หน่วยงาน : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต
ผู้ประเมิน : รุ่งนภา วัจนะพันธ์
ปีที่ประเมิน : 2563 - 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อประเมินผล โครงการ ค่ายเยาวชนรักษ์พงไพรฯ ประเมินเชิงระบบตามรูปแบบ CIPP Model การประเมินใน 4 ด้าน คือ 1. ด้านบริบท (Context) 2. ด้านปัจจัย(Input) 3. ด้านกระบวนการ (Process) 4. ด้านผลผลิต (Product) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ 1 คน ผู้ทรงคุณวุฒิทีปรึกษาโครงการฯ จำนวน 1 คน นักวิชาการศึกษา จำนวน 1 คน ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา จำนวน 2 คน และผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน โดยเป็นผู้เชียวชาญในการดำเนินกิจกรรมและชำนาญด้านการศึกษาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการประเมินโครงการค่ายเยาวชนรักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา และร่วมปลูกฝังการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืนอย่างเป็นระบบ ตามรูปแบบ CIPP Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครู จำนวน 118 คน และนักเรียน จำนวน 324 คน จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต วิทยากรจากภาคีเครือข่ายที่รับผิดชอบ และร่วมกิจกรรมให้ความรู้ในโครงการ ค่ายเยาวชนรักษ์พงไพรฯ
ผลการประเมิน พบว่า
ภาพรวมของโครงการ ค่ายเยาวชนรักษ์พงไพรฯ ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีระดับคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด
1. ด้านบริบทของโครงการมีความพร้อม อยู่ในระดับมาก
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการมีความพร้อมด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ
3. ด้านวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ในการดำเนินการ อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ด้านกระบวนการ มีการบริหารงานในการวางแผนและปฏิบัติการของโครงการ
อยู่ในระดับมากที่สุด
5. ด้านผลผลิต นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และพฤติกรรมการเรียนรู้ในการ อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นไปตามเป้าหมายที่หลักสูตรสถานศึกษาและเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด อยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนและผู้ปกครอง มีความพอใจในการดำเนินงานของทางโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด