ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางพัฒนี นุ่นชูคัน
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านท่าดินแดง อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการสอนเปรียบเทียบกระบวนการคิดเชิงระบบก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอน เพื่อศึกษาพฤติกรรมและพัฒนาการของนักเรียน ด้านกระบวนการคิดเชิงระบบโดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนบ้านท่าดินแดง อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำนวน 27 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน 3) แบบประเมินพฤติกรรมกระบวนการคิดเชิงระบบ 4) แบบวัดกระบวนการคิดเชิงระบบ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เกณฑ์ประสิทธิภาพ และการทดสอบ ค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ได้รูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีองค์ประกอบสอดคล้องและเหมาะสมอยู่ในชั้นมากโดยมีองค์ประกอบหลัก ดังนี้
1.1 แนวคิดของรูปแบบการสอน
1.2 รูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบสำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นั้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อยดังนี้
1.2.1 ขั้นตอนการจัดกิจกรรม โดยนำเสนอเป็น 6 ขั้น ประกอบด้วย
ขั้นที่ 1 นำเสนอสถานการณ์ ขั้นที่ 2 พัฒนาแนวทางการคิด ขั้นที่ 3 พิจารณาปัญหา ขั้นที่ 4 สนทนาแลกเปลี่ยน ขั้นที่ 5 เรียนรู้ผลงานกลุ่ม ขั้นที่ 6 สรุปร่วมกัน
1.2.2 ระบบทางสังคม
1.2.3 หลักการตอบสนอง
1.2.4 ระบบที่นำมาสนับสนุน
1.3 การนำรูปแบบการสอนไปใช้
1.4 ผลที่เกิดจากการใช้รูปแบบการสอน
2. ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนากระบวนการคิด
เชิงระบบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่ามีประสิทธิภาพ 81.01/86.11 ซึ่งสูงกว่า เกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
3. ผลการเปรียบเทียบกระบวนการคิดเชิงระบบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อน และหลังใช้รูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบ พบว่า กระบวนการคิด เชิงระบบของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างหลังใช้รูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการสอน วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ชั้น .05
4. ผลความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนากระบวน การคิดเชิงระบบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในภาพรวมนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .35