บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมและสนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน
วัดราษฎร์สมานฉันท์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการส่งเสริมและสนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดราษฎร์สมานฉันท์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมและสนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน
วัดราษฎร์สมานฉันท์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการส่งเสริมและสนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดราษฎร์สมานฉันท์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 และ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมและสนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดราษฎร์สมานฉันท์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ครั้งนี้ คณะครู 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 57 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 57 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS for Window
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมและสนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน
วัดราษฎร์สมานฉันท์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 สรุปได้ดังนี้
1. ด้านบริบทของโครงการ
1.1 ความคิดเห็นของคณะครู ต่อผลการดำเนินการด้านบริบทของโครงการ อยู่ในระดับมาก ( =4.35) พบว่า โครงการส่งเสริมและสนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ( =4.50) โครงการส่งเสริมและสนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีวัตถุประสงค์ชัดเจน ( =4.50) และโครงการส่งเสริมและสนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เกิดจากความต้องการของบุคลากร ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน ( =4.50) เท่ากัน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ โครงการส่งเสริมและสนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 ( =4.00) และวัตถุประสงค์ของโครงการส่งเสริมและสนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สามารถนำไปปฏิบัติได้( =4.00) เท่ากัน 1.2 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.45) พบว่า โครงการส่งเสริมและสนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สอดคล้องกับนโยบายของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( =4.66) และโครงการส่งเสริมและสนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชนและสังคม ( =4.66)เท่ากัน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการส่งเสริมและสนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สามารถนำไปปฏิบัติได้ ( =4.11) ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
2. ด้านปัจจัยนำเข้า จากความคิดเห็นของคณะครู มีความคิดเห็นต่อผลการดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.20) พบว่า โรงเรียนมีความรู้ และประสบการณ์ ในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
( =4.67) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ สื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความน่าสนใจ( =3.83) ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
3. ด้านกระบวนการดำเนินงาน จากความคิดเห็นของคณะครู มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
( =4.08) พบว่า มีการแจ้งแผนการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมและสนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ( =4.50) และมีการประชุมชี้แจ้งให้ผู้บริหารสถานศึกษา และครู ให้ทราบเกี่ยวกับโครงการส่งเสริมและสนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
( =4.50) เท่ากัน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ มีคำสั่งแต่งตั้งการปฏิบัติงานตามโครงการส่งเสริมและสนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่เหมาะสม ( =3.83) และมีการให้คำแนะนำ และช่วยเหลือระหว่างการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมและสนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ( =3.83) เท่ากัน ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
4. ด้านผลผลิต
4.1 ความคิดเห็นของคณะครู มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.41) พบว่า สถานศึกษามีการวิเคราะห์ข้อมูลของนักเรียนที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล ( =4.75) และการป้องกันและแก้ไขปัญหาสอดคล้องกับลักษณะสภาพปัญหาของนักเรียน ( =4.75) เท่ากัน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ สถานศึกษามีการช่วยเหลือดูแลนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหาอย่างใกล้ชิด ( =4.00) ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
4.2 ความคิดเห็นของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.36) พบว่า สถานศึกษามีการวิเคราะห์ข้อมูลของนักเรียนที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล
( =4.67) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ สถานศึกษาส่งเสริมให้นักเรียนสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ ( =3.78) ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
4.3 ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.22) พบว่า นักเรียนที่ส่งต่อได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้องและรวดเร็ว ( =4.61) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานักเรียนตามกลุ่มนักเรียนที่ คัดกรอง ( =3.89) ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้