การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการการนิเทศในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน โรงเรียนบ้านโคกกลางน้ำจั้นจอมศรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านโคกกลางน้ำจั้นจอมศรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านโคกกลางน้ำจั้นจอมศรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 4) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของครู ที่มีต่อผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านโคกกลางน้ำจั้นจอมศรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะ ที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน ของโรงเรียนบ้านโคกกลางน้ำจั้นจอมศรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านโคกกลางน้ำจั้นจอมศรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 ระยะที่ 3 การวิจัยระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านโคกกลางน้ำจั้นจอมศรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 1 คือ 1) ครูโรงเรียนบ้านโคกกลางน้ำจั้นจอมศรี ทั้งหมด 5 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งหมด 7 คน 3) ผู้ปกครอง จำนวน 6 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง จากผู้ปกครอง ชั้นละ 1 คน 4) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยระยะที่ 2 ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการนิเทศภายในในครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ จำนวน 7 คน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยระยะที่ 3 คือ 1) ครูโรงเรียนบ้านโคกกลางน้ำจั้นจอมศรีด ทั้งหมด 5 คน 2) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบัน ความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน โรงเรียนบ้านโคกกลางน้ำจั้นจอมศรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 พบว่า โดยรวมมีการดำเนินการ อยู่ในระดับปานกลาง (µ=3.25) เมื่อพิจารณารายด้าน เรียงตามระดับการปฏิบัติจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก พบว่า ด้านศักยภาพของบุคคลการแบ่งปันวิธีการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (µ=3.40) รองลงมา คือ ด้านศักยภาพขององค์กรการสนับสนุน ส่งเสริมด้านภาวะผู้นำร่วม (µ=3.36) และด้านศักยภาพขององค์กร โครงสร้างที่สนับสนุน (µ=3.32) ตามลำดับ และจากผลการศึกษาสภาพปัจจุบันแสดงให้เห็นว่า ด้านที่ครูมีการปฏิบัติในระดับที่น้อยที่สุด คือ ศักยภาพของบุคคล การเรียนรูร่วมกันและร่วมมือร่วมพลัง และด้านศักยภาพขององค์กร ปัจจัยสนับสนุนทางสังคม (µ=3.12) ตามลำดับ
2. สภาพความต้องการการนิเทศการสอน ที่ส่งเสริมความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านโคกกลางน้ำจั้นจอมศรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 พบว่า โดยรวมมีความต้องการ อยู่ในระดับมากที่สุด (µ=4.75) เมื่อพิจารณารายด้าน เรียงตามระดับความต้องการจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก พบว่า ด้านศักยภาพของบุคคล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (µ=5.00) รองลงมา คือ ศักยภาพระหว่างบุคคล (µ=4.65) และด้านศักยภาพขององค์กร (µ=4.60) ตามลำดับ
3. ผลการสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู จำนวน 5 คน ที่ได้จากการสังเกตไม่ให้รู้ตัว โดยไม่มีการแจ้งกำหนดการล่วงหน้า ทั้งนี้ เพื่อให้เห็นสภาพจริงและความเป็นธรรมชาติที่สุด ผู้สังเกตได้เห็นสภาพจริง ได้ข้อมูลสภาพปัจจุบัน ได้เห็นปัญหาในการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน เพื่อให้สามารถนำไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน ซึ่งถือเป็นบทบาทหน้าที่โดยตรงของผู้บริหารที่จะต้องดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม และเห็นได้ว่า ผู้บริหารจะต้องกำกับ ติดตาม อย่างต่อเนื่อง และจริงจัง เพื่อให้ครูปรับเปลี่ยนวิธีการ โดยยึดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนต่อไป
4. ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง ถึงสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนา พบว่า เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ต้องการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้สามารถอ่านออก เขียนได้ คิดเป็น ทำเป็น สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข นั่นคือเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการอ่านออก เขียนได้ ผู้ปกครอง ไม่หวังอะไรมาก ขอเพียงแค่ลูกอ่านหนังสือออก เขียนได้ คิดเลขอย่างง่ายได้ และที่สำคัญ เมื่อเด็ก ๆ ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเต็มที่ ทั้งจากครูผู้สอนและผู้บริหาร นักเรียนก็จะมีความพร้อมในการสอบแข่งขันในระดับต่าง ๆ หรือแล้วแต่เทคนิค วิธีการ ของผู้บริหารกับคณะครู จะดำเนินการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
5. ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านโคกกลางน้ำจั้นจอมศรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการ ขั้นตอนที่ 2 วางเป้าหมายร่วมกัน ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนการนิเทศ ขั้นตอนที่ 4 การดำเนินการนิเทศ
และขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการนิเทศร่วมกัน
6. ผลที่เกิดจากการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านโคกกลางน้ำจั้นจอมศรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 ได้แก่ คุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน ประกอบด้วย ด้านครูผู้สอน 1) ครู มีแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเชิงรุก 2) ครูทุกคนสามารถจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเชิงรุก 2.1) ครู ทุกคนจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (วิจัยในชั้นเรียน) 2.2) ครูทุกคนมีการผลิตสื่อส่งเสริมการอ่าน ด้านผู้เรียน 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระหลัก 2) ความสามารถด้านการอ่าน (RT) 3) ผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) กลุ่มสาระภาษาไทย พัฒนาขึ้น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 ดังนี้
6.1 ผลการเปรียบเทียบผลคะแนนเฉลี่ยร้อยละจากการประเมินผลระดับดับสถานศึกษา 5 กลุ่มสาระหลักชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านโคกกลางน้ำจั้นจอมศรี ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 โดยรวมค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ +11.90 และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มสาระ เรียงตามลำดับผลการพัฒนาจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก พบว่า กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงสุด +13.80 รองลงมาคือ กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ +12.39 และกลุ่มสาระภาษาไทย +11.83 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระภาษาไทย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอ่านออก เขียนได้ และเป็นพื้นฐานในการเรียนในกลุ่มสาระอื่น ๆ นั้น ส่งผลให้การเรียนรู้กลุ่มสาระต่าง ๆ พัฒนาสูงขึ้นตามมาด้วย
6.2 ผลการเปรียบเทียบการประเมินความสามารถด้านการอ่าน ของผู้เรียน (RT) ของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ยรวม 2 ด้าน เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ +8.51 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการอ่านออกเสียง มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ร้อยละ +6.83 และด้านการอ่านรู้เรื่อง มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ +10.20 ถือได้ว่า ผลสัมฤทธิ์กลุ่มสาระภาษาไทย ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้น
6.3 ผลการเปรียบเทียบผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) กลุ่มสาระภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโคกกลางน้ำจั้นจอมศรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.22