การประเมินโครงการครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินบริบท (Context) ของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โดยใช้ค่านิยมหลัก 12 ประการ ของโรงเรียนบ้านแม่คะเมย
2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โดยใช้ค่านิยมหลัก 12 ประการ ของโรงเรียนบ้านแม่คะเมย 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process) ของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โดยใช้ค่านิยมหลัก 12 ประการ ของโรงเรียนบ้านแม่คะเมย และ
4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product) ของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โดยใช้ค่านิยมหลัก 12 ประการ ของโรงเรียนบ้านแม่คะเมย การประเมินโครงการแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ก่อนดำเนินโครงการเป็นการประเมินบริบท (Context)และประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) ระยะที่ 2 ระหว่างการดำเนินโครงการประเมินกระบวนการ (Process) และระยะที่ 3 หลังการดำเนินโครงการ เป็นการประเมินผลผลิต (Product) ใช้การประเมินโครงการรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ให้ข้อมูล คือ นักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ไม่นับรวม ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียนครูและผู้บริหาร) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 148 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าความถี่ (f) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการประเมินโครงการ พบว่า ผลการประเมินภาพรวมของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โดยใช้ค่านิยมหลัก 12 ประการ ของโรงเรียนบ้านแม่คะเมย โดยภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.62, S.D. = 0.41) และเมื่อพิจารณารายประเด็นพบว่าการประเมินกระบวนการ (Process) มีผลการดำเนินการอยู่ระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄= 4.66, S.D. = 0.26) รองลงมาคือ การประเมินผลผลิต (Product) คุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการของนักเรียน มีผลการดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.63, S.D. = 0.10)
การประเมินผลผลิต (Product) ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง มีผลการดำเนินการอยู่ในระดับ
มากที่สุด (x̄= 4.63, S.D. = 0.28) การประเมินบริบท (Context) มีผลการดำเนินการอยู่ในระดับ
มากที่สุด (x̄= 4.62, S.D. = 0.27) และการประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) มีผลการดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (x̄= 4.55, S.D. = 0.20) ตามลำดับ