ชื่อเรื่องการประเมิน : การประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กรณีศึกษาโรงเรียนวัดนมโท (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338)
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท
ชื่อผู้ประเมิน : นิติ นิยมศิลป์ชัย
ปีที่ประเมิน : พ.ศ. 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาโรงเรียนวัดนมโท (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท มีวัตถุประสงค์ของการประเมินดังนี้ เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation)ของโครงการเพื่อประเมินปัจจัยการดำเนินงาน (Input Evaluation) ของโครงการ เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการ เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 340 คน ประกอบด้วยคณะครู จำนวน 13 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดนมโท (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338) จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 154 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 154 คน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) จำนวน 12 คนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 134 คน ประกอบด้วย 1) คณะครู จำนวน 13 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดนมโฑ (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338) จำนวน 7 คน ได้มาโดยการเทียบตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970 : 608) 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 51 คน 3) ผู้ปกครองนักเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 51 คน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) จำนวน 12 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selecting) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการประกอบด้วย แบบสอบถามเพื่อประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation)ของโครงการ แบบสอบถามเพื่อประเมินปัจจัยการดำเนินงาน (Input Evaluation) ของโครงการแบบสอบถามเพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงาน ( Process Evaluation) ของโครงการแบบสอบถามเพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) และแบบสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้าง (Semi - Structure Inteview) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการประเมินโดยสรุป ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาโรงเรียนวัดนมโฑ (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท เกี่ยวกับการประเมินความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเป็นไป-ได้ของโครงการและวัตถุประสงค์ของโครงการพบว่า ในภาพรวม มีความต้องการจำเป็นของโครงการความเป็นไปได้ของโครงการและวัตถุประสงค์ของโครงการ อยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับการสัมภาษณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best Practice) ที่สรุปว่า สภาพสังคม ปัญหาและความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ในด้านครอบครัวที่ไม่มีเวลา ดูแลเอาใจใส่บุตรหลานมากนัก ทำให้บุตรหลานที่เป็นนักเรียนขาดความรู้ ความเข้าใจ ไม่มีจิตสาธารณะ มีค่านิยมแบบผิดๆ วัตถุนิยมสูงรับวัฒนธรรมต่างชาติมามาก โรงเรียนจึงควรนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการพัฒนา ที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองของนักเรียนในระดับต่างๆ อย่างเป็นขั้นตอนและถ้าทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือกัน ชุมชนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายชุมชนที่แข็งแรง ให้ความรู้ในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การดำเนินโครงการ เมื่อทุกภาคส่วนร่วมมือกันความเป็นไปได้ของโครงการที่จะทำให้การดำเนินงานสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ ส่วนวัตถุประสงค์ของโครงการ พบว่า โครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาโรงเรียนวัดนมโท (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338) ได้มีความสอดคล้องกับกับความต้องการของโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยการดำเนินงาน (Input Evaluation) ของโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาโรงเรียนวัดนมโท (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ ความเพียงพอของปัจจัยการดำเนินงานของโครงการอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาโรงเยนวัดนมโท (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท พบว่า มีการปฏิบัติตามการดำเนินงานของโครงการอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการสรุปได้ ดังนี้
4.1 ผลการประเมินการดำเนินวิถีชีวิตที่มีคุณภาพของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านจิตใจ/วัฒนธรรม/ศาสนา 2) ด้านสังคม 3) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4) ด้านเทคโนโลยี และ 5) ด้านเศรษฐกิจ พบว่า ในภาพรวมอยู่การปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ผลการดำเนินการ การเป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้หรือแนวทางการปฏิบัติของครูนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนของโรงเรียน ในการดำเนินการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ในภาพรวมอยู่การปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ปีการศึกษา 2564 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 มีคะแนนรวมเฉลี่ย 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เท่ากับร้อยละ 78.86 และเมื่อพิจารณารายกลุ่มสาระการเรียนรู้พบว่า ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีคะแนนรวมเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนด
4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาโรงเรียนวัดนมโท (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท พบว่า ในภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
4.5 ผลที่แสดงถึงความสำเร็จของโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกรณีศึกษาโรงเรียนวัดนมโท (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท จากเอกสารหรือเกียรติบัตรและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พบว่า จำนวนรางวัลที่นักเรียน ครูและโรงเรียนได้รับตั้งแต่ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขึ้นไป ในปีการศึกษา 2564 ได้รับรางวัล จำนวน 17 รายการ เป็นไปตามเกณฑ์ และผ่านเกณฑ์ตามกำหนดบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ