ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวกาญจนา อรุณไพร
รองผู้อำนวยการโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง
ปีการศึกษา : ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน 1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นที่ใช้ในการดำเนินโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง โดยใช้รูปแบบการประเมินซิป (CIPP Model) ประชากรที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย ผู้บริหารและครูโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง ในปีการศึกษา 2564 จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน 4 คน ครู จำนวน 120 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน คือนักเรียนที่ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจของโครงการ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 6 จำนวน 327 คน โดยใช้ตารางการสุ่มตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) และการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นชั้นภูมิ (Stratified Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ การรวบรวมข้อมูล แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนดำเนินโครงการ ระยะที่ 2 การเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างดำเนินโครงการ ระยะที่ 3 การเก็บรวบรวมข้อมูลหลังเสร็จสิ้นโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการประเมินโครงการสรุปดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า ในภาพรวม ครูมีความเห็นว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เรื่องที่มีความเหมาะสมสูงสุดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ เรื่อง หลักการ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการนิเทศภายใน มีความเหมาะสมสอดคล้องกัน และสอดคล้องกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รองลงมาอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ เรื่อง การจัดโครงการนิเทศภายในสอดคล้องกับสภาพความต้องการของโรงเรียน ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกเรื่อง
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า ในภาพรวม ครูมีความเห็นว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เรื่องที่มีความเหมาะสมสูงสุดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ เรื่อง คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการนิเทศภายในกำหนดบทบาทหน้าที่มีความเหมาะสม รองลงมาอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ เรื่อง จำนวนบุคลากรที่ร่วมดำเนินการโครงการ เพียงพอต่อการดำเนินงาน ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกเรื่อง
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ในภาพรวม ครูมีความเห็นว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เรื่องที่มีความเหมาะสมสูงสุดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ เรื่อง การกำหนดประเด็นนิเทศภายในที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการของครูและบุคลากรทางการศึกษา รองลงมาอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ เรื่อง เครื่องมือการนิเทศภายในที่สามารถใช้เป็นข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาและพัฒนาการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกเรื่อง
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง
4.1 ผลสัมฤทธิ์ของโครงการนิเทศภายใน พบว่า ในภาพรวม ครูมีความเห็นว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด เรื่องที่มีคุณภาพสูงสุดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ เรื่อง ครูมีการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามขั้นตอนโดยละเอียด และผ่านการตรวจรับรองจากผู้บริหารโรงเรียน ครูวัดและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ รองลงมาอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ เรื่อง ครูใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกเรื่อง
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการนิเทศภายใน โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการนิเทศภายในอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์ การประเมินทุกเรื่อง