บทสรุปผู้บริหาร
เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพ
แห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA)
โรงเรียนวัดนางสาว(ถาวรราษฎร์บำรุง)
ผู้วิจัย นางสาวพรรณี ใจเพิ่ม
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2563
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research & Development)
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ผลการดำเนินการบริหาร และความต้องการรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน (OBECQA) โรงเรียนวัดนางสาว (ถาวรราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพ
แห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) โรงเรียนวัดนางสาว (ถาวรราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) โรงเรียนวัดนางสาว (ถาวรราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) โรงเรียนวัดนางสาว (ถาวรราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ฝ่ายบริหาร จำนวน 6 คน ครู บุคลากร จำนวน 29 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ไม่รวมผู้บริหารและผู้แทนครู และนักเรียนจำนวน 270 คน วิธีการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ผลการดำเนินการบริหาร และความต้องการรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพ ก่อนการพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) โรงเรียนวัดนางสาว (ถาวรราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ประกอบด้วย ผลลัพธ์ตามหมวด 7 เกณฑ์คุณภาพOBECQA ผลประเมินคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา และผลประเมินความพึงพอใจที่มีต่อผลลัพธ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบเก็บข้อมูลผลการดำเนินงานก่อนการพัฒนา แบบวิเคราะห์เอกสารต่างๆ แบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้าง แบบสอบถามผลการดำเนินงานของโรงเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนา แบบสอบถามความรู้ ความเข้าใจก่อนและหลังการใช้รูปแบบ แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบบันทึกผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตามลำดับความสำคัญและตัวแปรที่ศึกษา และการวิเคราะห์เนื้อหา เอกสาร
ผลการวิจัย พบว่า
ผลการวิเคราะห์ สภาพปัจจุบัน ปัญหา ผลการดำเนินการบริหาร และความต้องการ
รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) ของโรงเรียนวัดนางสาว(ถาวรราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร พบว่า สภาพปัจจุบัน ปัญหาการจัดการศึกษาที่ผ่านมาเป็นกระบวนการและภาระงานที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องบริหารจัดการโรงเรียนโดยมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพโรงเรียนสู่คุณภาพใน 3 ด้าน คือ 1) ด้านคุณภาพการบริหารจัดการ 2) ด้านคุณภาพครู และ 3) ด้านคุณภาพผู้เรียน จึงต้องการและมีความพร้อมในการนำหลักการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) มาเป็นส่วนร่วมในการบริหารการศึกษาในสถานศึกษา เป็นการพัฒนาต่อยอดโรงเรียนในฝันเดิม มาขับเคลื่อนการบริหารในสถานศึกษา มีการพัฒนาแผนพัฒนาการศึกษา ปี 2563-2566 กำหนดกลยุทธ์ในการบริหารจัดการเพื่อบรรลุผลสำเร็จ 7 กลยุทธ์ บูรณาการสู่แผนปฏิบัติงานประจำปีให้ครอบคลุมทุกกลุ่มงานอย่างเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง ตามภูมิสังคมของสถานศึกษาพร้อมทั้งมีการติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษกำหนดโครงสร้างเพิ่มเติมรายวิชาเพิ่มเติม ได้แก่ รายวิชาการศึกษาเพื่อเรียนรู้ (Knowledge Inquiry) ในระดับประถมศึกษาที่ 5 และรายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้(Research and Knowledge Formation)รายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ(Communication and Presentation) และกิจกรรมการนำองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม (Social Service Activity) และจัดการเรียนการสอนแบบบันได 5 ขั้นทุกระดับชั้นที่เปิดสอน ผลการศึกษาระดับผลการดำเนินการตามเกณฑ์รางวัลแห่งสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) ของโรงเรียนวัดนางสาว(ถาวรราษฎร์บำรุง) ก่อนการพัฒนา พบว่า โดยภาพรวม มีผลการดำเนินการในระดับมาก (μ = 4.20, σ = 0.54) เรียงผลการดำเนินงานจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาน้อย ดังนี้คือ หมวดที่ 6 การจัดการกระบวนการ หมวดที่ 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวดที่ 3 การมุ่งเน้นผู้เรียนและผู้มีส่วนได้เสีย หมวดที่ 4 กาวัดการวิเคราะห์และการจัดการเรียนรู้ และหมวดที่ 1 การนำองค์กร และหมวดที่ 2 การวางแผนกลยุทธ์
2. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) ของโรงเรียนวัดนางสาว(ถาวรราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร พบว่า รูปแบบที่ได้สร้างและพัฒนาขึ้น คือ RIVER MODEL มี 5 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) การปฏิบัติ /กระบวนการ 4) การวัดผลประเมินผล 5) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ มีขั้นตอนการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือขั้น R : Review การทบทวนผลการดำเนินงานและเอกสาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นำไปกำหนดแนวทางการพัฒนาต่อไป ขั้น I : Implement การปฏิบัตินำแนวทางหรือแผนที่กำหนดไว้ไปปฏิบัติ ขั้น V : Verify การสอบทานการปฏิบัติ กำกับนิเทศติดตามให้ผลสำเร็จ ขั้น E : Effect การเกิดผลลัพธ์ ตรวจสอบผลัพธ์ตามเป้าหมาย ขั้น R : Re adjust การปรับปรุงแก้ไข สรุปผลและหาจุดเด่น จุดด้อยเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขในปีต่อไป ผลการตรวจสอบรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในระดับ มาก
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) ของโรงเรียนวัดนางสาว(ถาวรราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร พบว่า ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) ของโรงเรียนวัดนางสาว(ถาวรราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จากผู้เกี่ยวข้อง พบว่าผลการประเมินความรู้ความเข้าใจในรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพ ด้วย RIVER MODEL ก่อนการทดลองใช้โดยภาพรวม มีความรู้ความเข้าใจในระดับ มาก ( X ̅ = 4.32, S.D.= 0.54) ขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ขั้น R: Re-adjust การปรับปรุงแก้ไข รองลงมาคือ ขั้น I : Implement การปฏิบัติ และขั้นที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ขั้น V : Verify การสอบทานการปฏิบัติ และผลการประเมินความรู้ความเข้าใจในรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพ ด้วย RIVER MODEL หลังการพัฒนา โดยภาพรวม มีความรู้ความเข้าใจในระดับ มากที่สุด ( X ̅ = 4.70, S.D.= 0.22) ขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ขั้น I : Implement การปฏิบัติ รองลงมาคือ R : Re adjust การปรับปรุงแก้ไข และขั้นที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ขั้น V : Verify การสอบทานการปฏิบัติ รวมทั้งผลการศึกษาระดับผลการดำเนินการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพตามเกณฑ์รางวัลแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) ของโรงเรียนวัดนางสาว(ถาวรราษฎร์บำรุง) หลังการพัฒนาด้วย RIVER MODEL โดยภาพรวม มีผลการดำเนินงานในระดับมากที่สุด (µ = 4.55, = 0.48) หมวดที่มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด 5 หมวด เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ หมวดที่ 3 การมุ่งเน้นผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวดที่ 1 การนำองค์กร หมวดที่ 6 การจัดการกระบวนการ หมวดที่ 2 การวางแผนกลยุทธ์ หมวดที่ 5 การมุ่งเน้นบุคลากร และมีการดำเนินงานระดับ มาก คือ หมวดที่ 4 การวัดการวิเคราะห์และการจัดการความรู้
ผลประเมินการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่ง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) ของโรงเรียนวัดนางสาว(ถาวรราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ส่งผลต่อคุณภาพสถานศึกษา 3 ด้าน ดังนี้
ผลลัพธ์ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พื้นฐาน (OBECQA) ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หมวด7 ผลลัพธ์ 5 ตัวชี้วัด ดังนี้
1) ผลลัพธ์ด้านหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นนักเรียน (STUDENT Focused Product and PROCESS Result) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับโรงเรียนกับระดับประเทศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 เปรียบเทียบปีการศึกษา 2563-2564 ในภาพรวมค่าเฉลี่ยผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติปีการศึกษา 2564 ทั้ง 3 ระดับ คิดเป็นร้อยละ 39.36 สูงกว่าปีการศึกษา 2563 มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 37.12 เพิ่มขึ้นเท่ากับ 2.24 และสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ เท่ากับ 2.74 บรรลุตามเป้าหมาย
2) ผู้เรียนและผู้มีส่วนได้เสียมีความพึงพอใจต่อการบริหารสถานศึกษาจนเกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพของกระบวนการ (Process EFFECTIVENESS and Efficiency) ส่งผลสำเร็จต่อผู้เรียน และผู้ปกครองนักเรียนในปีการศึกษา 2563-2564 พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 และ 4.38 สูงกว่าค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ 4 และมีแนวโน้มความพอใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ด้าน และผู้ปกครองมีความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01 และ 4.10 สูงกว่าค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ 4 และมีแนวโน้มความพอใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ด้าน เช่นกัน
3) ผลลัพธ์ด้านบุคลากร พบว่า จำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน
ปีการศึกษา 2563-2564 สอนตรงความรู้ความสามารถ ครูที่จัดทำแผนการสอน และวิจัยในชั้นเรียน คิดเป็นร้อยละ 100 ได้เข้าศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน ปฏิบัติงานวิจัย และพัฒนา ประชุม เผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบว่า ครู บุคลากรทางการศึกษาได้เข้าศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน ปฏิบัติงานวิจัย และพัฒนา ประชุม เผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 100 ทั้งสองปีการศึกษา และมีจำนวนชั่วโมงการพัฒนาเฉลี่ย 46.10 ชั่วโมง ต่อปี ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ที่ กคศ.กำหนด 20 ชั่วโมงต่อปี ได้รับการยกย่อง เชิดชูเกียรติจากหน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานเอกชน เฉลี่ยร้อยละ 70.39 ได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานวิชาชีพ มีความก้าวหน้าทางวิชาชีพสูงขึ้น
4) ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กรและการกำกับดูแลองค์กร ผู้บริหารและสถานศึกษาได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติในระยะเวลา 2 ปี ปีการศึกษา 2563 2564 ระหว่างดำเนินการพัฒนาด้วยรูปแบบที่สร้างขึ้น พบว่า ผู้บริหารได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติในระดับประเทศ จำนวน 5 รางวัล รางวัลระดับจังหวัด 1 รางวัล รางวัลระดับ รางวัลระดับเขตพื้นที่การศึกษา 1 รางวัล รวม 7 รางวัล สถานศึกษาได้รับรางวัลระดับประเทศ จำนวน 8 รางวัล รางวัลระดับจังหวัด 4 รางวัล และระดับเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 3 รางวัล รวม 15 รางวัล รวมทั้งสิ้น 22 รางวัล
5) ผลลัพธ์ด้านการเงินและการตลาด พบว่า 5.1) การบริหารงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งต่างๆ ในปีการศึกษา 2563- 2564 สถานศึกษาได้รับจากแหล่งต่างๆ ในปีการศึกษา 2564 เพิ่มขึ้นจาก
ปีการศึกษา 2563 จำนวน 514,856.00 บาท 5.2) การรับนักเรียนที่เข้าเรียน และจบการศึกษา ปีการศึกษา 2563-2564 ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2563 และวันที่ 25 มิถุนายน 2564 มีจำนวนนักเรียนที่เข้าเรียนเปรียบเทียบปีการศึกษา 2563 2564 ซึ่งอยู่ในสถานการณ์โควิด ในปีการศึกษา 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,269 คน ลดลงจากปีการศึกษา 2563 จำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 4.08 ซึ่งถือว่าลดลงไม่มาก แม้อยู่ในสถานการณ์โควิดที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ 5.3) จำนวนนักเรียนจบหลักสูตรการศึกษาเปรียบเทียบปีการศึกษา 2563 2564 พบว่า นักเรียนที่จบการศึกษาตามหลักสูตร ระดับอนุบาล 3 ประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 คิดเป็นร้อยละ 98.67 ลดลงจากปีการศึกษา 2563 ที่จบการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 100 เมื่อพิจารณาเป็นรายชั้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนที่จบหลักสูตรตามกำหนดลดลง คิดเป็นร้อยละ 97.30 และจำนวนนักเรียนศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น พบว่าจำนวนนักเรียนที่ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ในปีการศึกษา 2564 ในระดับอนุบาล 3 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 เฉลี่ยร้อยละ 97.97 ลดลงจากปีการศึกษา 2563 ซึ่งศึกษาต่อ คิดเป็นร้อยละ 100.00 เมื่อพิจารณาเป็นรายชั้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวนนักเรียนที่ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ในปีการศึกษา 2564 คิดเป็นร้อยละ 83.33 เนื่องจากสถานการณ์โควิด
4.2 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
4.2.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ผลจากการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนที่ได้ผลการเรียนระดับ 3 ขึ้นไป ปีการศึกษา 2563-2564 ในภาพรวม ผลการเรียนของนักเรียนที่ได้ระดับ 3 ขึ้นไป ในปีการศึกษา 2564 มีร้อยละของนักเรียนที่ได้ระดับ 3 ขึ้นไป ร้อยละ 79.12 มีระดับคุณภาพ ระดับดีมาก มีผลการพัฒนาเพิ่มขึ้นจาก
ปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 9.93
4.2.2) นักเรียนที่มีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ในระดับดีขึ้นไป ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 พบว่า ร้อยละของนักเรียน
ที่มีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ในระดับดีขึ้นไป ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวม มีผลการพัฒนาผ่านการประเมินคิดเป็นร้อยละ 91.68 มีคุณภาพในระดับดีเยี่ยม
4.2.3) นักเรียนมีผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ปีการศึกษา 2564 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในระดับผ่านขึ้นไป พบว่า ร้อยละของนักเรียนที่มีผลการประเมินสมรรถนะหลักตามหลักสูตร 5 ประการ ระดับผ่านขึ้นไป ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวม มีผลการพัฒนาผ่านการประเมินในระดับ ดีเลิศ คิดเป็นร้อยละ 100
4.2.4) นักเรียนที่มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ปีการศึกษา 2564 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในระดับ ดี ขึ้นไป พบว่า ในภาพรวมผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตร 8 ด้าน มีผลการพัฒนาในปีการศึกษา 2564 มีระดับคุณภาพดีเยี่ยม เฉลี่ยร้อยละ 98.36 และมีคุณภาพดีเยี่ยมทุกด้าน เมื่อเปรียบเทียบกับผลการพัฒนาในปีการศึกษา 2563 มีระดับคุณภาพดีเยี่ยมเฉลี่ยร้อยละ 98.33 และมีคุณภาพในระดับดีเยี่ยมทั้ง 8 ด้านเช่นกัน
4.3. ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครู บุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน ที่มีต่อผลการดำเนินการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพด้วย RIVER MODEL โดยภาพรวม มีความพึงพอใจในระดับมาก (X ̅ = 3.92, S.D. = 0.87) ด้านผลลัพธ์ที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ผลลัพธ์ด้านบุคลากร รองลงมาคือ ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กรและการกำกับดูแลองค์กร (และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ผลลัพธ์ด้านผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจในภาพรวม ระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ครูบุคลากร และนักเรียน มีความพึงพอใจระดับมาก ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะสำหรับโรงเรียน
1.1 การวิเคราะห์ สภาพปัจจุบัน ปัญหา ผลการดำเนินการบริหาร และความต้องการรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) ของโรงเรียนวัดนางสาว(ถาวรราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ในสถานการณ์ปกติ ควรใช้วิธิการประชุมเชิงปฏิบัติงานและผู้เข้าร่วมประชุมควรครอบคลุมทุกภาคส่วน
1.2. การสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) ของโรงเรียนวัดนางสาว(ถาวรราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ในสถานการณ์ปกติ อาจจะปรับการใช้เทคนิค
เดลฟายในการยกร่างรูปแบบ
1.3. การทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) ของโรงเรียนวัดนางสาว(ถาวรราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพ RIVER MODEL ในสถานการณ์ปกติควรใช้ผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดในโรงเรียนเป็นผู้ทดลองใช้รูปแบบ
1) ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) ของโรงเรียน
วัดนางสาว(ถาวรราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จากผู้เกี่ยวข้อง พบว่าผลการประเมินความรู้ความเข้าใจในรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพ ด้วย RIVER MODEL ก่อนการทดลองใช้ ในขั้นที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ขั้น V : Verify การสอบทานการปฏิบัติ ทั้งก่อนและหลังการทดลองใช้ ควรปรับในรายละเอียดของการอธิบาย ขั้น V : Verify การสอบทานการปฏิบัติ ในชัดเจนมากขึ้น
2) ผลการศึกษาระดับผลการดำเนินการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพ
ตามเกณฑ์รางวัลแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) ของโรงเรียนวัดนางสาว(ถาวรราษฎร์บำรุง) หลังการพัฒนาด้วย RIVER MODEL พบว่า ที่มีผลการดำเนินงานระดับมาก คือ หมวดที่ 4 การวัดการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ ควรปรับและทำความเข้าใจการดำเนินการในหมวดที่ 4 การวัดการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ในมากขึ้น
1.4 ผลประเมินการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่ง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) ของโรงเรียนวัดนางสาว(ถาวรราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ส่งผลต่อคุณภาพสถานศึกษา 3 ด้าน ดังนี้
1.4.1 ผลลัพธ์ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(OBECQA) ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน หมวด7 ผลลัพธ์ ได้แก่
1) ผลลัพธ์ด้านหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นนักเรียน (STUDENT Focused Product and PROCESS Result) ได้ศึกษาผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติของโรงเรียน ควรปรับเพิ่มผลการประเมินระดับชาติทุกการประเมิน เช่น NT RT และข้อสอบกลาง
1.2 ผลลัพธ์ด้านนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลลัพธ์ด้านผู้เรียนที่เกิดจากการบริหารสถานศึกษา จนเกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพของกระบวนการ (Process EFFECTIVENESS and Efficiency) ในส่วนของความพึงพอใจของนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (STUDENT Satisfaction) ควรเพิ่มประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการศึกษาได้
1.4.2 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครู บุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อผลการดำเนินการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพด้วย RIVER MODEL ในส่วนของผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อผลสำเร็จของการพัฒนาสถานศึกษาด้วยรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพตามเกณฑ์รางวัลแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(OBECQA) ของโรงเรียนวัดนางสาว(ถาวรราษฎร์บำรุง) หลังการพัฒนาด้วย RIVER MODEL โดยภาพรวม ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ผลลัพธ์ด้านผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนี้อาจมีผลมาจากสถานการณ์โควิด เพราะโรงเรียนต้องจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ จึงควรที่จะต้องปรับวิธีการดำเนินการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในด้านนี้ให้ชัดเจนมากขึ้น
2. ข้อเสนอแนะการประเมินครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการนำเทคนิคเดลฟายมาใช้ในกระบวนการยกร่างรูปแบบของผู้ทรงคุณวุฒิหรือในช่วงตรวจสอบความถูกต้องของผู้เชี่ยวชาญ
2.2 ควรมีการนำการตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบด้วยวิธีการอื่น ๆ นอกจาก การตรวจสอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ