ันทนา ตันติวิวัฒน์(2563) การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียนโรงเรียน
บ้านบางคลี ด้วยกลยุทธ์ 5 ร่วม
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ส ารวจความต้องการจ าเป็นในการพัฒนารูปแบบการ
เสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียนโรงเรียนบ้านบางคลี ด้วยกลยุทธ์ 5 ร่วม 2) พัฒนารูปแบบการ
เสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียน และ3) ตรวจสอบผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างความรับผิดชอบ
ของนักเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน จ านวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยเป็นแบบส ารวจ
จ านวน 3 ฉบับ แบบสังเกต 1 ฉบับ และแบบสอบถาม จ านวน 4 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติบรรยาย ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย(x̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติ
ทดสอบความแตกต่าง ใช้การทดสอบที (t-Test) แบบไม่อิสระ สถิติที่ใช้หาค่าคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่
หาค่าความตรง(IOC) หาค่าความเที่ยง (α) และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน(rxy) ผลการวิจัย
พบว่า
1. ผลการส ารวจความต้องการจ าเป็นในการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรับผิดชอบของ
นักเรียนโรงเรียนบ้านบางคลี ด้วยกลยุทธ์ 5 ร่วม พบว่า ทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและคณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความต้องการให้พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรับผิดชอบอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียนโรงเรียนบ้านบางคลี
ด้วยกลยุทธ์ 5 ร่วม ปรากฏว่าในรูปแบบมีองค์ประกอบที่ส าคัญ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1
การวางแผน (ร่วมคิด) องค์ประกอบที่ 2 การบริหารจัดการ (ร่วมมือ) องค์ประกอบที่ 3 การลงมือปฏิบัติ
(ร่วมท า) องค์ประกอบที่ 4 การนิเทศ ติดตามและประเมินผล (ร่วมตรวจสอบ) และองค์ประกอบที่ 5 การ
กระตุ้น จูงใจและการเสริมแรง (ร่วมชื่นชม) ซึ่งได้รับการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไป
ได้ของโครงสร้างรูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการตรวจสอบโดยภาพรวม พบว่า ความเหมาะสมและ
ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
3. ผลการตรวจสอบการใช้รูปแบบการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียนโรงเรียนบ้าน
บางคลี ด้วยกลยุทธ์ 5 ร่วม มีดังนี้
3.1 ผลการเปรียบเทียบความรับผิดชอบของนักเรียน ด้านการแต่งกาย ด้านการเรียน
และด้านความประพฤติ ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเสริมสร้างความรับผิดชอบ พบว่า เพิ่มขึ้น
อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้ง 3 ด้าน
3.2 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด
3.3 ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อรูปแบบ พบว่า อยู่ในระดับมาก
3.4 ผลการศึกษาความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อรูปแบบ พบว่า
อยู่ในระดับมาก
3.5 ผลการศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบ พบว่า อยู่ในระดับมาก