ชื่อรายงาน รายงานการพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียน
วัดบ้านหนองบัวศาลา ด้วยแนวคิดแบบไคเซ็น
ผู้รายงาน นายชัยยศ ปัญญาสงค์
หน่วยงาน โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา ด้วยแนวคิดแบบไคเซ็น เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา ด้วยแนวคิดแบบไคเซ็น และเพื่อประเมินผลรูปแบบการ ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา ด้วยแนวคิดแบบไคเซ็น ในประเด็นความถูกต้อง เหมาะสม และเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปปฏิบัติ รวมถึงความพึงพอใจของผู้ใช้รูปแบบ โดยดำเนินการเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา ระยะที่ 2 การพัฒนาและตรวจสอบรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา ด้วยแนวคิดแบบไคเซ็น ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา ด้วยแนวคิดแบบไคเซ็น ในสถานการณ์จริง ระยะที่ 4 ผลการประเมินการใช้รูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา ด้วยแนวคิดแบบไคเซ็น ผลการศึกษาพบว่า
1. การพัฒนารูปแบบ ผู้รายงานได้พัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา ด้วยแนวคิดแบบไคเซ็น โดยดำเนินการศึกษาข้อมูล สภาพปัจจุบัน ปัญหาและ ความคิดเห็น เกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา จากการ สัมภาษณ์ผู้บริหาร คณะครูและบุคคลที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษา พบว่า โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา มีการดำเนินการตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา แต่ยังมีปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ งานดังกล่าว และจากการระดมความคิดร่วมกันเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงงานแบบ ECRS ทำให้ได้ประเด็นองค์ประกอบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อการจัดทำร่างรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา ด้วยแนวคิดแบบไคเซ็น ซึ่งประกอบด้วย 1) การดำเนินการประกันคุณภาพภายในระดับโรงเรียน 2) การดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ระดับห้องเรียน 3) คุณภาพผู้เรียน หลังจากได้ร่างรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา ตามแนวคิดแบบไคเซ็น ซึ่งเป็นวิธีการปรับปรุงงานที่ได้จึงดำเนินการตรวจสอบวิธีการปรับปรุงงานนั้น โดยการใช้คำถาม 5W 1H เพื่อวิเคราะห์หาเหตุผลในการเลือกแนวทาง การปรับปรุงงานนั้น โดยการระดมความคิดและอภิปรายผลและจัดทำรายละเอียดรูปแบบฉบับร่าง การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา ด้วยแนวคิดแบบไคเซ็น ซึ่งประกอบด้วย 1) การดำเนินการประกันคุณภาพภายในระดับโรงเรียน 6 ขั้นตอน 32 กิจกรรม 2) การดำเนินการประกันคุณภาพภายในระดับห้องเรียน 5 ประเด็นหลัก 11 ประเด็นย่อย 3) คุณภาพผู้เรียน 2 ด้าน 20 ประเด็น จากนั้นนำไปตรวจสอบเบื้องต้น โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) จำนวน 2 รอบ พบว่า รูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา ด้วยแนวคิดแบบไคเซ็น ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มีค่ามัธยฐานมากกว่า 3.5 ทุกข้อ และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์น้อยกว่า 1.5 ทุกข้อ แสดงว่าผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นต่อรายละเอียด ด้านองค์ประกอบรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา ด้วยแนวคิดแบบไคเซ็น ในระดับมากและมากที่สุดอย่างเป็นเอกฉันท์ และผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา พบว่ารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา ด้วยแนวคิดแบบไคเซ็น ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มีค่าดัชนีความเที่ยงตรงเนื้อหาเป็นรายข้อ I-CVI ไม่ต่ำกว่า .85 ทุกข้อและดัชนีความเที่ยงตรงตามเนื้อหาทั้งฉบับ S-CVI เท่ากับ 1.0
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา มีการดำเนินการใน 3 ระดับ คือ
2.1 การดำเนินการประกันคุณภาพภายในระดับโรงเรียน ดำเนินการใน 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สำรวจผลการดำเนินงาน จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ SAR ของปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา พบเรื่องที่ต้องปรับปรุงพัฒนา เรื่องที่ต้องคงสภาพ เรื่องที่ต้องต่อยอด และเรื่องที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติม 2) ประสานเตรียมการดำเนินการกำหนดมาตรฐานและประเด็นพิจารณาของสถานศึกษา รวมถึงกำหนดอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ของสถานศึกษา และกำหนดกรอบมาตรฐานการประเมิน เกณฑ์การประเมิน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการให้สอดคล้องมาตรฐานและการประเมิน พร้อมทั้งประกาศใช้มาตรฐานการศึกษาและประกาศกำหนดค่าเป้าหมายตามมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษาให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้รับทราบ 3) วางแผนและดำเนินงานในการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา ได้ดำเนินการวิเคราะห์ SWOT กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์และโครงการ โดยโครงการของโรงเรียน มี 11 โครงการ 86 กิจกรรม ที่ครอบคลุมทุกงานในโรงเรียน 4) ติดตามตรวจสอบเพื่อพัฒนา เป็นการนิเทศติดตามตรวจสอบการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ กิจกรรมโดยดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 5) สะท้อนคุณภาพเพื่อปรับปรุง เป็นการดำเนินการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563 ที่มีผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นฉันทามติ จากคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา คือ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน อยู่ในระดับดีเลิศ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับดีเลิศ 6) ประเมินตนเองและประเมินรูปแบบ เป็นการจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา จากผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ได้บทสรุปสำหรับผู้บริหารว่า มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับคุณภาพดีเลิศ โดยมีหลักฐานในการสนับสนุนข้อมูลดังกล่าวและมีแผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น
2.2 การดำเนินการประกันคุณภาพภายในระดับห้องเรียน ดำเนินการ 5 ประเด็น ที่เป็น การดำเนินการของครูผู้สอนในการประกันคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของตนเองในห้องเรียน ได้แก่ 1) บริหารจัดการห้องเรียน 2) เพิ่มศักยภาพความเป็นครู 3) จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 4) วัดผล ประเมินผลอย่างหลากหลาย 5) พัฒนาตนเองสู่ครูมืออาชีพ ซึ่งมีผลการประเมินคุณภาพภายในระดับห้องเรียน โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา อยู่ในระดับ ดีเยี่ยม จำนวน 1 ห้องเรียน ระดับ ดีมาก จำนวน 2 ห้องเรียน และระดับ ดี จำนวน 1 ห้องเรียน
2.3 คุณภาพผู้เรียน ผู้เรียนที่เกิดจากการประกันคุณภาพภายในระดับโรงเรียนและระดับห้องเรียน โดยมีการประเมินคุณภาพผู้เรียนใน 2 ด้าน 1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน มีค่าฐานนิยม (Mode) ระดับดีเลิศ และด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มีค่าฐานนิยม (Mode) ระดับยอดเยี่ยม
และผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาก่อนและหลังการ ทดลองใช้รูปแบบ พบว่าผลการประเมินคุณภาพภายในหลังการทดลองใช้รูปแบบ มีผลการประเมินคุณภาพภายในที่สูงขึ้นทุกประเด็นพิจารณาและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาของโรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา มีความพึงพอใจในระดับมาก
3. ผลการประเมินรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา ด้วยแนวคิดแบบไคเซ็น พบว่า ทั้งผู้บริหาร คณะครู ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา ด้วยแนวคิดแบบไคเซ็น ที่พัฒนาขึ้นว่าเป็นรูปแบบที่มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ในการปฏิบัติและผู้ใช้รูปแบบมีความพึงใจต่อรูปแบบ รวมทั้งจะเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาได้และผู้รายงานได้นำเสนอรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา ในรูป Model มีชื่อว่า 6 5 2 Model