บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมประกอบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้และพัฒนา (5Es+D) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายวิชา ส 21102 สังคมศึกษา (2) พัฒนาชุดกิจกรรมประกอบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้และพัฒนา (5Es+D) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายวิชา ส 21102 สังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้และพัฒนา (5Es+D) เรื่อง ภัยพิบัติธรรมชาติ ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายวิชา ส 21102 สังคมศึกษา (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้และพัฒนา (5Es+D) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายวิชา ส 21102 สังคมศึกษา และ (5) ขยายผลการพัฒนาชุดกิจกรรมประกอบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้และพัฒนา (5Es+D) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายวิชา ส 21102 สังคมศึกษา
การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การวิจัย 1 (Research: R1) เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน (2) การพัฒนา 1 (Development: D1) เป็นการออกแบบและพัฒนาชุดกิจกรรมประกอบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้และพัฒนา (5Es+D) (3) การวิจัย 2 (Research: R2) เป็นการทดลองใช้ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้และพัฒนา (5Es+D) และ (4) การพัฒนา 2 (Development: D2) เป็นการประเมินผลและขยายผลการใช้ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้และพัฒนา (5Es+D) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 โรงเรียนเบ็ตตี้ ดูเมน 2 ช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) และกลุ่มขยายผลเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1/2 โรงเรียนเบ็ตตี้ดูเมน 2 ช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้และพัฒนา (5Es+D) เรื่อง ภัยพิบัติธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายวิชา ส 21102 สังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 ชุด และแผนการ
จัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมประกอบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้และพัฒนา (5Es+D) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 8 แผน (2) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent Sample และแบบ Independent Sample
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
1.1 สภาพการจัดการเรียนรู้ รายวิชา ส 21102 สังคมศึกษา ของครูผู้สอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.21, = 0.74) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า สอนโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( = 3.80, = 0.87) รองลงมาคือ ใช้กระบวนการกลุ่มและปฏิสัมพันธ์ในการเรียนรู้ ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( = 3.60, = 0.73) และใช้สื่อการเรียนที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม ปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3. 30, = 0.64) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ จัดการเรียนรู้ให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและการเรียนรู้ ปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.90, = 0.70)
1.2 สภาพการจัดการเรียนรู้ รายวิชา ส 21102 สังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เป็นปัญหาของครูโดยรวมและมีปัญหาในระดับปานกลาง ( = 3.22, = 0.71) สำหรับปัญหา 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) ครูขาดทักษะในการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ( = 3.50, = 0.81) (2) ครูขาดทักษะในการสอนให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ ( = 3.35, = 0.85) และ (3) ครูขาดการพัฒนาเทคนิคหรือวิธีการสอนแบบใหม่ ๆ ( = 3.10, = 0.62) สำหรับปัญหาที่เกิดจากนักเรียนโดยรวมมีปัญหาในระดับปานกลาง ( = 3.21, = 0.75) โดยมีปัญหา 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) นักเรียนมุ่งความรู้มากกว่าการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ( = 3.55, = 0.74) (2) นักเรียนขาดทักษะในการสังเคราะห์และสร้างองค์ความรู้ ( = 3.40, = 0.80) และ (3) นักเรียนชอบการได้รับคำตอบมากกว่าการสร้างองค์ความรู้ ( = 3.15, = 0.79)
2. ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมประกอบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้และพัฒนา (5Es+D)
2.1 ผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยการประเมินความเหมาะสมของ ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้และพัฒนา (5Es+D) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่า ค่าเฉลี่ย 4.57 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 อยู่ในเกณฑ์มีความเหมาะสมมากที่สุด
2.2 ผลการทดสอบประสิทธิภาพโดยการทดลองแบบสนาม (1:100) พบว่าชุดกิจกรรมประกอบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้และพัฒนา (5Es+D) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากการทดสอบแบบเดี่ยว มีประสิทธิภาพ (E1/E2) 82.96/82.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้และพัฒนา (5Es+D) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า
3.1 ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้และพัฒนา (5Es+D) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายวิชา ส 21102 สังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.58/84.42 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
3.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้และพัฒนา (5Es+D) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้และพัฒนา (5Es+D) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.29 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.61
4. ผลการขยายผลการใช้ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้และพัฒนา (5Es+D) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่า
4.1 ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้และพัฒนา (5Es+D) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายวิชา ส 21102 สังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.35/84.30 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
4.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้และพัฒนา (5Es+D) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้และพัฒนา (5Es+D) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.28 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.64
4.4 นักเรียนกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มขยายผลมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้ ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้และพัฒนา (5Es+D) เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ