เผยแพร่ผลงานด้านบริหารจัดการชั้นเรียนยอดเยี่ยม วิชาภาษาไทย (OBEC AWARDS)
นางสาวจิรา ศรีเทพ
โรงเรียนบ้านบึงพิชัย (ทับทองอุทิศจิตโต) สพป.สงขลา เขต ๒
เรื่อง อนุรักษ์วัฒนธรรมนำบูรณาการกับเศรษฐกิจพอเพียงด้วยกลอนสี่
กรอบแนวคิดการออกแบบนวัตกรรมและการบริหารจัดการชั้นเรียน
- จัดกิจกรรมให้ครบถ้วนตามธรรมชาติวิชา และความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยเน้นให้ฝึกทักษะและกระบวนการคิด
กรอบแนวคิดนวัตกรรมที่ว่า อนุรักษ์วัฒนธรรมนำบูรณาการกับเศรษฐกิจพอเพียงด้วยกลอนสี่ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โดยจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระวิชาภาษาไทย ที่มุ่งเป้าหมายด้วย ๔ ขั้นตอน ดังนี้ คือ ๑. อ่านออกเขียนได้ ๒. รู้ง่ายหลักไวยากรณ์ ๓. มุ่งสอนให้เข้าใจตามเจตนารมณ์กลอนสี่ ๔. ศิษย์มีความตระหนักและเห็นคุณค่าของเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการฝึกทักษะการคิด ดังนี้
การอ่านออกเขียนได้ สร้างทักษะการคิดแก้ปัญหาผ่านกิจกรรมการวิจัยเกี่ยวกับการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด โดยใช้แบบฝึก เพื่อวัดความเข้าใจในบทเรียน กล่าวคือ
- ขั้นนำ ครูอาจใช้คำถาม หรือกิจกรรม เพื่อกระตุ้นความสนใจก่อนเข้าสู่บทเรียน
- ขั้นสอน เนื้อหาจากบทเรียน และให้ผู้เรียนทำกิจกรรมที่หลากหลายร่วมกัน รวมถึงการใช้สื่อดิจิทัลในระหว่างการสอน จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น
- ขั้นสรุป ครูและผู้เรียนร่วมกันสรุปเนื้อหา และชวนให้ผู้เรียนทำกิจกรรมร่วมกัน
- ขั้นประเมิน ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบ จากการทำแบบทดสอบหลังเรียน
รู้ง่ายหลักไวยากรณ์ เมื่อผู้เรียนเรียนรู้เรื่องคำคล้องจองในวิชาภาษาไทย เริ่มต้นโดยการฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำ และเรื่องสั้นได้อย่างชัดเจน สามารถบอกลักษณะคำคล้องจองได้ถูกต้อง และแต่งคำคล้องจองง่าย ๆ ได้ด้วยตัวเอง
มุ่งสอนให้เข้าใจตามเจตนารมณ์ของกลอนสี่ ความคาดหวังบวกกับตั้งใจของครูเมื่อสอนการแต่งกลอนก็พยายามจะให้นักเรียนได้แสดงความรู้ความสามารถออกมาให้มากที่สุด พยายามทุกอย่างที่จะยัดเยียดกฏกติกา ระเบียบทั้งหลายให้กับเด็ก โดยลืมความแตกต่างระหว่างบุคคล การฝึกแต่งกลอน ฝึกแต่งบทเดียวก็พอ แต่ให้คม ให้ไพเราะ ฝึกบ่อยๆ นักเรียนก็จะแต่งกลอนได้ไพเราะ ถ้าเด็กแต่งให้เชี่ยวเพียงหนึ่งบท โดยเข้มงวดตั้งแต่ระดับวรรคกันเลย วรรคหนึ่งต้องพลิ้วก่อนไม่พลิ้วไม่ผ่านไปวรรคสอง วรรคสองต้องพลิ้วจึงไปวรรคสาม และวรรคสี่ตามลำดับ
ศิษย์มีความตระหนักและเห็นคุณค่าของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี สติ ปัญญา และความเพียร ซึ่งจะนำไปสู่ ความสุข ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านบึงพิชัย (ทับทองอุทิศจิตโต) ได้เรียนรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียงจากการเรียนวิชาภาษาไทย เนื่องด้วยโรงเรียนกับวัดเกาะวัดอยู่ในชุมชนเดียวกัน เมื่อนำนักเรียนเข้าไปยังศาสนสถานทุกครั้งที่มีกิจกรรมจะช่วยกันกวาดลานวัด ทำความสะอาดห้องน้ำ มาทำความดีให้กับชุมชนที่วัดเกาะวัด นักเรียนเห็นเศษเทียนในวัดมีมากมายจึงมีความคิดริเริ่มที่จะนำเศษเทียนเหล่านั้นมาหลอมรวมกันและใช้สีจากธรรมชาติ ต้นใบเตย สีจากขมิ้น สีของดอกกุหลาบ ดอกกระเจี๊ยบมาประดิษฐ์เป็นสื่อที่เรียนในวิชาภาษาไทยเรื่องของการแต่งกลอนสี่ แล้วอยากนำไปถวายวัดเมื่อเสร็จกิจกรรม นักเรียนมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือชุมชนของตนเอง นำป้ายไม้เก่า ๆ มาบูรณาการโดยไม้ที่ได้มาเป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้ได้มาจากการสนับสนุนของผู้ปกครองเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นอย่างดีและยังเป็นสื่อการส่งต่อให้กับผู้เรียนชั้นอื่น ๆ ได้อีกด้วยในเวลาพักกลางวัน นักเรียนที่อยากฝึกอ่านฝึกเขียนมาอ่านป้ายได้สาระตามบริเวณแหล่งเรียนรู้ใต้ต้นไม้ทำให้ผู้เรียนอยากอ่านออกเสียงให้พี่ ๆ ฟัง อีกทั้งยังต่อยอดการประดิษฐ์ป้ายจากสื่อกระดาษลังเป็นป้ายบ้านเลขที่ของนักเรียนเอง ผู้ปกครองและชุมชนให้การยอมรับและชมเชยในการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่นำบูรณาการกับเศรษฐกิจพอเพียงได้ดีอีกด้วย เผยแพร่สู่ชุมชน และลงในเพจ ภาษาไทยง่ายเหลือเชื่อ
ไม่น่าเบื่อ by ครูศรี
ก่อให้เกิดสโลแกน นักเรียนมีความสุข สนุกกับการเรียนผ่านการใช้กิจกรรม ซึ่งกรอบแนวคิดนี้ได้นำมาสังเคราะห์ และบูรณาการนำไปใช้ได้อย่างสมเหตุสมผล
การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยมิได้มุ่งเพียงการอ่านออกเขียนได้แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เน้นที่ผลสัมฤทธิ์ของทักษะความเข้าใจภาษา คือการฟังและการอ่าน ทักษะการใช้ภาษาคือการพูดและการเขียน จนสามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อความคิด ความเข้าใจ การหาเหตุผล แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
ภาพความสำเร็จ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาเมื่อเรียนรู้เรื่อง กลอนสี่สามารถนำบูรณาการเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงโดยการสาธิตและนำสู่การแต่งกลอนสี่ โดยการระดมสมองช่วยกันคิดในกลุ่ม เกมการแข่งขันให้รางวัลในการแต่งกลอน จนทำให้ผู้เรียนอ่าน เขียนคำได้อย่างคล่องแคล่วมากขึ้น รู้หลักไวยากรณ์ เข้าใจธรรมชาติของการกลอนสี่ คิดริเริ่ม สร้างสรรค์เป็นบทกลอนได้ในหลายกลุ่มสาระ เช่น แต่งกลอนวันมาฆบูชา
ภาพความสำเร็จ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เรียนรู้เรื่องการแต่งกลอนสี่จากการดูสื่อเทคโนโลยี ฝึกการทำ Tiktok เพื่อร่วมนำเสนอกลอนสี่สุภาพ ใช้ภาพเป็นสื่อ ใช้บัตรคำที่เหมาะสมกับเนื้อหา ประดิษฐ์บ้านเลขที่จากของเหลือใช้ แต่งกลอนสี่จากงานที่ทำ เด็ก ๆ คิดริเริ่มเก่งขึ้นประยุกต์ใช้ พัฒนา ต่อยอด มีความหลากหลาย