model รอบที่ 2 และขั้นที่ 6 เพื่อประเมินและปรับปรุงระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน PSQS PAR Model รอบที่ 2 ในการดำเนินการวิจัยผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมใน การดำเนินการทุกขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหา และความต้องการของการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ก่อนการพัฒนาการดำเนินงานด้วยระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน PSQS PAR Model พบว่า ครูประจำชั้นได้ดำเนินงานตามขั้นตอนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนยังไม่ครบทั้ง 5 ขั้นตอน และไม่เป็นระบบ ครูประจำชั้นขาดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและยังขาดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ผู้อำนวยการสถานศึกษามีความประสงค์ให้ครูประจำชั้นทุกคนปฏิบัติภารกิจในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีเป้าหมายสำคัญ คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน โดยมุ่งหวังว่าผู้เรียนจะเติบโตอย่างมีคุณภาพรอบด้าน ทั้งทางด้านสติปัญญา ความสามารถ คุณธรรมจริยธรรม และด้านการดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขในสังคม พร้อมด้วยสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี โดยการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและความพร้อมของบุคลากรในโรงเรียน อีกทั้งจะต้องประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและหน่วยงานอื่นภายนอก อย่างใกล้ชิด เพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานการพัฒนาการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การพัฒนาระบบ การประเมินเชิงปฏิบัติการ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการพัฒนากระบวนการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและบริบทของโรงเรียน
2. ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน PSQS PAR Model พัฒนาโดยการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ครูทุกคน นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนประกอบด้วยระบบย่อยซึ่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นวงจร 4 ระบบ ได้แก่ ระบบวางแผน (Plan) ระบบปฏิบัติการ (Act) ระบบตรวจสอบ (Observe) และระบบสะท้อนผล (Reflect)
3. ผลการทดลองใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในรอบที่ 1 พบว่า ผลการดำเนินงานมีค่าสูงกว่าเกณฑ์เกือบทุกตัวชี้วัด และในการทดลองใช้ระบบในรอบที่ 2 พบว่า ผลการดำเนินงานมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ทุกตัวชี้วัด แสดงว่า ในการทดลองรอบที่ 2 ผลการดำเนินงานของโรงเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายโดยภาพรวมพัฒนามากกว่าการทดลองใช้ระบบในรอบที่ 1
4. ผลการประเมินและปรับปรุงระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในรอบที่ 1 และ 2 แล้วดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่งผลในด้านต่างๆ ดังนี้ 1) ด้านการใช้ประโยชน์ของระบบ ตอบสนองต่อความต้องการใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งทำให้เกิดการดูแล ช่วยเหลือ ส่งเสริม พัฒนา ป้องกัน และแก้ไขปัญหานักเรียน 2) ได้รูปแบบกระบวนการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ภายใต้การมีส่วนร่วมของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถนำไปพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ แล้วรายงานผลการดูแลช่วยเหลือนักเรียนไปยังผู้เกี่ยวข้อง เพื่อนำผลไปใช้ประโยชน์ 3)ด้านความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน ครูที่ปรึกษาและผู้เกี่ยวข้องสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงเป็นที่ยอมรับของผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน 4) ผลการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความคุ้มค่า 5)ด้านความเหมาะสม สอดคล้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน โดยอาศัยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม คำนึงถึงประโยชน์ ของนักเรียนเป็นหลัก ดำเนินการตามระบบฯ ด้วยความรับผิดชอบและมีจรรยาบรรณ 6)ด้านความถูกต้องน่าเชื่อถือ สอดคล้องกับความสำคัญและจำเป็นของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 7)กระบวนการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน แสดงด้วยแผนภาพที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย กำหนดตัวชี้วัดและเครื่องมือที่ใช้สอดคล้องกับกระบวนการดำเนินงานของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 8)เครื่องมือที่ใช้ในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ถูกต้องหลากหลาย และครบถ้วน 9)มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ไว้อย่างชัดเจน 10)ด้านผลที่เกิดขึ้นกับผู้เกี่ยวข้อง ด้านความพึงพอใจ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงาน ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียน ประเมินผู้เรียนในทิศทางเดียวกันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นทั้งด้านนักเรียน ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครองและชุมชน ด้านการดูแลนักเรียน นักเรียนได้รู้จักตนเอง สามารถปรับตัวมีทักษะทางสังคมและอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข ครูผู้สอน นำผลการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผู้บริหารโรงเรียนนำข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนไปใช้ ในการกำหนดแนวทางในการพัฒนานักเรียน หลักสูตร และคุณภาพการจัดการศึกษา นอกจากนี้ โรงเรียนได้รับการยอมรับการสนับสนุนและการร่วมมือจากผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง